ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

นิครนถ์ นาฏบุตรถึงแก่กรรม

๖. ปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดความเลื่อมใส
[๑๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะ นามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ
นิครนถ์ นาฏบุตรถึงแก่กรรม
สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตร ได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกเป็น ๒ พวก ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “ท่านไม่รู้ ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัย ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คำพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ แต่คำพูดของ ท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดคำพูดของท่าน ได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทางแก้คำพูดหรือ เปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด” เห็นจะมีการฆ่ากันเท่านั้นที่จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็น สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว ห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็น สาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็น ธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูก ทำลายแล้ว๑- เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย๒- @เชิงอรรถ : @ ที่พำนักถูกทำลายแล้ว หมายความว่านิครนถ์ นาฏบุตรเป็นที่พำนักของเหล่าสาวก เมื่อเขาถึงแก่กรรมแล้ว @เหล่าสาวกจึงหมดที่พึ่งพิง ธรรมของเขาก็เหมือนสูญสิ้นไปด้วย (ที.ปา.อ. ๑๖๔/๙๔) @ ดูเทียบ ข้อ ๓๐๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

[๑๖๕] ครั้งนั้น พระจุนทะ สมณุทเทส๑- จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไป หาท่านพระอานนท์ซึ่งอยู่ในสามคาม๒- กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร ได้ถึง แก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวก นิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็น ๒ พวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก ถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย” เมื่อพระจุนทะ สมณุทเทสกล่าว อย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “คุณจุนทะ นี้เป็นข้ออ้าง๓- ที่จะเข้าเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคได้ มาเถิด คุณจุนทะ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค” พระจุนทะ สมณุทเทสรับคำแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ และพระจุนทะ สมณุทเทส ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่าน พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทะ สมณุทเทสนี้บอกว่า ‘นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน ฯลฯ เป็นธรรมวินัย ที่มีที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย”
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
[๑๖๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัย ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไป เพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ จุนทะ ในโลกนี้ มีศาสดาผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรมที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ @เชิงอรรถ : @ พระจุนทะ สมณุทเทส หมายถึงพระเถระผู้นี้เป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร และเป็นสัทธิ- @วิหาริกของพระอานนท์ คำนี้พวกภิกษุเรียกท่าน ในขณะเป็นสามเณร เมื่อท่านเป็นพระแล้วก็ยังเรียกชื่อนี้อยู่ @(ที.ปา.อ. ๑๖๔/๙๕) @ สามคาม หมายถึงชื่อหมู่บ้านที่มีข้าวฟ่างมากมาย (ที.ปา.อ. ๑๖๕/๙๖, ที.ปา.ฏีกา ๑๖๕/๙๖) @ เป็นข้ออ้าง ในที่นี้หมายถึงเป็นมูลเหตุแห่งการได้รับฟังธรรมกถาจากสำนักของพระผู้มีพระภาค @(ที.ปา.ฏีกา ๑๖๕/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ธรรมวินัยที่บุคคลผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัย ที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น๑- สาวก ของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เป็นลาภของท่าน ท่านได้ ดีแล้ว ศาสดาของท่านผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ท่านก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยงจาก ธรรมนั้น’ ด้วยเหตุนี้ จุนทะ แม้ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน ธรรมใน ธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน แต่สาวกในธรรมวินัยนั้นควรได้รับการสรรเสริญ จุนทะ ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดง ไว้ บัญญัติไว้เถิด’ ผู้ชักชวน๒- ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว๓- ปฏิบัติตามนั้น ทั้งหมดย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็น อย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่อง นำออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมา- สัมพุทธเจ้าประกาศไว้ [๑๖๗] อนึ่ง จุนทะ ในโลกนี้มีศาสดาที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรม ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็เป็น ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือ ประพฤติธรรมนั้น สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ @เชิงอรรถ : @ ประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญธรรมต่อไป ทำให้มีช่องว่าง (ที.ปา.อ. ๑๖๖/๙๘) @ ผู้ชักชวน ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ (ที.ปา.อ. ๑๖๖/๙๘) @ ผู้ที่เขาชักชวนและผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว ในที่นี้หมายถึงอันเตวาสิก (ที.ปา.อ. ๑๖๖/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ธรรมวินัยที่บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ ท่าน ก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือ ประพฤติธรรมนั้น’ ด้วยเหตุนี้แล จุนทะ ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงถูกติเตียน ธรรมในธรรมวินัยนั้นก็พึงถูกติเตียน และสาวกในธรรมวินัยนั้นก็ควรถูกติเตียน จุนทะ ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว จักทำสิ่งที่ถูกต้องให้ สำเร็จได้อย่างแน่นอน’ ผู้สรรเสริญ ผู้ที่เขาสรรเสริญ และผู้ที่ได้รับการสรรเสริญ แล้วปรารภความเพียร๑- ให้ยิ่งขึ้นไป ทั้งหมดย่อมประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
ธรรมวินัยที่บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้
[๑๖๘] จุนทะ อนึ่ง ในโลกนี้ มีศาสดาผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรม ที่ศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้๒- เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีกเลี่ยง จากธรรมนั้น สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนกล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมก็ เป็นอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ท่านไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ประพฤติหลีก เลี่ยงจากธรรมนั้น’ ด้วยเหตุนี้แหละ จุนทะ แม้ศาสดาในธรรมวินัยนั้นก็จะพึงได้รับ การสรรเสริญ ธรรมในธรรมวินัยนั้นจะพึงได้รับการสรรเสริญ แต่สาวกในธรรมวินัยนั้น ควรถูกติเตียน จุนทะ ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงปฏิบัติธรรมที่ @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงบำเพ็ญเพียรที่ทำให้เกิดทุกข์แก่ตน (ที.ปา.อ. ๑๖๗/๙๘) @ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ในที่นี้หมายถึงนำให้บรรลุมรรคและผล (ที.ปา.อ. ๑๖๘/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ธรรมวินัยที่บุคคลผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้

ศาสดาของท่านแสดงไว้ บัญญัติไว้เถิด’ ผู้ชักชวน ผู้ที่เขาชักชวน และผู้ที่ถูก ชักชวนแล้ว ปฏิบัติตามนั้น ทั้งหมดจะประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่พระศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศ ไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ [๑๖๙] จุนทะ อนึ่ง ในโลกนี้ มีศาสดาผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีธรรมที่ ศาสดานั้นกล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยืดถือปฏิบัติธรรมนั้น สาวกของศาสดานั้นจะพึงมีคนผู้กล่าวถึงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ศาสดาของท่านเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมก็เป็นอันพระศาสดา กล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และท่านก็ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมในธรรมนั้น ยึดถือประพฤติธรรมนั้น’ ด้วย เหตุนี้แหละ จุนทะ ศาสดาในธรรมวินัยนั้นจะพึงได้รับการสรรเสริญ ธรรมในธรรม วินัยนั้นจะพึงได้รับการสรรเสริญ และสาวกในธรรมวินัยนั้นก็ควรได้รับการสรรเสริญ จุนทะ ผู้ที่กล่าวกับสาวกเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว จักทำสิ่งที่ ถูกต้องให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน’ ผู้สรรเสริญ ผู้ที่เขาสรรเสริญและผู้ที่ได้รับการ สรรเสริญแล้วปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป ทั้งหมดจะประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ จุนทะ ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัย ที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ศาสดาผู้ไม่ทำให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง

ศาสดาผู้ให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง
[๑๗๐] จุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ และธรรมอันศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ศาสดา ยังไม่ทรงทำให้สาวกทั้งหลายของพระองค์เข้าใจอรรถในสัทธรรม ทั้งไม่ทำพรหมจรรย์ ที่บริสุทธิ์ครบถ้วนให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผล อย่างปาฏิหาริย์๑- แก่สาวกเหล่านั้น จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย๒- ต่อมา ศาสดาของสาวกเหล่านั้นปรินิพพานไป ศาสดาเห็นปานนี้แล ปรินิพพานแล้ว ทำให้สาวกทั้งหลายเดือดร้อนในภายหลัง ข้อนั้นเพราะเหตุไร (สาวกเหล่านั้นคิดว่า) ‘เพราะศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก และธรรมก็เป็นอัน ศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ แต่ศาสดายังไม่ทรงทำให้ เราทั้งหลายเข้าใจอรรถในพระสัทธรรม ทั้งไม่ทำพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วน ให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์ แก่พวกเรา จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่อมา ศาสดาของเรา ทั้งหลาย ปรินิพพานไป’ จุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แลปรินิพพานแล้ว ทำให้สาวก ทั้งหลายเดือดร้อนในภายหลัง
ศาสดาผู้ไม่ทำให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง
[๑๗๑] จุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และ @เชิงอรรถ : @ ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์ ในที่นี้หมายถึงนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ (ที.ปา.อ. ๑๗๐/๙๙) @ คำว่า “ประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” นี้ แปลจากบาลีว่า “ยาว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ” @ตามนัย ที.ปา.อ. ๑๗๐/๙๙, ที.ปา.ฏีกา ๑๗๐/๑๑๒ แต่ตามนัย ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙, ขุ.อุ. ๕๑/๓๕๐ @แปลว่า “กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว” (ตามนัย ที.ปา.อ. ๑๗๐/๙๙, @ที.ปา.ฏีกา ๑๗๐/๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

พระศาสดาทรงทำให้สาวกทั้งหลายของพระองค์เข้าใจอรรถในสัทธรรม ทั้งทำ พรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วนให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้ พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์แก่สาวกเหล่านั้น จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายต่อมา ศาสดาของสาวกเหล่านั้น ปรินิพพานไป ศาสดาเห็น ปานนี้แลปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่ทำให้สาวกเดือดร้อนในภายหลัง ข้อนั้นเพราะ เหตุไร (สาวกเหล่านั้นคิดว่า) ‘เพราะศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น แล้วในโลก และธรรมก็เป็นอันศาสดากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจาก ทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และพระศาสดาทรงทำให้เราทั้งหลายให้เข้าใจอรรถในพระสัทธรรม ทั้งทรงทำ พรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วน ให้แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์แก่พวกเรา จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่อมาศาสดาปรินิพพานไป’ จุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่ทำ ให้สาวกทั้งหลายเดือดร้อนในภายหลัง
เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น
[๑๗๒] ๑. จุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้ไม่มั่นคง ไม่เป็นผู้มีประสบการณ์มาก ไม่เป็นผู้บวช มานาน ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ไม่เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย มามาก พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เมื่อใด พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้ มั่นคง๑- มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก เมื่อนั้น พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วย องค์นั้น อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ผู้มั่นคง หมายถึงผู้ประกอบด้วยธรรมมีศีลขันธ์ เป็นต้นที่ทำให้มีความมั่นคง (ที.ปา.อ. ๑๗๒/๙๙, @ที.ปา.ฏีกา ๑๗๒/๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

[๑๗๓] ๒. จุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก๑- บวชมานาน มีชีวิตอยู่ หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ ของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่ แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ๒- ไม่อาจกล่าวพระ สัทธรรมได้โดยชอบ ไม่อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท๓- ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เมื่อใด พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้ มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระของศาสดานั้น เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอัน เกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ อาจแสดง ธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบ ธรรมได้ เมื่อนั้น พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ [๑๗๔] ๓. จุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่ หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ ของศาสดานั้น เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยชอบธรรมได้ แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็น @เชิงอรรถ : @ มีประสบการณ์มากในที่นี้หมายถึงบวชมานานประสบพบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ มามาก (ที.สี.อ. ๑๕๑/๑๓๐) @ ธรรมอันเกษมจากโยคะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ที.ปา.อ. ๑๗๓/๙๙) @ ปรัปวาท ในที่นี้หมายถึงวาทะ หรือลัทธิต่างๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา(ที.ม.ฏีกา ๓๗๔/๓๗๕, @ขุ.ม.อ. ๓๑/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

ผู้ไม่เฉียบแหลม ... พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ ๔. ... ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นไม่เป็นผู้เฉียบแหลม ... ๕. ... ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ... ๖. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ... ๗. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ... ๘. ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ... ๙. ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสกสาวกของศาสดานั้น เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม ... ๑๐. ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสิกาสาวิกาของศาสดา นั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์เป็นผู้ไม่ เฉียบแหลม ... ๑๑. ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่อุบาสิกาสาวิกา ของศาสดานั้น เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม เป็นผู้ไม่ เฉียบแหลม ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

๑๒. ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม เป็นผู้เฉียบแหลม ... แต่พรหมจรรย์ของศาสดานั้น มิได้๑- บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๑๓. ... พรหมจรรย์๒- ของศาสดานั้นบริบูรณ์๓- กว้างขวาง๔- แพร่หลาย๕- รู้จักกันโดยมาก๖- มั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย แต่พรหมจรรย์นั้น ไม่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและ ความเลิศด้วยยศ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ จุนทะ เมื่อใด พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่ หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัยมามาก และภิกษุสาวกผู้เป็นเถระ ของศาสดานั้น เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ อาจแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดย ชอบธรรมได้ ภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบ แหลม ... ภิกษุสาวกผู้เป็นนวกะของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... @เชิงอรรถ : @ คำว่า มิได้ แปลจากคำว่า “โน” ซึ่งอยู่ต้นประโยคดังบาลีว่า “โน เจ ขฺวสฺส พฺรหฺมจริยํ โหติ อิทฺธญฺเจว @ผีตญฺจ วิตฺถาริกํ พาหุชญฺญํ ปุถุภูตํ ยาว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ” ในที่นี้ใช้ปฏิเสธทั้งประโยค @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์คือคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา @(ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙) @ บริบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงเจริญโดยชอบด้วยอำนาจความสุขในฌานอันภิกษุเหล่านี้บรรลุแล้ว @(ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙) @ กว้างขวาง ในที่นี้หมายถึงเจริญสูงขึ้นจนถึงที่สุดแห่งความเจริญทางศาสนามีความถึงพร้อมด้วยอภิญญา @เป็นต้น (ที.ม. ฏีกา ๑๖๘/๑๘๗) @ แพร่หลาย ในที่นี้หมายถึงกระจายออกไปดำรงอยู่ทั่วทุกทิศ (ที.ม.อ. ๑๖๘/๑๕๙) @ รู้จักกันโดยมาก ในที่นี้หมายถึงได้รับประโยชน์เกื้อกูลจากการบรรลุธรรมกันโดยทั่วไป (ที.ม.ฏีกา ๑๖๘/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... ภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของศาสดานั้นเป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสกสาวกของศาสดานั้นเป็น คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสิกา สาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหม จรรย์เป็นผู้เฉียบแหลม ... อุบาสิกาสาวิกาของศาสดานั้นเป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามเป็นผู้เฉียบแหลม ... พรหมจรรย์ของ ศาสดานั้นบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมากมั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และพรหมจรรย์ ของศาสดานั้น บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ เมื่อนั้นพรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ [๑๗๕] จุนทะ ก็บัดนี้ เราเป็นศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด ขึ้นแล้วในโลก ธรรมอันเรากล่าวไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่เราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เราทำ ให้สาวกทั้งหลายเข้าใจอรรถในสัทธรรม ทั้งทำพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์ครบถ้วนให้ แจ่มแจ้ง ให้เข้าใจง่าย ให้มีบทที่รวบรวมไว้พร้อมแล้ว ให้มีผลอย่างปาฏิหาริย์แก่ สาวกเหล่านั้น จนประกาศได้ดีทั่วถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็บัดนี้เราเป็นศาสดา เป็นผู้มั่นคง มีประสบการณ์มาก บวชมานาน มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่าน วัยมามาก จุนทะ บัดนี้ มีภิกษุสาวกผู้เป็นเถระของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการ แนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ อาจกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ อาจแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ บัดนี้ มีภิกษุสาวกผู้เป็นมัชฌิมะของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุสาวก ผู้เป็นนวกะของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นเถรีของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นมัชฌิมาของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

... บัดนี้ มีภิกษุณีสาวิกาผู้เป็นนวกาของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสก สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์๑- ของเรา เป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสกสาวก ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม๒- ของเราเป็นผู้ เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสิกาสาวิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์๓- ของเราเป็นผู้เฉียบแหลม ... บัดนี้ มีอุบาสิกาสาวิกา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม๔- ของเราเป็นผู้เฉียบแหลม จุนทะ บัดนี้ พรหมจรรย์ของ เราบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี จนประกาศได้ดีทั่วถึง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย [๑๗๖] จุนทะ เท่าที่มีศาสดาเกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เรายังไม่เห็นศาสดา อื่นแม้ผู้เดียวที่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศเหมือนเราเลย อนึ่ง เท่าที่มีสงฆ์หรือคณะเกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เรายังไม่เห็นสงฆ์ หรือ คณะอื่นแม้ หมู่เดียว ที่บรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ เหมือนภิกษุสงฆ์เลย บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงพรหมจรรย์นั้นใดว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึง พรหมจรรย์นี้นั่นแลว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วย อาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดา ประกาศไว้ดีแล้ว’ จุนทะ ทราบว่า อุทกดาบส รามบุตร กล่าวข้อความอย่างนี้ว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ถามว่า ‘บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น๕-’ ตอบว่า ‘บุคคลเห็นใบของ @เชิงอรรถ : @ เช่น จิตตคหบดี หัตถกอาฬวกะ (ที.ปา.อ. ๑๗๕/๑๐๐) @ เช่น จุลลอนาถบิณฑิกะ และมหาอนาถบิณฑิกะ (ที.ปา.อ. ๑๗๕/๑๐๐) @ เช่น นันทมารดา (ที.ปา.อ. ๑๗๕/๑๐๐) @ เช่น นางขุชชุตตรา (ที.ปา.อ. ๑๗๕/๑๐๐) @ คำว่า “บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น” เป็นปัญหาที่อุทกดาบส รามบุตรถามมหาชน เมื่อมหาชนตอบ @ไม่ได้ ท่านจึงตอบเองว่า คนเห็นมีดโกนชื่อว่าไม่เห็นเพราะเห็นแต่ใบมีดโกนเท่านั้น แต่ไม่เห็นความคมของ @มีดโกน (ที.ปา.อ. ๑๗๖/๑๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องพรหมจรรย์ที่ไม่บริบูรณ์ เป็นต้น

มีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่ไม่เห็นคมของมีดโกนนั้น’ จุนทะ อุทกดาบส รามบุตรจึง กล่าวข้อความนี้ว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ข้อความที่อุทกดาบส รามบุตร กล่าวนั้น เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน๑- เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์๒- เพราะหมายเอาเฉพาะมีดโกนเท่านั้น จุนทะ ถ้าบุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนั้นใดว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนี้นั้นนั่นแลว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ถามว่า ‘บุคคลเห็นอะไรอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ ตอบว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดา กล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึง ชื่อว่าเห็นพรหมจรรย์นั้น ในพรหมจรรย์นี้ ถ้าบุคคลถอนสิ่งนี้ออกไปด้วยคิดว่า ‘พรหมจรรย์นั้น จะพึงบริสุทธิ์กว่า ด้วยวิธีการนี้’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า ไม่เห็นพรหมจรรย์นั้น ในพรหมจรรย์นี้ ถ้าบุคคลเพิ่มสิ่งนี้เข้าไป ด้วยคิดว่า ‘พรหมจรรย์นั้น จะพึงบริบูรณ์ขึ้นด้วยวิธีการนี้’ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลจึงชื่อว่าไม่ เห็นพรหมจรรย์นั้น นี้เรียกว่า ‘บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าไม่เห็น’ จุนทะ บุคคลเมื่อกล่าว ให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนั้นใดว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ฯลฯ ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ บุคคลเมื่อกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงคำนี้นั่นแลว่า ‘พรหมจรรย์ สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี บริบูรณ์ครบถ้วน ศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว’ @เชิงอรรถ : @ เป็นของชาวบ้าน ในที่นี้หมายถึงเป็นข้อประพฤติปฏิบัติของคนโง่ (ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๐) @ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๓ อย่าง คือ (๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ @(ประโยชน์ในโลกนี้) (๒) สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ในโลกหน้า) (๓) ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุดคือพระ @นิพพาน) (ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ธรรมที่ควรสังคายนา

ธรรมที่ควรสังคายนา
[๑๗๗] จุนทะ เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายที่เราแสดงไว้แล้วเพื่อความรู้ยิ่ง บริษัททั้งหมดนั้นแหละ พึงพร้อมเพรียงกันประชุม สอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะ กับพยัญชนะในธรรมนั้น แล้วพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเราแสดงไว้เพื่อความรู้ยิ่ง บริษัททั้งหมดนั่นแหละพึง พร้อมเพรียงกัน ประชุมสอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะแล้ว พึงสังคายนากัน ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย คืออะไร คือ ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. อริยมรรคมีองค์ ๘ จุนทะ ธรรมทั้งหลายนี้แล เราแสดงไว้แล้วเพื่อความรู้ยิ่ง บริษัททั้งหมด นั่นแหละพึงพร้อมเพรียงกันประชุม สอบทานอรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ พึงสังคายนากัน ไม่พึงวิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

วิธีอธิบายให้เข้าใจ

วิธีอธิบายให้เข้าใจ
[๑๗๘] จุนทะ บรรดาเธอเหล่านั้นซึ่งพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการกล่าวธรรมนั้น หาก เธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถนั้นแหละมาผิด และยก พยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่ อรรถนี้มากกว่า ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้ มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้ ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควร แก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่านั้น [๑๗๙] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่นพึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาผิด แต่ยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี อายุ ระหว่างอรรถนี้กับอรรถนั้น อรรถไหนสมควรแก่พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ ถ้า เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรรถนี้ที่ผมพูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่ พยัญชนะเหล่านี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่าเพื่อนพรหมจารี รูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นเข้าใจอย่าง ถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญอรรถนั้น [๑๘๐] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถมาดี แต่ยกพยัญชนะมาผิด’ เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านเพื่อนพรหมจารีรูปนั้น ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย

อายุ ระหว่างพยัญชนะเหล่านี้กับพยัญชนะเหล่านั้น พยัญชนะเหล่าไหนสมควรแก่ อรรถนี้มากกว่า’ ถ้าเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พยัญชนะเหล่านี้ที่ผม พูดแล้วเท่านั้น สมควรแก่อรรถนี้มากกว่า’ เธอทั้งหลายไม่พึงชมเชย ไม่พึงต่อว่า เพื่อนพรหมจารีรูปนั้น ครั้นไม่ชมเชย ไม่ต่อว่าแล้ว พึงอธิบายให้เพื่อนพรหมจารี รูปนั้นเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อใคร่ครวญพยัญชนะเหล่านั้น [๑๘๑] จุนทะ ถ้าเพื่อนพรหมจารีแม้รูปอื่น พึงกล่าวธรรมในสงฆ์ ในการ กล่าวธรรมนั้น หากเธอทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้แล รับอรรถ มาถูก และยกพยัญชนะมาถูก’ เธอทั้งหลายพึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของ เพื่อนพรหมจารีรูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของเพื่อนพรหมจารี รูปนั้นว่า ‘ดีแล้ว’ พึงกล่าวกับเพื่อนพรหมจารีรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็น ลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน ผู้มีอายุ ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้’
เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย
[๑๘๒] จุนทะ เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน เท่านั้นก็หามิได้ และแสดงธรรมเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต เท่านั้นก็หามิได้ แต่เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน และเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต เพราะฉะนั้น เราอนุญาตจีวร แก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่น่าละอาย เราอนุญาตบิณฑบาตแก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่ง กายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้’ เราอนุญาตเสนาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

สุขัลลิกานุโยค

แก่เธอทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด จากฤดู และเพื่อยินดีในการหลีกเร้น เราอนุญาตคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแก่เธอ ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อบรรเทาเวทนาอันเนื่องมาจากอาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อ ความไม่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง
สุขัลลิกานุโยค
[๑๘๓] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะ ศากยบุตรยึดถือสุขัลลิกานุโยค๑- อยู่’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับ อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สุขัลลิกานุโยค เป็น อย่างไร เพราะสุขัลลิกานุโยค มีมากมายหลายอย่างต่างๆ กัน’ จุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นธรรมต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ ครั้นฆ่าแล้ว บำรุงตนเองให้เป็นสุข ให้มีความเอิบอิ่ม๒- นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ ๑ ๒. คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ครั้นถือ เอาแล้วบำรุงตนเองให้เป็นสุข ให้มีความเอิบอิ่ม นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ประการที่ ๒ ๓. คนพาลบางคนในโลกนี้ พูดเท็จ ครั้นพูดเท็จแล้ว บำรุงตนเองให้ เป็นสุข ให้มีความเอิบอิ่ม นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ สุขัลลิกานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นในการเสพสุข (เป็นคตินิยมอย่างหนึ่งในปรัชญาอินเดีย @เรียกว่า จารวาก เทียบได้กับคติสุขารมณ์ (hedonism) ของปรัชญาตะวันตก) (ที.ปา.อ. ๑๘๓/๑๐๒) @ ให้มีความเอิบอิ่ม ในที่นี้หมายถึงให้มีร่างกายอ้วนท้วน (ที.ปา.อ. ๑๘๓/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

สุขัลลิกานุโยค

๔. คนพาลบางคนในโลกนี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วย กามคุณ ๕ ประการ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ ๔ จุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นธรรมต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะ ศากยบุตร ยึดถือสุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้อยู่’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวกับอัญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นว่า ‘พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย’ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เมื่อกล่าวถึงเธอทั้งหลาย ก็ไม่กล่าวให้ถูกต้อง กลับกล่าวตู่ด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง [๑๘๔] จุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดย ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยคประการที่ ๑ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็น สุขัลลิกานุโยคประการที่ ๒ ๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ประการที่ ๓ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคประการที่ ๔ สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ว่าด้วยอานิสงส์ของสุขัลลิกานุโยค

จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวก สมณะ ศากยบุตร ยึดถือสุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้อยู่’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวกับ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้’ อัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น เมื่อกล่าวถึงเธอทั้งหลายก็กล่าวได้ถูกต้อง มิใช่กล่าวตู่เธอทั้งหลาย ด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง
ว่าด้วยอานิสงส์ของสุขัลลิกานุโยค
[๑๘๕] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านทั้งหลายยึดถือสุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้อยู่ พึงหวังผลได้เท่าไหร่ พึงหวัง อานิสงส์ได้เท่าไหร่’ เธอทั้งหลายควรกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะ อย่างนั้นว่า ‘พวกเรายึดถือสุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้อยู่ พึงหวังได้ผล ๔ ประการ พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ สิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า นี้เป็นผลประการที่ ๑ อานิสงส์ประการที่ ๑ ๒. ภิกษุเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ นี้เป็นผลประการที่ ๒ อานิสงส์ประการที่ ๒ ๓. ภิกษุเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพาน ในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก นี้เป็นผลประการที่ ๓ อานิสงส์ ประการที่ ๓ ๔. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นผลประการที่ ๔ อานิสงส์ประการที่ ๔ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรายึดถือสุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้อยู่ พึงหวัง ได้ผล ๔ ประการ พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้แล’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้สำหรับพระขีณาสพ

ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้สำหรับพระขีณาสพ
[๑๘๖] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวก สมณะ ศากยบุตร มีหลักการไม่แน่นอนอยู่’ เธอทั้งหลายควรกล่าวอย่างนี้กับ อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หลักการที่พระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้๑- ทรงเห็น๒- เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้แก่เหล่าสาวก เป็นหลักการที่เหล่าสาวกต้องไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิตมีอยู่ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เสาเขื่อน หรือเสาเหล็ก มีรากลึก ปักไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน แม้ฉันใด หลักการที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้แก่เหล่าสาวก เป็นหลักการที่ เหล่าสาวกต้องไม่ล่วงละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันต- ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุ ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบได้ ภิกษุนั้น ไม่อาจประพฤติละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ ๑. ภิกษุขีณาสพไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ ๒. ภิกษุขีณาสพไม่อาจถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย ๓. ภิกษุขีณาสพไม่อาจเสพเมถุนธรรม ๔. ภิกษุขีณาสพไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้ ๕. ภิกษุขีณาสพไม่อาจสะสมบริโภคกาม๔- เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ๖. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะชอบ @เชิงอรรถ : @ ทรงรู้ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ (ที.ปา.อ. ๑๘๖/๑๐๒) @ ทรงเห็น ในที่นี้หมายถึงทรงเห็นด้วยจักษุ ๕ คือ (๑) มังสจักขุ (ตาเนื้อ) (๒) ทิพพจักขุ (ตาทิพย์) @(๓) ปัญญาจักขุ (ตาปัญญา) (๔) พุทธจักขุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๕) สมันตจักขุ (ตาเห็นรอบ) @(ที.ปา.อ. ๑๘๖/๑๐๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๑๖ หน้า ๘๗ ในเล่มนี้ @ กาม ในที่นี้หมายถึงทั้งวัตถุกามและกิเลสกาม (ที.ปา.อ. ๑๘๖/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ปัญหาพยากรณ์

๗. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะชัง ๘. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะหลง ๙. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจประพฤติละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล๑-
ปัญหาพยากรณ์
[๑๘๗] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ปรารภอดีตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้ แต่หาได้ปรารภอนาคตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้ไม่ ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้น กล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร’ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เข้าใจญาณทัสสนะที่มีความหมายอย่างหนึ่งว่า ทรงบัญญัติรวมเข้ากับญาณทัสสนะ ที่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งเหมือนคนโง่ ไม่เฉียบแหลมฉะนั้น ตถาคตมีสตานุสาริ- ญาณ๒- ปรารภอดีตกาลยาวนานได้ คือ ตถาคตระลึกได้ตลอดขอบเขตเท่าที่ประสงค์ และตถาคตมีญาณ๓- ที่เกิดจากการตรัสรู้ ปรารภอนาคตกาลยาวนานได้ว่า ‘ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’ แม้ถ้าเรื่องอดีต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็น เรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖ @ สตานุสาริญาณ ในที่นี้หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้) @(ที.ปา.อ. ๑๘๗/๑๐๓) @ ญาณ หมายถึงมรรคญาณ ๔ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค @(๔) อรหัตตมรรค (ที.ปา.อ. ๑๘๗/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ปัญหาพยากรณ์

ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคต ก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง อนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่อง นั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่อง ปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง ปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น [๑๘๘] จุนทะ ด้วยเหตุนี้ เพราะตถาคตเป็นกาลวาที๑- ภูตวาที๒- อัตถวาที๓- ธัมมวาที๔- วินยวาที๕- ในธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น ชาวโลก จึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น๖- เสียงที่ได้ฟัง๗- อารมณ์ที่ได้ทราบ๘- ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง๙- ที่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง @เชิงอรรถ : @ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ อัตถวาที หมายถึงตรัสปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยที่มีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ @(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) เพราะเป็นสภาวะที่บุคคลถึงแล้วจึงกำหนดได้ (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง หมายถึงธรรมารมณ์มีสุขและทุกข์เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ บรรลุ แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น ชาว โลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ตถาคต กล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เผยแผ่อำนาจไปใน โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์
[๑๘๙] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคต๑- เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าว อย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรง @เชิงอรรถ : @ ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

พยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้น หรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไร พระ สมณโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนั้น’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘เพราะเรื่องนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์๑- ไม่ประกอบ ด้วยธรรม๒- ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์๓- ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็น @เชิงอรรถ : @ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒ อย่าง คือ (๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ @(ประโยชน์ในโลกนี้) (๒) สัมปรายิกัตถะ(ประโยชน์ในโลกหน้า) (ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) @ ไม่ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงไม่ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๙ (ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) @ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ คือ ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวบรวมไตรสิกขา @(ที.ปา.อ. ๑๘๙/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

ไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรง พยากรณ์เรื่องนั้นไว้
เรื่องที่ทรงพยากรณ์
[๑๙๐] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็พระ สมณโคดมทรงพยากรณ์เรื่องอะไรเล่า’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกข์’ พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไร พระ สมณโคดมจึงทรงพยากรณ์เรื่องนั้นไว้’ เธอทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้กับพวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘เพราะเรื่องนั้นประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วย ธรรม เป็นจุดเริ่มต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงทรงพยากรณ์เรื่องนั้นไว้’
ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต
[๑๙๑] จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต๑- แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่าที่เรา ไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต แก่เธอทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่า ที่เราไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต ได้แก่ ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๗๓/๑๑-๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตแก่เธอทั้งหลาย ทั้งที่ ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ คืออะไร คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลก๑- เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีตนเองเป็นตัวการ๒- นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ @เชิงอรรถ : @ อัตตาและโลก แยกอธิบายได้ดังนี้ คำว่า อัตตา และ โลก มีความหมาย ๕ นัย คือ @นัยที่ ๑ ทั้ง อัตตา และโลก หมายถึงขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ @นัยที่ ๒ อัตตา หมายถึงอหังการวัตถุ หรือเหตุให้เกิดมานะว่าเป็นเรา โลก หมายถึงมมังการวัตถุ คือเหตุ @ให้เกิดตัณหาว่าเป็นของเรา @นัยที่ ๓ อัตตา หมายถึงตนเอง โลก หมายถึงผู้อื่น @นัยที่ ๔ อัตตา หมายถึงขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในอุปาทานขันธ์ ๕ โลก หมายถึงสิ่งอื่นนอกจากขันธ์ ๕ @นัยที่ ๕ อัตตา หมายถึงขันธสันดานที่มีวิญญาณ โลก หมายถึงขันธสันดานที่ไม่มีวิญญาณ @คำว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ในที่นี้ทรงมุ่งแสดงสัสสตวาทะ ๔ ประการ ส่วนคำว่า “อัตตาและโลก @ไม่เที่ยง” ทรงมุ่งแสดงอุจเฉทวาทะ ๗ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๖๙) @ เป็นตัวการ แปลจากบาลีว่า “สยํกโต” ในที่นี้หมายถึงลัทธิสยังการ (ลัทธิสยังการ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า @ลัทธิอัตตการ) หมายถึงลัทธิที่เชื่อว่า ตนเป็นตัวการ คือ เป็นผู้สร้างอัตตาและโลกขึ้นเอง (ขุ.อุ.อ. ๕๖/๓๗๑) @หมายถึงพวกอธิจจสมุปปันนวาทะ คือลัทธิที่เชื่อว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง มิได้อาศัยเหตุอะไร เป็น @ลัทธิปฏิเสธทั้งลัทธิสยังการ และลัทธิปรังการ (ผู้อื่นเป็นตัวการ) พวกอธิจจสมุปปันนวาทะนี้ เรียกอีกชื่อ @หนึ่งว่า อเหตุกวาทะ (ขุ.อุ.อ. ๕๕-๕๖/๓๗๐-๓๗๒) และดู สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๗/๒๗-๒๘, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐ @ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกมีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา และโลกเกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็น ตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์จะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่น เป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

[๑๙๒] ๑. จุนทะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘อัตตา และโลกเที่ยง’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใด อย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์ แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่ เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติ๑- แม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ [๑๙๓] ๒. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ๓. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๔. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่า ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ บัญญัติ มี ๒ อย่าง คือ(๑) บัญญัติ (๒) อธิบัญญัติ บัญญัติ หมายถึงทิฏฐิบัญญัติ อธิบัญญัติ หมายถึง @ขันธบัญญัติ ธาตุบัญญัติ อายตนบัญญัติ อินทริยบัญญัติ สัจจบัญญัติ และบุคคลบัญญัติ ในที่นี้หมายเอา @ทั้งบัญญัติและอธิบัญญัติ (ที.ปา.อ. ๑๙๒/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีต

๖. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๗. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้งตนเองเป็นตัวการและ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง จะว่าตน เองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๙. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๑๐. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๑. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์ทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๒. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์จะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่ เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๓. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๔. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๑๕. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๑๖. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเอง เป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘สุขและทุกข์เกิดขึ้นได้เอง จะว่าตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่าผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้ แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติแม้นี้ ผู้ที่ เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้นเป็นผู้เหนือกว่า ใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้แลแก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้น ยังมีอะไรอีกเล่าที่เรา ไม่พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย
ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต
[๑๙๔] เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต๑- แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ คืออะไร ในเรื่องนั้น ยังมีอะไร อีกเล่า ที่เราไม่ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต ได้แก่อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๗๔-๑๐๔/๓๐-๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่มีรูป ยั่งยืน๑- หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา จะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ยั่งยืน แปลจากคำว่า อโรค อรรถกถาอธิบายว่า นิจฺจ แปลว่า เที่ยง ยั่งยืน คงที่ เพราะไม่แตกดับไป @(ที.สี.อ. ๗๖-๗๗/๑๐๙, ที.สี.ฏีกา ๗๖-๗๗/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๑. จุนทะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน หลังจาก ตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน กล่าวคำว่า ‘อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว’ ใช่ไหม และ สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจใน เรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่องบัญญัติ แม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริงเราเท่านั้นเป็นผู้ เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ [๑๙๕] ๒. จุนทะ บรรดาสมณพรหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาจะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจาก ตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาจะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลัง จากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านกล่าวคำว่า ‘อัตตาย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว’ ใช่ไหม และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราไม่ยอมรับคำนั้นของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัตว์แต่ละพวกๆ มีความเข้าใจในเรื่องนี้แตกต่างกัน เราไม่เห็นผู้ที่เสมอกับเราในเรื่อง บัญญัติแม้นี้ ผู้ที่เหนือกว่าเราจะมีแต่ที่ไหน ความจริง เราเท่านั้น เป็นผู้เหนือกว่าใครในบัญญัติ คือ อธิบัญญัติ จุนทะ เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคตเหล่านี้แล แก่เธอ ทั้งหลาย ทั้งที่ควรพยากรณ์และไม่ควรพยากรณ์ ในเรื่องนั้นยังมีอะไรอีกเล่า ที่เราไม่ ได้พยากรณ์แก่เธอทั้งหลาย [๑๙๖] จุนทะ เราแสดง บัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการไว้ อย่างนี้ ก็เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้ และทิฏฐินิสัยอันสหรคต ด้วยขันธ์ส่วนอนาคตเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราแสดง บัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการไว้ อย่างนี้ ก็เพื่อละ เพื่อก้าวล่วง ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วนอดีตเหล่านี้ และทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยขันธ์ส่วน อนาคตเหล่านี้ [๑๙๗] ในเวลานั้น ท่านพระอุปวาณะ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ของพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์ จริง ไม่เคยปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้น่าเลื่อมใสนัก ธรรมบรรยายนี้ น่าเลื่อมใสยิ่งนัก พระพุทธเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปวาณะ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิดว่า ‘ชื่อ ปาสาทิกะ’ ด้วยเหตุดังว่ามานี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุปวาณะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
ปาสาทิกสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๒๕-๑๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=2537&Z=3181                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=94              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=94&items=36              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=2357              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=94&items=36              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=2357                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn29/en/sujato https://suttacentral.net/dn29/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :