ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๙. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร
[๒๒๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี ได้มีการละเล่นมหรสพตลอดทั้งคืน ครั้งนั้น ภิกษุนั้นได้ฟัง เสียงดนตรีที่บุคคลบรรเลงก้องกังวานอยู่ในกรุงเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้กล่าวคาถานี้ ในเวลานั้นว่า เราอยู่ในป่าคนเดียว ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น ใครหนอจะเลวกว่าเราในราตรีเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต]

๑๐. สัชฌายสูตร

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่าน ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น ด้วยคาถาว่า ท่านอยู่ในป่าคนเดียว ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากยังรักท่านอยู่ ดุจสัตว์นรกยินดีต่อผู้ที่จะไปสวรรค์ ฉะนั้น๑- ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
วัชชีปุตตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สัชฌายสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สาธยายธรรม
[๒๓๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุนั้นเมื่อก่อนสาธยายมากจนเกินเวลา สมัยต่อมา ท่านขวนขวายน้อย อยู่เฉยๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นไม่ได้ฟังธรรมของ ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า ภิกษุ เพราะเหตุไร ท่านเมื่ออยู่ร่วม กับภิกษุทั้งหลาย จึงไม่สาธยายบทแห่งธรรม เพราะบุคคลฟังธรรมแล้ว ย่อมเลื่อมใส และสรรเสริญในปัจจุบัน ภิกษุนั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า ความพอใจในบทแห่งธรรมทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงเวลาที่เรามาอยู่ร่วม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๖๒/๓๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=229              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6515&Z=6530                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=783              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=783&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7240              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=783&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7240                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i761-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn09/sn09.009.than.html https://suttacentral.net/sn9.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :