ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. มหาสาลสูตร
ว่าด้วยพราหมณมหาศาล
[๒๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลคนหนึ่ง เป็นผู้เศร้าหมอง นุ่งผ้าเศร้าหมอง เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณมหาศาลนั้น ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ทำไมท่านจึงดูเศร้าหมอง นุ่งห่มก็เศร้าหมอง” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๙๔ หน้า ๒๗๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร

พราหมณมหาศาลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุตรของข้าพระองค์ ๔ คนในบ้านนี้ คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้ เมื่อหมู่ มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จงกล่าวว่า เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้ บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ ออกจากที่อาศัยหากิน ดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุๆ ได้ ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้ พลาดแล้วช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้ กล่าวว่า เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร

บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ ออกจากที่อาศัยหากินดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุๆ ได้ ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้ พลาดแล้วยังช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณมหาศาลนั้นไปยังเรือน ให้อาบน้ำแล้ว ให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง พราหมณมหาศาลนั้นถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็น พราหมณ์ แสวงหาทรัพย์สำหรับอาจารย์ มาให้อาจารย์ ขอพระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็น อาจารย์ของข้าพเจ้า จงรับส่วนของอาจารย์เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยความ อนุเคราะห์ ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
มหาสาลสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=200              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5687&Z=5739                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=689              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=689&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6421              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=689&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6421                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.014.than.html https://suttacentral.net/sn7.14/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :