ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. ปัพพโตปมสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา
[๑๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่ ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า ปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จ มาจากไหนแต่ยังวัน” พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้ มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมาเพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงซึ่งความมั่นคงในชนบท ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ มีราช- กรณียกิจอันใด บัดนี้ ข้าพระองค์ก็ขวนขวายในราชกรณียกิจอันนั้น” “มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ ราชบุรุษ ของพระองค์ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้า พระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์ มาจากทิศตะวันออก ณ ที่นั้นได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศ ตะวันตก ฯลฯ ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศเหนือ ฯลฯ ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศใต้ เข้ามาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์ มาจากทิศใต้ ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด’ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำ ให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่าจะเป็น กิจที่พระองค์ควรกระทำในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่ หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ ในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญ กุศลเอาไว้” “มหาบพิตร อาตมภาพขอถวายพระพรให้ทรงทราบ ชราและมรณะย่อม ครอบงำพระองค์ เมื่อชราและมรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์ ควรกระทำ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชราและมรณะครอบงำข้าพระองค์อยู่ อะไรเล่า จะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมา เพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยพลช้างเหล่าใด เมื่อชรา และมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยพลช้างแม้เหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ฯลฯ ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยพลม้าเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลรถเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลเดิน เท้าแม้เหล่าใด เมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ ด้วยพลเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชตระกูลนี้ มหาอำมาตย์ ผู้มีมนตร์ ซึ่งสามารถจะใช้มนตร์ทำลายข้าศึกที่ยกทัพมา ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อ ชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยมนตร์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ในราชตระกูลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ใน อากาศซึ่งพวกข้าพระองค์สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกทัพมาแตกกัน ก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เมื่อชราและมรณะครอบงำก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ ด้วยทรัพย์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้” “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ก็เมื่อชราและ มรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์ควรกระทำนอกจากปฏิบัติธรรมให้ เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา สูงจดท้องฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด ชราและมรณะก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะ ไม่เว้นใครๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเหล่าสัตว์ทั้งสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

(พลม้า) พลรถ พลเดินเท้า และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยมนตร์หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา เมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้โดยแท้ ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ปัพพโตปมสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุคคลสูตร ๒. อัยยิกาสูตร ๓. โลกสูตร ๔. อิสสัตถสูตร ๕. ปัพพโตปมสูตร พระสูตรว่าด้วยกุศล ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว
โกสลสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=136              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=3219&Z=3302                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=411              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=411&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4153              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=411&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4153                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i393-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.025.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.025.olen.html https://suttacentral.net/sn3.25/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :