ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. สุภาสิตสูตร
ว่าด้วยวาจาสุภาษิต
[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มี โทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. กล่าวแต่วาจาสุภาษิตอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาทุพภาษิต ๒. กล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๓๒-๑๒๓๕/๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๕. สุภาสิตสูตร

๓. กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๔. กล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นสุภาษิต ไม่เป็น ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรมเป็นที่สอง บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักเป็นที่สาม บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าววาจาเท็จเป็นที่สี่ ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า บุคคลพึงกล่าวแต่วาจา ที่ไม่เป็นเหตุทำให้ตนเดือดร้อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๖. สารีปุตตสูตร

และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนชนอื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชอบ ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น พึงพูดแต่วาจาอันเป็นที่รัก คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย๑-
สุภาสิตสูตรที่ ๕ จบ
๖. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร
[๒๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๓๖-๑๒๓๙/๕๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๐๘-๓๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=213              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6104&Z=6139                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=738              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=738&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6688              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=738&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6688                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn8.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :