ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๙. กัสสกสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นชาวนา
[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ที่ประกอบด้วยนิพพาน ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยนิพพาน ฯลฯ ทางที่ดีเรา พึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อลวงบริษัทให้หลงเข้าใจผิดเถิด” ครั้งนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

มารผู้มีบาปจึงแปลงกายเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ ถือประตักด้ามยาว ผมยาวรุงรัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านเห็นโคพลิพัทบ้างไหม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านต้องการอะไรเกี่ยวกับโคพลิพัท ทั้งหลายเล่า” มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ จักขุ(ตา) เป็นของเรา รูปเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส(ความกระทบทางตา) เป็นของเรา ท่านจะ หนีเราไปไหนพ้น โสตะ(หู) เป็นของเรา สัททะ(เสียง) เป็นของเรา ฯลฯ ฆานะ(จมูก) เป็นของเรา คันธะ(กลิ่น) เป็นของเรา ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น) เป็นของเรา รสเป็นของเรา ฯลฯ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) เป็นของเรา ฯลฯ มโน(ใจ) เป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก มโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป จักขุเป็นของท่าน รูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นของท่านโดยแท้ แต่ในที่ใดไม่มีจักขุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน โสตะเป็นของท่าน สัททะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก โสตสัมผัส(ความกระทบทางหู) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีโสตะ ไม่มีสัททะ ไม่มี อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากโสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฆานะเป็นของท่าน คันธะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก ฆานสัมผัส(ความกระทบทางจมูก) เป็นของท่าน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๒.ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

ชิวหาเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากชิวหา- สัมผัส(ความกระทบทางลิ้น) เป็นของท่าน ฯลฯ กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก กายสัมผัส(ความกระทบทางกาย) เป็นของท่าน ฯลฯ มโนเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณ อันเกิดจากมโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีมโน ไม่มี ธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากมโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนิน ของท่าน” มารกราบทูลว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’ ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’ ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
กัสสกสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๙๖-๑๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=155              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=3713&Z=3761                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=470              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=470&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4471              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=470&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4471                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i446-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn04/sn04.019.than.html https://suttacentral.net/sn4.19/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.19/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :