ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ

๘. สักกปัญหสูตร
ว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ
[๓๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือ ของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เวลานั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงเกิดความขวนขวายเพื่อจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงมีความดำริดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขา เวทิยกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ จึงรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้ นิรทุกข์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือ ของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทางที่ดี ชาวเราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น” พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว [๓๔๕] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตร๑- มา ตรัสว่า “พ่อปัญจสิขะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งกรุง ราชคฤห์ แคว้นมคธ ทางที่ดี ชาวเราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” @เชิงอรรถ : @ ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร เป็นเทพบุตรองค์หนึ่งในพวกคนธรรพ์ ซึ่งเป็นบริวารของท้าวธตรฐมหาราช และ @เป็นผู้รับใช้พระทศพล สามารถเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา ขอสดับพระธรรมเทศนาได้ทุกขณะที่ต้องการ ท้าวสักกะ @จอมเทพจึงชวนท่านไปพร้อมกันเพื่อจะได้ทูลขอพระวโรกาสกะพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามปัญหาต่อไป @(ที.ม.อ. ๓๔๕/๓๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ

ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถือพิณสีเหลืองดังผลมะตูม ตามเสด็จท้าวสักกะจอมเทพมา [๓๔๖] ต่อมา ท้าวสักกะจอมเทพ ผู้มีเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์แวดล้อม มีปัญจสิขะ คันธรรพบุตรนำเสด็จ ได้ทรงหายตัวจาก(ภพ)ชั้นดาวดึงส์ไปปรากฏอยู่ที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน ออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น เวลานั้น ภูเขาเวทิยกะและหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์สว่างไสวยิ่งนัก ด้วย เทวานุภาพของเหล่าเทพ ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงรอบๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้ ภูเขาเวทิยกะถูกไฟเผาไหม้ลุกโชติช่วง ทำไมหนอ วันนี้ ภูเขาเวทิยกะและหมู่บ้าน พราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์จึงสว่างไสวยิ่งนักเล่า” พากันตกใจขนพองสยองเกล้า [๓๔๗] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมา ตรัสว่า “ปัญจสิขะ ตถาคตทรงเข้าฌาน๑- ทรงพอพระทัยในฌาน ระหว่างที่พระองค์ ประทับหลีกเร้นอยู่ คนเช่นเรายากที่จะเข้าไปเฝ้าได้ ทางที่ดี พ่อควรทำให้พระองค์ ทรงพอพระทัยก่อน หลังจากนั้น พวกเราจึงควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงถือพิณสีเหลืองดังผลมะ- ตูมเข้าไปจนถึงถ้ำอินทสาละแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร คะเนดูว่า “ระยะเท่านี้พระผู้ มีพระภาคประทับอยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากเรา และทรงได้ยินเสียงของเรา” @เชิงอรรถ : @ เข้าฌาน หมายถึงการเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ในที่นี้มุ่งถึงฌาน ๒ คือ (๑) อารัมมณูปนิชฌาน @(การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔) (๒) ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ @ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล) (ที.ม.อ. ๓๔๗/๓๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร

เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร
[๓๔๘] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้บรรเลงพิณสีเหลือง ดังผลมะตูมและกล่าวคาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม เกี่ยวเนื่องด้วยพระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ว่า “แม่ภัททาสุริยวัจฉสา๑- ฉันขอกราบท่านติมพรุบิดาของเธอ โดยเหตุที่เธอเกิดมางดงาม ทำให้ฉันปลื้มใจ เหมือนสายลมย่อมเป็นที่ปรารถนาของผู้มีเหงื่อ หรือเหมือนน้ำเป็นที่ปรารถนาของผู้กระหาย เธอผู้ไฉไลเป็นที่รักของฉัน ดุจธรรมเป็นที่รักของพระอรหันต์ เธอจงช่วยดับความเร่าร้อน๒- เหมือนช่วยวางยาคนไข้ผู้กระสับกระส่าย เหมือนให้อาหารแก่ผู้หิว หรือเหมือนใช้น้ำดับไฟที่กำลังลุกอยู่ ขอให้ฉันได้ซบลงจดถันและอุทรของเธอ เหมือนช้างที่ร้อนจัดในคราวร้อน หยั่งลงสู่สระโบกขรณีมีน้ำเย็น ระคนด้วยละอองเกสรดอกปทุม ฉันมึนงงเพราะ(เห็น)ช่วงขาที่งามสมส่วน ไม่รับรู้เหตุการณ์ (อะไรๆ) เหมือนช้างเหลือขอเพราะถือว่าเราชนะได้แล้ว๓- @เชิงอรรถ : @ สุริยวัจฉสา เป็นชื่อของเทพธิดา ผู้มีสิริโฉมงดงามทั่วสรรพางค์ มีรัศมีอ่อนๆ เปล่งออกจากร่างกายดุจ @แสงอ่อนของดวงอาทิตย์ยามทอแสง (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๖) @ ความเร่าร้อน ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะไฟคือราคะ (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๖) @ เราชนะได้แล้ว หมายถึงไม่อยู่ในอำนาจของแหลนและหอกซัด (ที.ม.อ. ๓๔๘/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร

ฉันมีใจจดจ่อที่เธอ ไม่อาจกลับใจที่แปรผันไป เหมือนปลาที่กลืนเบ็ดเข้าไป นางผู้เจริญ เธอจงเอาขาซ้ายกระหวัดฉันไว้ เธอผู้มีดวงตาหยาดเยิ้มจงกระหวัดฉันไว้เถิด เธอผู้งดงามจงสวมกอดฉันไว้ สิ่งนี้คือสิ่งที่ฉันปรารถนายิ่งนัก ความใคร่ของฉันต่อเธอผู้มีผมงามสลวย ถึงมีน้อยก็เกิดผลมาก เหมือนทักษิณาที่ถวายแด่พระอรหันต์ นางผู้งดงามทั่วสรรพางค์ บุญที่ฉันได้ทำไว้ในพระอรหันต์ผู้คงที่นั้น จงอำนวยผลแก่ฉันพร้อมกับเธอ นางผู้งดงามทั่วสรรพางค์ บุญที่ฉันได้ทำไว้ในปฐพีมณฑลนี้ จงอำนวยผลแก่ฉันพร้อมกับเธอ แม่(ภัททา)สุริยวัจฉสา ฉันใฝ่ฝันหาเธอ เหมือนพระสมณศากยบุตรผู้ทรงเข้าฌานอยู่ผู้เดียว ผู้มีปัญญาครองตน มีสติ เป็นมุนี แสวงหาอมตธรรม แม่คุณคนงาม ถ้าฉันได้อยู่ร่วมกับเธอ ก็จะพึงชื่นชม เหมือนพระมุนีบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดพึงชื่นชมฉะนั้น หากท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งดาวดึงส์ จะประทานพรแก่ฉัน ฉันก็จะต้องเลือกเอาเธอเป็นแน่ ความปรารถนาของฉันมั่นคงอยู่อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เพลงขับกล่อมของปัญจสิขะ คันธรรพบุตร

แม่คุณผู้เฉลียวฉลาด ฉันขอน้อมไหว้บิดาของเธอผู้มีธิดางามเช่นนี้ ดุจต้นสาละที่ผลิดอกใหม่ๆ ฉะนั้น” [๓๔๙] เมื่อปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสกับปัญจสิขะ คันธรรพบุตรดังนี้ว่า “ปัญจสิขะ เสียงสายพิณของท่านเทียบได้กับ เสียงขับร้อง และเสียงขับร้องเทียบได้กับเสียงสายพิณ เสียงสายพิณของท่านไม่เกิน เสียงขับร้อง และเสียงขับร้องก็ไม่เกินเสียงสายพิณ คาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม เกี่ยวเนื่องด้วยพระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และ เกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ ท่านประพันธ์ไว้เมื่อไร” ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ ประพันธ์คาถาเหล่านี้ไว้ เมื่อสมัยที่พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้น อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น ข้าพระองค์หลงรัก ภัททาสุริยวัจฉสา ธิดาของท้าวติมพรุคันธรรพราช แต่นางรักผู้อื่นคือหลงรักสิขัณฑี บุตรของมาตลีสังคาหกเทพบุตร เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้นางด้วยวิธีหนึ่งจึงถือเอาพิณสี เหลืองดังผลมะตูมเข้าไปยังนิเวศน์ของท้าวติมพรุคันธรรพราช แล้วบรรเลงพิณขึ้น กล่าวคาถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธ เกี่ยวเนื่องด้วยพระธรรม เกี่ยวเนื่องด้วย พระสงฆ์ เกี่ยวเนื่องด้วยพระอรหันต์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกามเหล่านี้ว่า ‘แม่ภัททาสุริยวัจฉสา ฉันขอกราบท่านติมพรุบิดาของเธอ โดยเหตุที่เธอเกิดมางดงาม ทำให้ฉันปลื้มใจ ฯลฯ แม่คุณผู้เฉลียวฉลาด ฉันขอน้อมไหว้บิดาของเธอผู้มีธิดางามเช่นนี้ ดุจต้นสาละที่ผลิตดอกใหม่ๆ ฉะนั้น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้ นางภัททาสุริยวัจฉสา กล่าวตอบว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ฉันไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ เป็นแต่เคยได้ยินเมื่อเข้าไปฟ้อนในสุธัมมาเทวสภาของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์เท่านั้น เนื่องจากท่านได้กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นได้ ก็จงมาสมาคมกับพวกเรา ณ บัดนี้’ ข้าพระองค์จึงได้ร่วมสมาคมกับนางและไม่ใช่ครั้งนี้เท่านั้น หลังจากนั้นมา ข้าพระองค์ก็ได้สมาคมกันอีก”
ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า
[๓๕๐] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีความดำริดังนี้ว่า “ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคก็ทรงปราศรัย กับปัญจสิขะ” จึงรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมาตรัสว่า “ปัญจสิขะ พ่อจง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์ พร้อมด้วยบริษัท ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ พระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ตามรับสั่งว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์ พร้อมด้วย บริษัท ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญจสิขะ ขอให้ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วย อำมาตย์ พร้อมด้วยบริษัทจงมีความสุขเถิด เพราะว่ามีพวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมากต่างก็ปรารถนาความสุข” [๓๕๑] พระตถาคตทั้งหลายย่อมประทานพรแก่เทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เช่นนี้อย่าง นี้แล ท้าวสักกะ จอมเทพผู้อันพระผู้มีพระภาคได้ประทานพรแล้ว เสด็จเข้าไปยังถ้ำ อินทสาละของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร แม้พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ สมควร แม้ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร ก็เข้าไปยังถ้ำอินทสาละ ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ท้าวสักกะจอมเทพเข้าเฝ้า

เวลานั้น ถ้ำอินทสาละซึ่งมีพื้นไม่สม่ำเสมอก็สม่ำเสมอ ที่คับแคบก็กลับ กว้างขวาง ความมืดในถ้ำหายไป เกิดความสว่างขึ้นเพราะเทวานุภาพของเหล่าเทพ [๓๕๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท้าวสักกะ จอมเทพดังนี้ว่า “นี้เป็น เหตุน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่ท้าวโกสีย์ มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก เสด็จมาถึงที่นี้ได้” ท้าวสักกะ จอมเทพกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนา จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคตั้งนานแล้ว แต่มัวสาละวนด้วยกิจหน้าที่ของพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ จึงไม่สามารถมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์ได้ไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อจะเฝ้า พระองค์ แต่ขณะนั้นพระองค์ประทับเข้าสมาธิอยู่ มีนางปริจาริกาของท้าวเวสวัณ มหาราชชื่อว่าภุชคีคอยอุปัฏฐาก นางยืนประนมมือถวายนมัสการอยู่ ขณะนั้น ข้าพระองค์กล่าวกับนางว่า ‘น้องหญิง เธอจงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคตามคำ ของเราว่า ‘ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์พร้อมด้วยบริษัท ขอถวาย อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้ นางตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์ท่านทรงหลีกเร้นเพียงลำพัง’ ข้าพระองค์จึงสั่งว่า ‘น้องหญิง ถ้าอย่างนั้น คราวที่พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธิ เธอจงถวายอภิวาทพระองค์ตามคำของ เราว่า ‘ท้าวสักกะ จอมเทพพร้อมด้วยอำมาตย์พร้อมด้วยบริษัท ขอถวายอภิวาท พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร’ นางได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค หรือไม่ พระองค์ทรงระลึกถึงคำของนางได้อยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอไหว้เราแล้ว เราระลึกถึงคำของเธอได้ และเรา ออกจากสมาธิเพราะเสียงล้อรถของพระองค์” ท้าวสักกะจอมเทพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพวกเทพ ผู้เกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ก่อนกว่าพวกข้าพระองค์ว่า ‘คราวที่พระตถาคตอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้เห็นประจักษ์แล้วว่า เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

เรื่องโคปกเทพบุตร
[๓๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์นี้ ได้มีศากยธิดานามว่าโคปิกา ผู้เลื่อมใสในพระพุทธ เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้รักษาศีล๑- ให้ บริบูรณ์ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึกเป็นชาย๒- หลังจากตายแล้วไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ ได้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ได้เป็นบุตรของข้าพระองค์ ในที่นั้นพวกเทพรู้จักเธออย่างนี้ว่า ‘โคปกเทพบุตร’ ภิกษุอื่นอีก ๓ รูปประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ไปเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็นชั้นต่ำ พวกคนธรรพ์นั้น เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ มาสู่ที่บำรุงบำเรอของข้า พระองค์ โคปกเทพบุตรกล่าวเตือนพวกคนธรรพ์ผู้มายังที่บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านหันหน้าไปทางไหน๓- ทั้งที่ได้ฟังพระธรรมของพระ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว เราเป็นหญิงเลื่อมใสในพระพุทธ เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ รักษาศีลให้บริบูรณ์ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึก เป็นชาย หลังจากตายแล้วมาเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ได้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ เป็นบุตรของท้าวสักกะจอมเทพ ในที่นี้พวกเทพรู้จักเราอย่างนี้ว่า ‘โคปกเทพบุตร’ ส่วนพวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค มาเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็น ชั้นต่ำ พวกเราได้เห็นผู้ร่วมประพฤติธรรมที่มาเกิดในหมู่คนธรรพ์ซึ่งเป็นชั้นต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูเลย’ เมื่อพวกคนธรรพ์ ๓ ตน ถูกโคปกเทพบุตรตักเตือน มีเทพ๔- ๒ องค์ กลับได้สติในปัจจุบันทันทีแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นพรหมปุโรหิตา ส่วนเทพอีกองค์หนึ่งยังคงอยู่ในกามภพ @เชิงอรรถ : @ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๑) @ หน่ายความรู้สึกเป็นหญิง อบรมความรู้สึกเป็นชาย หมายถึงอาการที่ไม่ได้เกิดจากภาวะผิดปกติด้าน @ความรู้สึก แต่เกิดจากความปรารถนาจะบำเพ็ญบารมีให้สูงขึ้น เนื่องจากเพศหญิงไม่อาจบรรลุปัจเจกโพธิ- @ญาณและสัมมาสัมโพธิญาณได้ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๑) @ หันหน้าไปทางไหน หมายถึงใจลอยหรือนอนหลับในขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเฉพาะหน้า @(ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๒) @ เทพ ในที่นี้หมายถึงคนธรรพ์ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

[๓๕๔] โคปกเทพบุตรกล่าวว่า ‘เรามีนามว่า ‘โคปิกา’ เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ เราเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธ พระธรรม และมีจิตเลื่อมใสบำรุงพระสงฆ์ เพราะความดีของพระธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทีเดียว เราได้เป็นบุตรของท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองมาก มาเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ แม้ในที่นี้พวกเทพรู้จักเราว่า ‘โคปกเทพบุตร’ เราได้มาเห็นพวกภิกษุผู้เป็นสาวกของพระโคดม ผู้เกิดอยู่ในหมู่คนธรรพ์ ซึ่งเราเคยเห็นมาแล้ว เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ยังได้เคยปรนนิบัติเท้า๑- ในเรือนของตน แล้วอุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ ท่านเหล่านี้หันหน้าไปทางไหน จึงไม่ได้รับพระธรรมของพระพุทธเจ้า พระธรรมที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงไว้ดีแล้ว แม้เราก็เข้าไปหาพวกท่านได้ฟังสุภาษิตของพระอริยเจ้า ได้เป็นบุตรของท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองมาก มาเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ส่วนพวกท่านเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม @เชิงอรรถ : @ ปรนนิบัติเท้า หมายถึงการอุปัฏฐาก เช่น การล้างเท้า การนวดเท้า และการทาเท้า (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

แต่กลับมาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ การเกิดของพวกท่านไม่สมควร เราได้มาเห็นผู้ร่วมประพฤติธรรม มาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำนับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูเลย พวกท่านมาเกิดในหมู่คนธรรพ์ ยังต้องมาสู่ที่บำรุงบำเรอของพวกเทพ ขอให้ท่านจงดูความวิเศษอันนี้ของเราผู้อยู่ครองเรือนเถิด เราเป็นหญิง แต่วันนี้เป็นเทพบุตร ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์’ คนธรรพ์พวกนั้นพร้อมกันมาพบโคปกเทพบุตร ถูกเทพบุตรผู้เป็นสาวกของพระโคดมตักเตือนแล้ว จึงเกิดความสังเวชว่า ‘เอาเถิด พวกเราจะเพียรพยายาม อย่าได้เป็นคนรับใช้ของผู้อื่นอีกเลย’ บรรดาคนธรรพ์เหล่านั้น คนธรรพ์ ๒ ตนระลึกถึงคำสอนของพระโคดมได้ จึงได้เริ่มตั้งความเพียร หน่ายความคิดในภพนี้ เห็นโทษในกาม ตัดกามสังโยชน์๑- และกามพันธน์๒- อันเป็นโยคะที่ละได้ยากของมารผู้มีบาป ก้าวล่วงเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะตัดกามคุณอันมีอยู่เสียได้ ประดุจช้างตัดบ่วงบาศได้ @เชิงอรรถ : @ กามสังโยชน์ หมายถึงกามราคะ ซึ่งมีชื่อต่างๆ เช่น ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ (ที.ม.ฏีกา ๓๕๔/๓๑๔) @ กามพันธน์ หมายถึงกามราคะ ซึ่งมีชื่อต่างๆ เช่น โยคะ คันถะ (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) และดูเทียบ @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒/๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

เทพทั้งหมดพร้อมทั้งพระอินทร์และพระปชาบดี เข้าไปนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้กล้า ปราศจากราคะ กำลังบำเพ็ญธรรมที่ปราศจากความกำหนัด๑- ได้ก้าวล่วงเทพพวกนั้นที่นั่งอยู่ ท้าววาสวะผู้เป็นใหญ่กว่าเทพ ทอดพระเนตรเทพเหล่านั้น ท่ามกลางหมู่เทพแล้วทรงสังเวชว่า ‘เทพเหล่านั้นมาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำกว่า เวลานี้กลับก้าวล่วงพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้’ โคปกเทพบุตรนั้นพิจารณาถ้อยคำของท้าวสักกะ ผู้ทรงเกิดความสังเวชแล้วกราบทูลท้าววาสวะว่า ‘มีพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นจอมคนอยู่ในมนุษยโลก ทรงครอบงำกามเสียได้ พระนามว่าพระศากยมุนี เทพพวกนั้นเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เสื่อมจากสติ๒- ถูกข้าพระองค์ตักเตือนแล้วจึงกลับได้สติ’ บรรดาท่านทั้ง ๓ เหล่านั้น ผู้หนึ่งคงเกิดในหมู่คนธรรพ์อยู่ในภพนี้ อีก ๒ ท่านดำเนินตามทางสัมโพธิ๓- เพราะเป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมเย้ยเทวโลก๔- ได้ @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่ปราศจากความกำหนัด ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) @ สติ ในที่นี้ได้แก่ฌาน (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) @ ทางสัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) @ เย้ยเทวโลก หมายถึงคนธรรพ์ ๒ ตนพอได้อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิแล้วก็ทำให้เป็นบาท เพื่อให้ @บรรลุสัมโพธิ แล้วจักไม่เวียนกลับมาในภพภูมิที่ต่ำอีกต่อไป (ที.ม.อ. ๓๕๔/๓๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

การประกาศธรรมในศาสนานี้เป็นเช่นนี้ ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร ในการประกาศธรรมนั้นเลย พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว บรรดาคนธรรพ์ ๓ ตนนั้น ๒ ตนรู้ธรรมอันใดของพระองค์แล้ว ถึงความเป็นผู้วิเศษไปเกิดในหมู่พรหมชั้นพรหมปุโรหิตา บรรลุคุณวิเศษแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ขอประทานวโรกาส ถึงพวกข้าพระองค์ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น หากพระผู้มีพระภาคทรงประทานวโรกาส ก็จะขอทูลถามปัญหา” [๓๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “ท้าวสักกะทรงเป็นผู้ บริสุทธิ์มาช้านาน จะตรัสถามปัญหากับเรา ก็จะตรัสถามทุกอย่างที่ประกอบด้วย ประโยชน์ จะไม่ตรัสถามปัญหาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และท้าวเธอจะทรงเข้า ใจที่เราตอบได้ฉับพลันเทียว” [๓๕๖] จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท้าวสักกะจอมเทพเป็นพระคาถาว่า “วาสวะ พระองค์ทรงปรารถนาสิ่งใดไว้ในพระทัย ก็โปรดถามปัญหานั้นกับอาตมภาพเถิด อาตมภาพจะแก้ปัญหานั้นให้ถึงที่สุดแด่พระองค์”
ภาณวารที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

[๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานพระวโรกาสแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทูลถามปัญหาข้อที่ ๑ นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมากต่างก็มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษ จงเป็นผู้ไม่มีศัตรู จงเป็นผู้ไม่ถูก เบียดเบียน จงเป็นผู้ไม่จองเวรกันอยู่เถิด’ แต่เพราะมีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดเล่า พวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกลงโทษ มีศัตรู ถูกเบียดเบียน ยังจองเวรกันอยู่” ท้าวเธอ ได้ทูลถามปัญหาอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ พวกเทพ มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมาก ต่างมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอพวกเราจงเป็น ผู้ไม่มีเวร จงเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษ จงเป็นผู้ไม่มีศัตรู จงเป็นผู้ไม่ถูกเบียดเบียน จงเป็น ผู้ไม่จองเวรกันอยู่เถิด’ แต่เพราะมีอิสสา(ความริษยา) และมัจฉริยะ(ความตระหนี่) เป็นเครื่องผูกมัด พวกเขาจึงยังคงมีเวร ถูกลงโทษ มีศัตรู ถูกเบียดเบียน จองเวร กันอยู่” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้วเพราะได้ฟังการตรัส ตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค” [๓๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อิสสาและมัจฉริยะ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมี อะไร จึงมีอิสสาและมัจฉริยะ เมื่อไม่มีอะไร จึงไม่มีอิสสาและมัจฉริยะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ อิสสาและมัจฉริยะ มีอารมณ์อันเป็น ที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นต้นเหตุ มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นเหตุเกิด มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเป็นกำเนิด มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่ รักเป็นแดนเกิด เมื่อมีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก จึงมีอิสสาและมัจฉริยะ เมื่อไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก จึงไม่มีอิสสาและมัจฉริยะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องโคปกเทพบุตร

ท้าวเธอทูลถามว่า “อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีอารมณ์ อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักมีฉันทะ๑- เป็นต้นเหตุ มีฉันทะเป็นเหตุเกิด มีฉันทะเป็นกำเนิด มีฉันทะเป็นแดนเกิด เมื่อมี ฉันทะจึงมีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีฉันทะจึงไม่มีอารมณ์อันเป็นที่ รักและไม่เป็นที่รัก” ท้าวเธอทูลถามว่า “ฉันทะมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็น กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีฉันทะ เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีฉันทะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ฉันทะมีวิตก๒- เป็นต้นเหตุ มีวิตกเป็นเหตุเกิด มีวิตกเป็นกำเนิด มีวิตกเป็นแดนเกิด เมื่อมีวิตกจึงมีฉันทะ เมื่อไม่มีวิตกจึงไม่ มีฉันทะ” ท้าวเธอทูลถามว่า “วิตกมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็น กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อมีอะไรจึงมีวิตก เมื่อไม่มีอะไรจึงไม่มีวิตก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วิตกมีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา๓- เป็นต้นเหตุ มีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นเหตุเกิด มีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นกำเนิด มีแง่ @เชิงอรรถ : @ ฉันทะ แปลว่าความพอใจ แต่ในที่นี้หมายถึงความไม่รู้จักอิ่มคือตัณหา มี ๕ อย่างคือ (๑) ปริเยสนฉันทะ @(ความไม่อิ่มในการแสวงหา) (๒) ปฏิลาภฉันทะ (ความไม่อิ่มในการได้มา) (๓) ปริโภคฉันทะ (ความไม่อิ่ม @ในการใช้สอย) (๔) สันนิธิฉันทะ (ความไม่อิ่มในการกักตุน) (๕) วิสัชชนฉันทะ (ความไม่อิ่มในการจ่ายทรัพย์) @(ที.ม.อ. ๓๕๘/๓๓๕-๓๓๖) @ วิตก แปลว่าการตรึก การไตร่ตรอง ในที่นี้หมายถึงการตรึกเพื่อการตัดสิน ๒ อย่าง คือ (๑) ตัณหาวินิจฉัย @(การตัดสินด้วยอำนาจตัณหา) (๒) ทิฏฐิวินิจฉัย (การตัดสินด้วยอำนาจทิฏฐิ) (ที.ม.อ. ๓๕๘/๓๓๖) @ แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา แยกอธิบายตามศัพท์ได้ดังนี้ แง่ต่าง แปลจากคำว่า สงฺขา คือส่วนต่างๆ @หมายถึงส่วนต่างๆ แห่งปปัญจสัญญา ปปัญจะ หมายถึงปปัญจธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้า @ได้แก่ ตัณหาวิจริต ๑๐๘ มานะ ๙ และทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งเป็นเหตุให้มีความประมาทมัวเมา มีความประมาท @มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ในความไม่มีโรค และในชีวิต ปปัญจสัญญา หมายถึงสัญญา(ความกำหนดหมาย) @ที่ประกอบด้วยปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ แต่ในที่นี้หมายเอาเพียงตัณหาเท่านั้น @ดังนั้น คำว่า “แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา” จึงหมายถึงการคิดปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ ด้วยอำนาจตัณหา @มานะ และทิฏฐิของตนๆ จึงเกิดแง่ต่างๆ หรือมุมมองที่แตกต่างกันทั้งๆ ที่คิดเรื่องเดียวกัน @(ที.ม.อ. ๓๕๘/๓๓๖, ที.ม.ฏีกา ๓๕๘/๓๒๑-๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน

ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นแดนเกิด เมื่อมีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงมีวิตก เมื่อไม่มี แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงไม่มีวิตก” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควรและดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”
เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ กล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โทมนัส ที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ และกล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาที่ควร เสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ [๓๖๐] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โสมนัสเช่นนี้เป็น โสมนัสที่ไม่ควรเสพ๑- บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โสมนัสเช่นนี้เป็น โสมนัสที่ควรเสพ๒- ในโสมนัส๓- นั้น โสมนัสใดมีวิตก มีวิจาร๔- และโสมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๕- บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’ @เชิงอรรถ : @ โสมนัสที่ไม่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่อาศัยกามคุณ เป็นไปทางทวาร ๖ (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐) @ โสมนัสที่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเนกขัมมะ วิปัสสนา อนุสสติ และปฐมฌานเป็นต้น @(ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐) @ โสมนัส ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐) @ โสมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐) @ โสมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌาน @(ที.ม.อ. ๓๖๐/๓๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน

ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โสมนัสที่ควรเสพ และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ [๓๖๑] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โทมนัสเช่นนี้เป็น โทมนัสที่ไม่ควรเสพ บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โทมนัสเช่นนี้เป็น โทมนัสที่ควรเสพ ในโทมนัสนั้น โทมนัสใดมีวิตก มีวิจาร๑- และโทมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๒- บรรดาโทมนัส ๒ อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ ๒ อย่าง คือ โทมนัสที่ควรเสพ และโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ [๓๖๒] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น อุเบกขาที่ไม่ควรเสพ @เชิงอรรถ : @ โทมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌานและทุติยฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๑/๓๔๒) @ โทมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นโดยตรง (ที.ม.อ. ๓๖๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ปาติโมกขสังวร

บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น อุเบกขาที่ควรเสพ ในอุเบกขานั้น อุเบกขาใดมีวิตก มีวิจาร๑- และอุเบกขาใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร๒- บรรดาอุเบกขา ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’ ข้อที่เรากล่าวไว้ว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาที่ ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ [๓๖๓] จอมเทพ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ อันสมควร และดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการ ตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”
ปาติโมกขสังวร๓-
(สำรวมในปาติโมกข์)
[๓๖๔] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติ อย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมในปาติโมกข์” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติ ทางกาย) ไว้ ๒ อย่าง คือ กายสมาจารที่ควรเสพและกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ @เชิงอรรถ : @ อุเบกขามีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. ๓๖๒/๓๔๗) @ อุเบกขาไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น @(ที.ม.อ. ๓๖๒/๓๔๗) @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๑๐-๑๑๑/๙๖-๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ปาติโมกขสังวร

กล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา)ไว้ ๒ อย่างคือ วจีสมาจารที่ควรเสพ และวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ และกล่าวปริเยสนา(การแสวงหา)ไว้ ๒ อย่างคือ ปริเยสนาที่ควรเสพและปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ อย่างคือ กายสมาจารที่ควรเสพ และกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง กล่าวไว้เช่นนั้น บรรดากายสมาจาร ๒ อย่างนั้น กายสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ กายสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ กายสมาจารเช่นนี้เป็นกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ บรรดากายสมาจาร ๒ อย่างนั้น กายสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ กายสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ กายสมาจารเช่นนี้เป็นกายสมาจารที่ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ อย่าง คือ กาย- สมาจารที่ควรเสพและกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ อย่าง คือ วจี- สมาจารที่ควรเสพและวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น บรรดาวจีสมาจาร ๒ อย่างนั้น วจีสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ วจีสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ วจีสมาจารเช่นนี้เป็นวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ บรรดาวจีสมาจาร ๒ อย่างนั้น วจีสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพวจี- สมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ วจีสมาจารเช่นนี้เป็นวจีสมาจารที่ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ อย่าง คือ วจีสมาจาร ที่ควรเสพและวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวปริเยสนาไว้ ๒ อย่าง คือ ปริเยสนา ที่ควรเสพและปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

บรรดาปริเยสนา ๒ อย่างนั้น ปริเยสนาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพปริเยสนา นี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ ปริเยสนานี้เป็น ปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ บรรดาปริเยสนา ๒ อย่างนั้น ปริเยสนาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพปริเยสนา นี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ปริเยสนาเช่นนี้ เป็นปริเยสนาที่ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวปริเยสนาไว้ ๒ อย่าง คือ ปริเยสนาที่ ควรเสพและปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้ จอมเทพ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมในปาติโมกข์” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น’ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการตรัส ตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”
อินทริยสังวร๑-
(สำรวมอินทรีย์)
[๓๖๕] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติ อย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ อย่าง คือ รูปที่ควรเสพ๒- และรูปที่ไม่ควรเสพ กล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูไว้ ๒ อย่าง คือ เสียงที่ควรเสพและเสียงที่ไม่ควรเสพ กล่าวกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๑๙/๑๐๕-๑๐๖ @ คำว่า เสพ มีความหมายตามบริบท เช่น เสพรูป หมายถึงเห็นรูป เสพเสียง หมายถึงฟังเสียง เสพกลิ่น @หมายถึงดมกลิ่น เสพรส หมายถึงลิ้มรส เสพโผฏฐัพพะ หมายถึงถูกต้องโผฏฐัพพะ เสพธรรมารมณ์ @หมายถึงนึกถึงธรรมารมณ์ (ที.ม.อ. ๓๖๕/๓๕๑-๓๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

ไว้ ๒ อย่างคือ กลิ่นที่ควรเสพและกลิ่นที่ไม่ควรเสพ กล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ไว้ ๒ อย่างคือ รสที่ควรเสพและรสที่ไม่ควรเสพ กล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ไว้ ๒ อย่างคือ โผฏฐัพพะที่ควรเสพและโผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ กล่าวธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ อย่างคือ ธรรมารมณ์ที่ควรเสพและธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้ แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้เป็นรูปที่ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา เช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง ทางตาเช่นนี้เป็นรูปที่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นใด ฯลฯ เมื่อ บุคคลเสพกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น เช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด’ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม ทั้งหลายเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ เป็นธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ เป็นธรรมารมณ์ที่ ควรเสพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล จึงไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค” [๓๖๖] ท้าวสักกะจอมเทพชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ ทั้งหมด มีวาทะ(หลักการ)อย่างเดียวกัน มีศีล(ข้อปฏิบัติ)อย่างเดียวกัน มีฉันทะ (ลัทธิ) อย่างเดียวกัน มีอัชโฌสานะ๑- (จุดหมาย)อย่างเดียวกัน หรือหนอ” @เชิงอรรถ : @ อัชโฌสานะ ในที่นี้หมายถึงมีที่สุดอย่างเดียวกัน(เอกปริโยสานา) มีข้อตกลงร่วมกัน(สมานนิฏฐานา) @(ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓, ที.ม.ฏีกา ๓๖๖/๓๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด ไม่มีวาทะ อย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะ อย่างเดียวกัน” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะอย่างเดียวกัน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ โลกมีธาตุหลากหลาย๑- มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุหลากหลายมีธาตุต่างกันนั้น เหล่าสัตว์ยึดมั่นธาตุใดๆ อยู่ ก็ย่อมยึด มั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและความยึดมั่นอยู่ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่าง เดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะอย่างเดียวกัน” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความ สำเร็จสูงสุด๒- มีความเกษมจากโยคะสูงสุด๓- ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด๔- มีที่สุด อันสูงสุด๕- หรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด ไม่มีความ สำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มี ที่สุดอันสูงสุด” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มีที่สุดอันสูงสุด” @เชิงอรรถ : @ มีธาตุหลากหลาย ได้แก่ มีอัชฌาสัย คือนิสัยใจคอความนิยมต่างกัน เช่น เมื่อคนหนึ่งอยากเดิน อีกคนหนึ่ง @อยากยืน เมื่อคนหนึ่งอยากยืน อีกคนหนึ่งอยากนอน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ มีความสำเร็จสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพ้นความพินาศคือกิเลส (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ความเกษมจากโยคะสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ที่สุดอันสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ ภิกษุทั้งหลายผู้หลุดพ้นเพราะสิ้น ตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมดจึงไม่มี ความสำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มีที่สุดอันสูงสุด” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการตรัส ตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค” [๓๖๗] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหว เป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ความหวั่นไหวฉุดคร่าบุรุษนี้ไปเพื่อบังเกิดใน ภพนั้นๆ ฉะนั้น บุรุษนี้จึงถึงฐานะสูงบ้างต่ำบ้าง๑- ปัญหาที่ข้าพระองค์ไม่ได้แม้โอกาสจะถามในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นนอก พระธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบแก่ข้าพระองค์แล้ว และได้ทรงถอน ลูกศรคือความสงสัยและความเคลือบแคลงที่นอนเนื่องมานานของข้าพระองค์ด้วย” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่าปัญหา ข้อนี้ได้ตรัสถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่นมาบ้างแล้ว” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ยังจำได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ท่านเหล่านั้นตอบว่าอย่างไร หากไม่หนักพระทัย เชิญพระองค์ตรัสเถิด” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ณ สถานที่ที่มีพระผู้มีพระภาค หรือผู้เปรียบดังพระผู้มี พระภาคประทับอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจเลย พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ฐานะสูงบ้างต่ำบ้าง ในที่นี้หมายถึงภพภูมิต่างๆ เช่น พรหมโลกสูงกว่าเทวโลก เทวโลกสูงกว่า @มนุษยโลก และมนุษยโลกสูงกว่าอบายภูมิ (ที.ม.อ. ๓๖๗/๓๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เชิญพระองค์ตรัสเถิด จอมเทพ” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์ ที่เข้าใจว่า ‘เป็นผู้ อยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะอันสงัด’ แล้วถามปัญหาเหล่านี้ ท่านเหล่านั้น เมื่อถูกถาม ก็ตอบไม่ได้กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ‘ท่านชื่ออะไร’ เมื่อถูกย้อนถาม ข้าพระองค์ จึงตอบว่า ‘เราชื่อท้าวสักกะจอมเทพ’ ท่านเหล่านั้นก็ยังถามต่อไปอีกว่า ‘ท่านทำ กรรมอะไรจึงถึงฐานะอันนี้เล่า’ ข้าพระองค์จึงแสดงธรรม๑- ตามที่ได้ฟังที่ได้เรียนมา ท่านเหล่านั้นมีใจยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ‘พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตรัสตอบปัญหาที่พวกเราถาม’ ท่านเหล่านั้นยอมเป็นสาวกของ ข้าพระองค์ ส่วนข้าพระองค์ไม่ยอมเป็นสาวกของท่านเหล่านั้น แต่(บัดนี้)ข้าพระองค์ เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๒-”
เรื่องการได้โสมนัส
[๓๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ยังทรงจำการได้ ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ก่อนแต่นี้ได้หรือไม่” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ยังจำการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ก่อนแต่นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พระองค์ยังทรงจำการได้ความยินดี การได้โสมนัส เช่นนี้ก่อนแต่นี้ได้ว่าอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงวัตตบท ได้แก่ ข้อที่ถือปฏิบัติประจำที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ @มี ๗ อย่าง คือ (๑) มาตาเปติภโร (เลี้ยงมารดาบิดา) (๒) กุเลเชฏฺฐาปจายี (เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล) @(๓) สณฺหวาโจ (พูดคำสุภาพอ่อนหวาน) (๔) อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี (ไม่พูดส่อเสียด @พูดสมานสามัคคี) (๕) ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินโย (ยินดีในการแจกทาน ปราศจากความตระหนี่) @(๖) สจฺจวาโจ (มีวาจาสัตย์) (๗) อโกธโน หรือ โกธาภิภู (ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้) (ที.ม.อ. ๓๖๓/๓๔๘) @ ดูคำอธิบายใน สกฺกวตฺถุ ธมฺมปทฏฺฐกถา ฉฏฺโฐ ภาโค สุขวคฺควณฺณนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ท้าวเธอกราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อครั้งเกิด สงครามระหว่างเทพกับอสูรถึงขั้นรบประชิด ในสงครามนั้นพวกเทพชนะ พวกอสูร พ่ายแพ้ เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามจึงมีความคิดว่า ‘บัดนี้พวกเทพในเทวโลกจะ บริโภคโอชา (รส) ๒ ประการ คือ ทิพยโอชาและอสูรโอชา’ การได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์นั้นเป็นทางมาแห่งทัณฑาวุธ เป็นทางมาแห่งศัสตราวุธ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็น ไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนการได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มี พระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งทัณฑาวุธ ไม่เป็นทางมาแห่งศัสตราวุธ เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน” [๓๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ทรงพิจารณาเห็น อำนาจประโยชน์๑- อะไร จึงทรงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้” ท้าวเธอกราบทูลว่า “ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงได้ประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๑ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์เกิดเป็นเทพดำรงอยู่ในที่นี้๒- ข้าพระองค์กลับได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๒ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์จุติจากกายทิพย์ ละอายุของอมนุษย์ เป็นผู้ไม่หลง จะเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลที่ข้าพระองค์มีใจยินดี’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ @เชิงอรรถ : @ อำนาจประโยชน์ หมายถึงเหตุ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐๑/๗๔) @ ในที่นี้ หมายถึงในถ้ำอินทสาละ (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๓ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์นั้นยินดีในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาไม่ลุ่มหลง ข้าพระองค์มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่โดยชอบธรรม๑-’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๔ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ประพฤติโดยชอบธรรมก็จักมีสัมโพธิ๒- ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึง๓- อยู่ นั่นแหละจะเป็นที่สุดของข้าพระองค์๔-’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๕ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์จุติจากกายมนุษย์ ละอายุของมนุษย์แล้ว จักเกิดเป็นเทพอีก ข้าพระองค์จะเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๖ นี้แลว่า ‘เทพเหล่านั้นชั้นอกนิฏฐภพ เป็นผู้ประณีตกว่า เป็นผู้มียศ @เชิงอรรถ : @ โดยชอบธรรม หมายถึงโดยสมควรแก่ความเป็นพระอริยสาวก (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๑๔๔) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงสกทาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๖๙/๓๕๕) @ จะรู้ทั่วถึง หมายถึงปรารถนาจะบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) @ นั่นแหละจะเป็นที่สุดของข้าพระองค์ หมายถึงไม่มีการเกิดในมนุษยโลกอีกต่อไป (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ในภพสุดท้ายที่ดำเนินไปอยู่ อกนิฏฐภพนั้นจะเป็นที่อยู่ของข้าพระองค์’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการนี้แล จึงประกาศการได้ ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ [๓๗๐] ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด มีความสงสัยเคลือบแคลง เที่ยวแสวงหาพระตถาคตอยู่สิ้นกาลนาน ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณะ ที่เข้าใจว่าเป็นผู้อยู่เงียบสงบ สำคัญว่า ‘เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า’ ท่านเหล่านั้นเมื่อถูกถามว่า ความสำเร็จเป็นอย่างไร ความไม่สำเร็จเป็นอย่างไร ก็ไม่สามารถตอบในเรื่องมรรคและปฏิปทาได้ เมื่อท่านเหล่านั้นรู้ว่า ข้าพระองค์เป็นท้าวสักกะมาจากเทวโลก ก็พากันถามข้าพระองค์ว่า ‘ท่านทำกรรมอะไรจึงถึงฐานะนี้เล่า’ ข้าพระองค์จึงแสดงธรรมแก่ท่านเหล่านั้น ตามที่ได้ฟังมาในหมู่ชน ท่านเหล่านั้นมีใจยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า พวกเราได้เห็นท้าววาสวะแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

เมื่อข้าพระองค์นั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามความสงสัยแล้ว ข้าพระองค์นั้นหมดความหวาดกลัว ในวันนี้ ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ผู้ทรงกำจัดลูกศรคือตัณหาได้ ไม่มีบุคคลเปรียบเทียบได้ ทรงเป็นพระมหาวีระ ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์กับพวกเทพ กระทำความนอบน้อมอันใดแก่พระพรหม ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์ จักถวายความนอบน้อมอันนั้นแด่พระองค์ ขอพระวโรกาสทำการนอบน้อมแด่พระองค์ พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นที่ตรัสรู้ ทรงเป็นพระศาสดาที่ยอดเยี่ยม ไม่มีบุคคลใดทั้งในโลกและเทวโลก มาเปรียบเทียบกับพระองค์ได้” [๓๗๑] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตร มาตรัสว่า “พ่อปัญจสิขะ เธอมีคุณมากแก่เรา ที่ทำให้พระผู้มีพระภาคทรงพอ พระทัยก่อน เธอทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยก่อนแล้ว ภายหลัง พวกเราจึงได้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งของบิดา เธอจะเป็นเจ้าแห่งคนธรรพ์ เราจะยกนางภัททาสุริยวัจฉสาให้เธอ เพราะว่านางเป็น ผู้ที่เธอปรารถนาอย่างยิ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ท้าวสักกะจอมเทพได้ธรรมจักษุ

ท้าวสักกะจอมเทพได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงใช้พระหัตถ์ตบปฐพี ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว ธรรมจักษุอันปราศจาก ธุลีคือกิเลสปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพและแก่เทวดาอื่นอีก ๘๐,๐๐๐ องค์ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับ ไปเป็นธรรมดา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพอัญเชิญมาทูล ถามแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น เวยยากรณภาษิตนี้จึงมีชื่อว่า “สักกปัญหา”
สักกปัญหสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๗๓-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=5727&Z=6256                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=247&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=7978              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=247&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=7978                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/10i247-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.21.2x.than.html https://suttacentral.net/dn21/en/sujato https://suttacentral.net/dn21/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :