ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๗. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
[๑๗] เทวดากล่าวว่า สมณธรรม คนไม่ฉลาดทำได้ยาก อดทนได้ยาก เพราะสมณธรรมนั้นมีความคับแคบมาก สำหรับคนพาลที่อาศัยอยู่ @เชิงอรรถ : @ อริยมรรค ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรมรรค (สํ.ส.อ. ๑/๑๖/๓๕) @ อริยมรรค ในที่นี้หมายถึงโลกิยมรรคและโลกุตตรมรรค (สํ.ส.อ. ๑/๑๖/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๒. นันทนวรรค ๘. หิริสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนพาลประพฤติสมณธรรมเป็นเวลานาน หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจแห่งความดำริ ก็จะพึงติดขัดในทุกบท๑- หากภิกษุยับยั้งความวิตกในใจไว้ได้ เหมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดองของตน ก็จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ดับสนิทแล้ว ไม่พึงว่าร้ายใคร
ทุกกรสูตรที่ ๗ จบ
๘. หิริสูตร
ว่าด้วยหิริ
[๑๘] เทวดากล่าวว่า คนผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยในโลก ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่ เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้ ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อย๒- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุเหล่าใดผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ มีสติ ประพฤติธรรมอยู่ทุกเมื่อ ถึงที่สุดแห่งทุกข์๓- ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่น้อย
หิริสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ บท ในที่นี้หมายถึงอารมณ์หรืออิริยาบถ ผู้ติดขัดในทุกบท คือ ผู้ติดขัดอยู่ในอารมณ์หรืออิริยาบถที่จะ @เกิดกิเลส (สํ.ส.อ. ๑/๑๗/๓๖) @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๑๔๓/๔๒ @ ถึงที่สุดแห่งทุกข์ หมายถึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สุดแห่งวัฏทุกข์ (สํ.ส.อ. ๑/๑๘/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๕-๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=209&Z=220                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=36              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=36&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=934              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=36&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=934                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i023-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn01/sn01.017.wlsh.html https://suttacentral.net/sn1.17/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.17/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :