ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๒. อรติสูตร
ว่าด้วยความไม่ยินดี
[๒๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระนิโครธกัปปะกลับจาก บิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังวิหาร แล้วออกมาใน เวลาเย็นบ้าง ในเวลาภิกขาจารในวันรุ่งขึ้นบ้าง สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต เหตุที่ จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรานั้น เราจะได้จาก ที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า ผู้ใดละความยินดี ความไม่ยินดี และความตรึกเกี่ยวกับบ้านเรือนได้ทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๑๘-๑๒๒๒/๕๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๒. อรติสูตร

หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหนๆ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ ๓ ล้วนไม่เที่ยง คร่ำคร่าไปทั้งนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ นี้ บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ประการ๑- ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหนๆ ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก มีปัญญาเครื่องบริหาร หมดความทะเยอทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบท ดับกิเลสแล้ว รอเวลาอยู่๒-
อรติสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ อาศัยทิฏฐิ ๖๐ ประการ (สฏฺฐิสิตา) ในอรรถกถาแก้เป็น อาศัยอารมณ์ ๖ ประการ (ฉอารมฺมณนิสฺสิตา) @(สํ.ส.อ. ๑/๒๑๐/๒๕๗) @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๒๓-๑๒๒๗/๕๓๘-๕๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=210              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6022&Z=6058                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=730              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=730&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6633              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=730&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6633                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn8.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :