ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๙. สุภสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสุภะ
[๔๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล มาณพชื่อสุภะผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ อาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคหบดีผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ได้กล่าวกับคหบดีผู้ที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ว่า “ท่านคหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ‘กรุงสาวัตถีไม่ว่างจากพระ- อรหันต์เลย’ วันนี้ เราควรเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์คนใดดีหนอ” คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเถิด” ลำดับนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์รับคำแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

“ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘คฤหัสถ์เป็นผู้ยัง กุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ บรรพชิตไม่ยังกุศลธรรมนั้นให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร” [๔๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ในเรื่องนี้เราแยกกล่าว มิได้ รวมกล่าว เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติผิด มาณพ เรากล่าวสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่าเป็นผู้ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ ให้สำเร็จ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ”
ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต
สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘ฐานะแห่งการงานของฆราวาสมีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ เพียรมาก มีผลมาก (ส่วน)ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย และมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะ ตรัสว่าอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกกล่าว มิได้ รวมกล่าว ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ เพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานที่มีความ ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะ แห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึง พร้อมย่อมมีผลมาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียร มาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ เพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่อง มาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความ เพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก [๔๖๔] มาณพ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงาน ของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของ ฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย บรรพชิตที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก”
บัญญัติธรรม ๕ ประการ
สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมไว้ ๕ ประการ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม ๕ ประการใดไว้เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ถ้าเธอไม่หนักใจ ดีละ เธอจง กล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือบุคคลเช่น กับพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวเถิด” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อ ที่ ๑ คือสัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ บัญญัติธรรมข้อที่ ๒ คือตบะ ... บัญญัติธรรมข้อที่ ๓ คือพรหมจรรย์ ... บัญญัติธรรมข้อที่ ๔ คือการเรียนมนตร์ ... บัญญัติธรรมข้อที่ ๕ คือการบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม ๕ ประการนี้ไว้ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม ให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

[๔๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย แม้พราหมณ์สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ” สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” “แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้นไป ๗ ชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ” “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” “แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายคือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษี ภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์พราหมณ์ขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ ท่านได้บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ” สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็น ปาจารย์ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ แม้ฤาษี ทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษี วาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ ที่พราหมณ์ ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตามบทมนตร์เก่า ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มาณพ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับคนตาบอด เข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่ หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน” [๔๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย- พราหมณ์ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเปรียบเหมือนคนตาบอดยืนเข้าแถว จึงโกรธ ไม่พอใจ เมื่อจะข่มขู่ติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระสมณโคดมจักได้รับความ เสื่อมเสียแล้ว'’ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่า ชื่อสุภควันกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘อย่างนี้แล สมณพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมยืนยัน ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นภาษิตที่น่าหัวเราะ เลวทราม ว่าง และเปล่า ถ้าเช่นนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจหรือ” สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของนางทาสีชื่อปุณณิกาของตนด้วยใจของ ตนเองยังไม่ได้ จักกำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจได้อย่างไรเล่า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่พึงเห็นรูปสีดำสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่พึงเห็นที่ที่ เสมอและขรุขระ ไม่พึงเห็นดวงดาว ไม่พึงเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาจะพึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีรูปสีดำสีขาว ไม่มีคนเห็นรูปสีดำสีขาว ไม่มีรูปสีเขียว ไม่มีคน เห็นรูปสีเขียว ไม่มีรูปสีเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปสีเหลือง ไม่มีรูปสีแดง ไม่มีคนเห็น รูปสีแดง ไม่มีรูปสีแสด ไม่มีคนเห็นรูปสีแสด ไม่มีที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีคนเห็น ที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีดวงดาว ไม่มีคนเห็นดวงดาว ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้น จึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างถูกต้องหรือ มาณพ” สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปสีดำสีขาวก็มี คนเห็น รูปสีดำสีขาวก็มี รูปสีเขียวก็มี คนเห็นรูปสีเขียวก็มี รูปสีเหลืองก็มี คนเห็นรูป สีเหลืองก็มี รูปสีแดงก็มี คนเห็นรูปสีแดงก็มี รูปสีแสดก็มี คนเห็นรูปสีแสดก็มี ที่ที่เสมอและขรุขระก็มี คนเห็นที่ที่เสมอและขรุขระก็มี ดวงดาวก็มี คนเห็น ดวงดาวก็มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี คนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี ผู้ที่กล่าวว่า ‘เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างไม่ถูกต้อง ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ อย่างนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ชื่อโปกขร- สาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน ชื่อว่าเป็นคนบอดไม่มีจักษุ เป็นไป ไม่ได้เลยที่เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้” [๔๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร พราหมณมหาศาลชาวเมืองโกศลคือพราหมณ์ชื่อจังกี พราหมณ์ชื่อ ตารุกขะ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิ หรือพราหมณ์ชื่อ โตเทยยะ ผู้เป็นบิดาของท่าน วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าวตรงตาม โวหารของชาวโลก หรือไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” สุภมาณพทูลตอบว่า “ผู้กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลกประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม” “วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว อย่างไหน ประเสริฐกว่ากัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นรู้แล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม” “วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว หรือไม่พิจารณา แล้วกล่าว อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” “วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม” “วาจาที่มีประโยชน์ หรือวาจาที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งพราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าว อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน” “วาจาที่มีประโยชน์ ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม” “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลก หรือไม่” “ไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก ท่านพระโคดม” “เป็นวาจาที่รู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว” “เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้วกล่าว ท่านพระโคดม” “เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วกล่าวหรือไม่พิจารณาแล้วกล่าว” “เป็นวาจาที่ไม่พิจารณาแล้วกล่าว ท่านพระโคดม” “เป็นวาจาที่มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์” “เป็นวาจาที่ไม่มีประโยชน์ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ นิวรณ์นี้มี ๕ ประการ นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม) ๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ) ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย) นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

มาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงตราไว้แล้ว เป็นไปไม่ได้เลย ที่เขาจักรู้ จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ [๔๖๘] มาณพ กามคุณนี้มี ๕ ประการ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนัดแล้ว หมกมุ่นแล้ว ด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของ มนุษย์ มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลจะพึงอาศัยหญ้าและไม้เป็น เชื้อจุดไฟขึ้น หรือไม่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อจุดไฟขึ้น ไฟอย่างไหนหนอจะมีเปลว สี และแสงสว่าง” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เป็นไปได้หรือ ถ้าการจุดไฟที่ไม่มีหญ้า และไม้เป็นเชื้อ จะมีเปลว สี และแสงสว่าง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงจุดไฟที่ไม่มี หญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้ นอกจากผู้ที่มีฤทธิ์ อุปมาเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็น เชื้อจึงลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ ประการว่ามีอุปมา ฉันนั้นเหมือนกัน อุปมาเหมือนไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายว่ามีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน ปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปีตินี้เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย มาณพ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย [๔๖๙] มาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหนว่ามีผลมากกว่า” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลาย บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมคือจาคะ ว่ามีผลมากกว่า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คนพากันมาด้วย หวังว่า ‘จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้’ ในพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งมี ความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอ เราเท่านั้น ควรจะได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศ ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่ควรได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัตเลย’ เป็นไปได้ที่พราหมณ์คนอื่นจะพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนพราหมณ์ผู้ไม่ได้ย่อมโกรธไม่พอใจว่า ‘พราหมณ์อื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนเรากลับไม่ได้’ มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติผลแห่งกรรมนี้ไว้อย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานด้วย คิดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์นั้นถูกพราหมณ์ผู้นี้ทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจ’ ก็หามิได้ โดยที่แท้ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันเท่านั้น” “เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันนี้ ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายหรือ” “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการ อนุเคราะห์นี้ ก็จักเป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย” “ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม ให้สำเร็จ ท่านพิจารณาเห็นมีมากในพวกไหน ในพวกคฤหัสถ์หรือพวกบรรพชิต” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ เพียรมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอตลอดไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอไป เพราะคฤหัสถ์มี ความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก จะเป็นผู้มีความเพียร เสมอตลอดไปไม่ได้ ... จะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ... จะเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ... จะเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ... ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้มีความเพียรเสมอตลอดไปได้ ... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ... เป็นผู้มากด้วยการบริจาค ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่อ อบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า ‘เราพูดจริง’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ ด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ เบียดเบียน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร ... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ... ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า ‘เราเป็นผู้มากด้วย การบริจาค’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย ธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม ให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ เบียดเบียน” [๔๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย- พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บ้านนฬการคามก็ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้เลย มิใช่หรือ” “อย่างนั้น ท่านพระโคดม บ้านนฬการคามก็อยู่ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ ไม่ไกลจากที่นี้เลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้ ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี ความชักช้าหรืออึกอักไหม” “ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง เป็นอย่างดี” “การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย” สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ- โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ทางไปพรหมโลก
[๔๗๑] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

เป็นประมาณ๑- ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น๒- คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม” [๔๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม แจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ @เชิงอรรถ : @ เป็นประมาณ ในที่นี้หมายถึงกรรมที่เป็นฝ่ายกามาวจร (ม.ม.อ. ๒/๔๗๐/๓๒๑) @ กรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ในที่นี้หมายถึงกรรมที่เป็นฝ่ายรูปาวจรและอรูปาวจร (ม.ม.อ. ๒/๔๗๐/๓๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๙. สุภสูตร

ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ ที่จะต้องทำอีกมาก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ท่านจงกำหนดเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด” ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว จากไป สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาว ปลอดตั้งแต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์เดินมาแต่ไกล จึงได้ถามว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียว” สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า มาจากสำนักของพระสมณโคดม” ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านภารทวาชะ เห็นจะเป็นบัณฑิตรู้เท่าทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดมเป็นแน่” สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า ทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดจะพึงรู้เท่าทันพระปัญญา อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่” ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ได้ฟังว่า ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณ- โคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง” สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญ พระสมณโคดม ท่านพระสมณโคดมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจึงสรรเสริญแล้วสรรเสริญอีก อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พระสมณโคดม ตรัสว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิ- พราหมณ์จึงลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวปลอดแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศ ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทานว่า “เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ในแว่นแคว้นของพระองค์” ดังนี้แล
สุภสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๘๓-๕๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=709&items=25              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=7993              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=709&items=25              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=7993                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i709-e1.php# https://suttacentral.net/mn99/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :