ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๗. ปฐมอัปปมาทสูตร

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๑๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสอง ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่” พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด ประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า คืออะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่ สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น” พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีอย่างโอฬารต่อๆ ไป พึงทำความไม่ประมาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า
ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=128              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2764&Z=2790                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=378              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=378&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3866              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=378&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3866                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.017.than.html https://suttacentral.net/sn3.17/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :