ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

๑. อาฬวิกาสูตร

๕. ภิกขุนีสังยุต
๑. อาฬวิกาสูตร
ว่าด้วยอาฬวิกาภิกษุณี
[๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน ภัตตาหารเสร็จแล้ว ต้องการวิเวก(ความสงัด) จึงเข้าไปในป่าอันธวัน ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้อาฬวิกาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึงเข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า ในโลกไม่มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์) ท่านจักทำอะไรด้วยวิเวกเล่า ท่านจงเสพความยินดีในกามเถิด อย่าได้มีความเสียใจในภายหลังเลย ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึงกล่าวคาถา” อาฬวิกาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือ มารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า ในโลกนี้มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์) เราสัมผัสดีแล้วด้วยปัญญา มารผู้มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ท่านไม่รู้จักทางนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

๒. โสมาสูตร

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว กองกามทั้งหลายนั้นประหนึ่งผีร้าย ท่านกล่าวความยินดีในกามใด ความไม่ยินดีนั้นได้มีแล้วแก่เรา ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อาฬวิกาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว ไป ณ ที่นั้นเอง
อาฬวิกาสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=162              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=4137&Z=4164                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=522              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=522&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4686              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=522&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4686                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i522-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.001.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.001.bodh.html https://suttacentral.net/sn5.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn5.1/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :