ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

๔. อิสสัตถสูตร
ว่าด้วยทานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ มีผลมาก
[๑๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทาน ณ ที่ไหน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร จิตเลื่อมใสในที่ใดล่ะ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้ในที่ไหนจึงมีผลมาก” “มหาบพิตร บุคคลควรให้ทานในที่ไหน นั่นประการหนึ่ง และทานที่ให้ในที่ไหน จึงมีผลมาก นั่นประการหนึ่ง ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลไม่มีผลมาก ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์ในปัญหาข้อนั้นบ้าง พระองค์พอพระทัย อย่างใดพึงชี้แจงอย่างนั้น พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ การยุทธ์พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์ หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฝึกปรือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์ พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์ ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย” “ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่มเป็น ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์ ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย” “มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธ์ พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์หนุ่มเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกปรือแล้ว มีความชำนาญ ได้ฝึกการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคน ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หลบหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์พึง ต้องการคนเช่นนั้น” “ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่ม เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ” “ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากตระกูลใด และกุลบุตรนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้ แล้วในกุลบุตรนั้นจากตระกูลนั้น ย่อมมีผลมาก” องค์ ๕ อะไรบ้างอันกุลบุตรนั้นละได้ คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) อันกุลบุตรนั้นละได้ ๒. พยาบาท (ความคิดปองร้าย) อันกุลบุตรนั้นละได้ ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อันกุลบุตรนั้นละได้ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) อันกุลบุตรนั้นละได้ ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อันกุลบุตรนั้นละได้ องค์ ๕ นี้แลอันกุลบุตรนั้นละได้ กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ กุลบุตรนั้น ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ของพระอเสขะ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ของพระอเสขะ ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ของพระอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้ละองค์ ๕ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมีผลมาก” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ศิลปะธนู กำลัง และความเพียร๑- มีอยู่ในชายใด พระราชาผู้ทรงการยุทธ์พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้เช่นนั้น ไม่พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด ธรรมคือขันติและโสรัจจะ๒- ตั้งอยู่ในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ แม้มีชาติตระกูลต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลพึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และสร้างสะพานในที่เป็นหล่ม พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ ในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยใจอันเลื่อมใส เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มียอดตั้งร้อย คำรามอยู่ ตกรดแผ่นดิน ทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ความเพียร ในที่นี้หมายถึงความเพียรทางกายและทางจิต (สํ.ส.อ. ๑/๑๓๕/๑๕๘) @ ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ โสรัจจะ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ.๑/๑๓๕/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว ตกแต่งโภชนาหาร เลี้ยงวณิพกด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ เที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเมฆคำราม เมื่อฝนกำลังตก สายธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ ฉันนั้น
อิสสัตถสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=3146&Z=3218                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=405              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=405&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4085              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=405&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4085                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i393-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.024.than.html https://suttacentral.net/sn3.24/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :