ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เทวสภา

๖. มหาโควินทสูตร
ว่าด้วยมหาโควินทพราหมณ์
[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร เมื่อราตรีผ่านไป๑- มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกราบทูลข้อความที่ได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพวกเทพชั้นดาวดึงส์ แด่พระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เชิญบอกเราเถิด ปัญจสิขะ”
เทวสภา๒-
[๒๙๔] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ หลายวันมาแล้ว ในคืนเพ็ญวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันปวารณา พวกเทพชั้น ดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มีเทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ ท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือ ๑. ทิศตะวันออกมีท้าวธตรฐมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไป ทางทิศตะวันตก มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า ๒. ทิศใต้มีท้าววิรุฬหกมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทาง ทิศเหนือ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า ๓. ทิศตะวันตกมีท้าววิรูปักษ์มหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไป ทางทิศตะวันออก มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า ๔. ทิศเหนือมีท้าวเวสวัณมหาราช ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทาง ทิศใต้ มีพวกเทพอยู่เบื้องหน้า @เชิงอรรถ : @ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงปฐมยาม คือยามที่หนึ่งผ่านไป (ในคืนหนึ่งแบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง @เรียก ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ตามลำดับ) (ที.ม.อ. ๒๙๓/๒๕๙) @ ดูเทียบข้อ ๒๘๒ หน้า ๒๑๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เทวสภา

เมื่อครั้งที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นนั่งประชุมกันในสุธัมมาเทวสภา มีพวก เทพบริษัทมากมายนั่งอยู่โดยรอบ มีท้าวจาตุมหาราชประทับอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้เป็น ธรรมเนียมในการนั่งของท้าวจาตุมหาราช ข้างหลังถัดออกมาเป็นที่นั่งของข้าพระองค์ ทั้งหลาย เทพเหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคแล้ว เดี๋ยวนี้เกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ นัยว่า ด้วยเหตุนั้น พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพ เจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง๑-’ [๒๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความ เลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ จึงทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่งมา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวก ของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า เพราะเหตุนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัส สุดจะประมาณได้ กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย หมู่เทพ เจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง’ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๘๒ หน้า ๒๑๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ
[๒๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบ ความเลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ จึงรับสั่งเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านปรารถนาจะฟังพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไหม’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กราบทูลว่า ‘พวก ข้าพระองค์ปรารถนาจะฟังพระคุณตามความเป็นจริงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระเจ้าข้า’ ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรง ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น)นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะ พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควร น้อมเข้ามาอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

สิ่งไม่ควรเสพ’ ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้เป็นสิ่งดำ สิ่งขาวและสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงบัญญัติธรรมที่เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งมีโทษ เป็นสิ่งไม่มีโทษ เป็นสิ่งควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว และสิ่งมีส่วน เปรียบอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน น้ำจากแม่น้ำคงคากับน้ำจากแม่น้ำยมุนา ย่อมกลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย องค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้อง ปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลายผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็น พระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย องค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจาก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมี คำสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

พระกระยาหารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระ ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยาหาร อย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้ เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำ อย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำอย่างนั้น ทรงมีปกติ ทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น๑- เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจาก ความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไป ตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณ แม้เช่นนี้ ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้น ความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัยอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น’ [๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตาม ความเป็นจริง ๘ ประการนี้ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ นัยว่า เพราะการประกาศนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ครั้นสดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัส สุดจะประมาณได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในจำนวนเทพเหล่านั้น เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๔ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและ @เชิงอรรถ : @ คำนี้แปลมาจากคำบาลีว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที หมายถึงมีปกติตรัสอย่างที่ทรงทำ @และทรงทำอย่างที่ตรัส (ที.ม.อ. ๒๙๖/๒๖๙) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๓/๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

การแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ จงยกไว้ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๓ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาคเถิดหนอ(เพราะ)การเสด็จอุบัติขึ้น และการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ จงยกไว้ก่อนเถิด ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๒ พระองค์ และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและ การแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ [๒๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ฐานะ๑- ไม่ใช่โอกาส ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะเสด็จ อุบัติขึ้นในโลกธาตุเดียวกัน๒- ไม่ก่อนไม่หลัง (พร้อมกัน) ฐานะอย่างนี้มีไม่ได้เลย ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีโรคาพาธน้อย ดำรงอยู่ยิ่งยืนนานเถิดหนอ (เพราะ) การที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงดำรงอยู่ ยิ่งยืนนานจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล แม้ท้าวจาตุมหาราชได้รับคำบอกเล่าเรื่องที่ เป็นเหตุให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ต้องมานั่งประชุมคิดพิจารณากันในสุธัมมาเทวสภาแล้ว @เชิงอรรถ : @ ไม่ใช่ฐานะ หมายถึงเหตุการณ์ที่มีไม่ได้หรือเป็นไปไม่ได้ (ที.ม.อ. ๒๙๘/๒๗๑) @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๒๙/๑๑๕, องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๒๗๗/๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เรื่องสนังกุมารพรหม

ก็ยังดำเนินการในเรื่องนั้นอยู่ ทั้งได้รับคำแนะนำที่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตามพร่ำสอน เฉพาะแล้ว ก็ทรงดำเนินการในเรื่องนั้นอยู่ และต่างยังคงประทับยืนอยู่ ณ ที่ประทับ ของตนๆ ไม่ยอมจากไป ท้าวจาตุมหาราชเหล่านั้น ได้รับคำบอกแล้ว ทั้งได้รับคำแนะนำแล้ว จึงมีพระทัยผ่องใส ประทับยืนสงบอยู่ ณ ที่ประทับของตนๆ [๒๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ได้เกิดแสงสว่างเจิดจ้าขึ้นทางทิศเหนือ ปรากฏโอภาสเกินเทวานุภาพของเทพทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียก พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มีนิมิตที่สังเกตได้ (คือ) แสงสว่าง เกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้น พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะการที่แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาสปรากฏขึ้นนี้ จัดเป็นบุพนิมิตแห่งการปรากฏของพระพรหม’ เมื่อมีนิมิตที่สังเกตได้ พระพรหมก็จะปรากฏองค์ขึ้น เพราะโอภาสอันเจิดจ้ายิ่ง เป็นนิมิตแห่งพระพรหม
เรื่องสนังกุมารพรหม๑-
[๓๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งอยู่บน อาสนะของตนๆ กล่าวว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึง จะไป’ แม้ท้าวจาตุมหาราชประทับนั่งอยู่บนที่ประทับของตนๆ ก็กล่าวว่า ‘พวกเรา จักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึงจะไป’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์สดับเรื่องนี้ แล้วเข้าฌานสงบอยู่ด้วยคิดว่า ‘พวกเราจักรู้โอภาสนั้น เมื่อรู้ชัดผลที่ปรากฏแล้วจึง จะไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบปรากฏขึ้น เพราะรูปร่างปกติของพรหมไม่อาจ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๒๘๔ หน้า ๒๑๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เรื่องสนังกุมารพรหม

ปรากฏในคลองจักษุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ร่างกายที่เป็น ทองคำ ย่อมงดงามเกินร่างกายมนุษย์ ฉันใด เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวก เทพชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นด้วยวรรณะและยศ ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อสนังกุมารพรหมปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในเทพบริษัทนั้น เทพบางองค์ไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่เชิญด้วยอาสนะ ทั้งหมดพากันนั่งขัดสมาธิ ประนมมือนิ่งอยู่ด้วยคิดว่า ‘บัดนี้ สนังกุมารพรหมจะประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพ ที่พระองค์ปรารถนา’ สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นได้ ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ผู้กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เพิ่งจะได้ครองราชย์ ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันใด สนังกุมารพรหมประทับนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ได้ความยินดี อย่างยิ่ง ได้ความโสมนัสอย่างยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน จากนั้น เมื่อสนังกุมารพรหม ทรงทราบความเลื่อมใสของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็ทรงหายตัวแล้วอนุโมทนาด้วยคาถา เหล่านี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นประธาน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม เมื่อเห็นเทพเหล่าใหม่ผู้มีวรรณะและยศ ผู้เคยประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ซึ่งมา ณ ที่นี้ (ด้วย) ก็พากันบันเทิงใจนัก เทพเหล่านั้นเป็นสาวก ของพระผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ทั้งหมดเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ รุ่งเรืองเกินเทพเหล่าอื่นในที่นี้ ด้วยวรรณะ ยศ และอายุ พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีพระอินทร์เป็นประธาน ครั้นเห็นเหตุนี้แล้วพากันเพลิดเพลิน ถวายนมัสการพระตถาคตและความดีของพระธรรม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

เสียงของสนังกุมารพรหม
[๓๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้ ขณะที่ สนังกุมารพรหมตรัสเนื้อความนี้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ (๑) แจ่มใส (๒) ชัดเจน (๓) นุ่มนวล (๔) ชวนฟัง (๕) กลมกล่อม (๖) ไม่พร่า (๗) ลึกซึ้ง (๘) กังวาน สนังกุมารพรหมเปล่งเสียงให้รู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น เสียงของ สนังกุมารพรหมนั้นไม่ได้ดังออกไปภายนอกบริษัท ผู้มีเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้เรียกว่า ‘มีเสียงเหมือนเสียงพรหม’’ ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ทูลสนังกุมารพรหมดังนี้ว่า ‘ขอโอกาสเถิด ท่านท้าวมหาพรหม พวกเราทราบเนื้อความนี้แล้วจึงเบิกบานใจ อนึ่ง ท้าวสักกะ จอมเทพได้ตรัสพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคไว้ พวก เราทราบแล้วก็เบิกบานใจ’
พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ๑-
[๓๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมได้ตรัสกับท้าวสักกะ จอมเทพดังนี้ว่า ‘ขอโอกาสเถิด ท่านจอมเทพ เราก็ควรได้ฟังพระคุณตามความ เป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นบ้าง’ ท้าวสักกะจอมเทพทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว ทรงประกาศพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการแก่สนังกุมารพรหมว่า ‘ท้าวมหาพรหมผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร’’ ๑. ตราบเท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรง ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๒๙๖ หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

๒. พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะ พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เราไม่เคยเห็น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงแสดงธรรมที่ควร น้อมเข้ามาอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๓. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่า ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’ ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’ ‘นี้เป็น สิ่งไม่ควรเสพ’ ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้เป็นสิ่งดำ เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่งเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงบัญญัติธรรมเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่มีโทษ เป็นสิ่งไม่มีโทษ เป็นสิ่งควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดำ เป็นสิ่งขาว และเป็นสิ่งไม่มีสิ่งเปรียบอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ๔. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ ย่อมเหมาะสมกัน เปรียบเหมือนน้ำจากแม่น้ำคงคากับน้ำจาก แม่น้ำยมุนาย่อมกลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติ ที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะ สมกัน ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพาน อย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจาก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

พระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ

๕. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้อง ปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลายผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็น พระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย องค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจาก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๖. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมี คำสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวยพระ กระยาหารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระศาสดา ผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยาหารอย่าง ปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ๗. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำ อย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำอย่างนั้น ทรงมี ปกติทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ๘. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจาก ความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์ อันเป็น ไปตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์ คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้นความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัย อย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น(ใครอื่น) นอกจาก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เรื่องโควินทพราหมณ์

[๓๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตาม ความเป็นจริง ๘ ประการนี้ของพระผู้มีพระภาคแก่สนังกุมารพรหมแล้ว นัยว่า เพราะการประกาศนั้น สนังกุมารพรหมครั้นทรงสดับพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีพระทัยยินดี เบิกบาน เกิดปีติและโสมนัส จากนั้น สนังกุมารพรหมทรงเนรมิตอัตภาพให้หยาบเป็นกุมารรูปเช่นกับ ปัญจสิขะ คันธรรพบุตร ปรากฏแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ แล้วเหาะขึ้นบนอากาศ ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศ บนที่ว่างกลางอากาศเหมือนบุรุษมีกำลังนั่งขัดสมาธิ บนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว หรือบนพื้นที่ราบเรียบเสมอกันฉะนั้น แล้วรับสั่งเรียก พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า
เรื่องโควินทพราหมณ์
[๓๐๔] ‘เทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นทรงเป็นผู้มีปัญญามากมานานเพียงไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า ทิสัมบดี พราหมณ์ชื่อว่าโควินทะ๑- เป็นปุโรหิตของพระเจ้าทิสัมบดี พระราชกุมาร พระนามว่าเรณุเป็นราชบุตรของพระเจ้าทิสัมบดี มาณพชื่อว่าโชติปาละเป็นบุตรของ โควินทพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านี้คือ พระราชบุตรเรณุ โชติปาลมาณพ และกษัตริย์อีก ๖ พระองค์รวมเป็น ๘ คน ได้เป็นสหายกัน ครั้นเมื่อวันคืนผ่านไป โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพ ครั้นโควินทพราหมณ์ดับชีพแล้ว พระเจ้าทิสัมบดีทรงเพ้อ รำพันว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โควินทพราหมณ์ได้ดับชีพเสียในเวลาที่เรามอบ ราชกิจทั้งปวงไว้แล้ว (เรา) เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีตรัสอย่างนั้น พระราชบุตรเรณุ กราบทูลพระเจ้าทิสัมบดีดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อโควินทพราหมณ์ ได้ดับชีพ ขอพระองค์อย่าทรงเพ้อรำพันให้มากไปเลย ยังมีโชติปาลมาณพ บุตรของ โควินทพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดกว่าบิดา และสามารถเล็งเห็นอรรถคดีได้ดีกว่าบิดา @เชิงอรรถ : @ โควินทะ ไม่ใช่ชื่อตัว เป็นชื่อตำแหน่ง หรือฐานันดรศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งปุโรหิต เช่นเดียวกับชาณุสโสณิ @(ที.ม.อ. ๓๐๔/๒๗๓) ดู ม.มู.อ. ๑/๓๔/๑๑๙ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เรื่องมหาโควินทะ

ของเขาเสียอีกยัง เขาสามารถถวายคำปรึกษาอรรถคดีอย่างที่บิดาของเขาได้ถวายคำ ปรึกษา’ พระเจ้าทิสัมบดีตรัสถามว่า ‘อย่างนั้นหรือ ลูก’ พระราชบุตรเรณุทูลตอบว่า ‘อย่างนั้น พระเจ้าข้า’
เรื่องมหาโควินทะ
[๓๐๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งเรียกราชบุรุษ คนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มานี่พ่อหนุ่ม เธอจงเข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกกับ โชติปาลมาณพอย่างนี้ว่า ‘ขอให้โชติปาลมาณพมีความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดี รับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระราชประสงค์จะพบท่าน’ ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่ บอกเขาดังนี้ว่า ‘ขอให้ท่านโชติปาลมาณพมีความสุข ความเจริญ พระเจ้าทิสัมบดี รับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดีมีพระราชประสงค์จะพบท่าน’ โชติปาลมาณพรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดีถึงที่ประทับ ได้กราบทูล สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ทรงระลึกถึงกัน แล้วจึงนั่ง ณ ที่ สมควร พระเจ้าทิสัมบดีได้ตรัสกับโชติปาลมาณพดังนี้ว่า ‘ท่านโชติปาลมาณพ จงให้คำปรึกษาเราเถิด อย่าปฏิเสธการให้คำปรึกษาเราเลย เราจะแต่งตั้งท่านให้ ดำรงตำแหน่งแทนบิดา จะทำพิธีอภิเษกไว้ในตำแหน่งโควินทพราหมณ’ โชติปาลมาณพ ทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว ลำดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดีทรงประกอบพระราชพิธีอภิเษกโชติปาลมาณพไว้ ในตำแหน่งโควินทะ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนบิดา โชติปาลมาณพผู้ได้รับอภิเษกแต่งตั้งในตำแหน่งแทนบิดา ได้ถวายคำปรึกษา อรรถคดีที่บิดาเคยถวายคำปรึกษา ถวายคำปรึกษาอรรถคดีที่บิดาไม่เคยถวายคำ ปรึกษา จัดแจงการงานที่บิดาเคยจัดแจง จัดแจงการงานที่บิดาไม่เคยจัดแจง ชาวบ้านจึงเรียกโชติปาลมาณพว่า ‘ท่านโควินทพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านโควินท- พราหมณ์ผู้เจริญ’ เพราะเหตุนี้แหละ โชติปาลมาณพจึงเกิดมีสมญาว่า ‘โควินทะ มหาโควินทะ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การแบ่งราชสมบัติ

การแบ่งราชสมบัติ
[๓๐๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าเฝ้า กษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นดังนี้ว่า ‘ขอเดชะฝ่าพระบาท พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไป โดยลำดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการจะพึงอภิเษก พระราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็นไป ได้แน่นอน ขอท่านผู้เจริญเสด็จมาเถิด จงพากันไปเข้าเฝ้าพระราชบุตรเรณุถึงที่ ประทับแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็นพระสหายที่รัก ที่ถูกพระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อท่าน เรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ จะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้นเป็น ไปได้แน่นอน ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้พวกหม่อมฉันบ้าง’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคำของมหาโควินทพราหมณ์แล้วเข้าไปเฝ้า ราชบุตรเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘พวกหม่อมฉันเป็นสหายที่รัก ที่ถูก พระทัย ที่โปรดปรานของท่านเรณุ เมื่อท่านเรณุเป็นสุข พวกหม่อมฉันก็เป็นสุขด้วย เมื่อท่านเรณุเป็นทุกข์ พวกหม่อมฉันก็เป็นทุกข์ด้วย พระเจ้าทิสัมบดีทรงชรา ทรงแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับ ใครจะรู้(ชะตา)ชีวิต ข้อที่พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ จะพึงอภิเษกท่านเรณุขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วนั้น เป็นไปได้แน่นอน ถ้าท่านเรณุได้ครองราชย์ ขอจงทรงแบ่งราชสมบัติให้พวกหม่อมฉัน บ้าง’ พระราชบุตรเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของเรา ใครอื่นเล่าจะพึงมีความสุขนอกจากท่านทั้งหลาย ถ้าหม่อมฉันได้ครองราชย์ก็จะ แบ่งราชสมบัติให้ท่านทั้งหลาย’ [๓๐๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมาครั้นวันคืนผ่านไป พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคต เมื่อท้าวเธอสวรรคต อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการได้อภิเษกราชบุตรเรณุขึ้นเป็นพระเจ้า แผ่นดิน ราชบุตรเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การแบ่งราชสมบัติ

ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ขอเดชะ พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว พระราชบุตรเรณุได้รับ อภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรออยู่ด้วย กามคุณ ๕ ก็ใครเล่าจะรู้ว่ากามารมณ์เป็นเหตุให้หลงมัวเมา ขอพระองค์เสด็จ มาเถิด ขอจงไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘พระเจ้า ทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่านเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังทรงระลึกถึง พระดำรัสนั้นได้อยู่หรือพระเจ้าข้า’ [๓๐๘] กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นทรงรับคำของท่านมหาโควินทพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้ว ท่านเรณุได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดำรัสนั้นได้อยู่หรือ พระเจ้าข้า’ พระเจ้าเรณุตรัสตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เรายังระลึกถึงคำนั้นได้อยู่ ใครหนอจะ สามารถแบ่งมหาปฐพีนี้ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้า ของเกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ กราบทูลว่า ‘จะมีใครอื่นอีกเล่าที่สามารถแบ่งได้ นอกจากมหาโควินทพราหมณ์ พระเจ้าข้า’ ลำดับนั้น พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด ท่าน ผู้เจริญ จงเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘พระเจ้าเรณุรับสั่ง เรียกหาท่าน’ ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่ บอกว่า ‘พระเจ้าเรณุรับสั่งหาท่าน ขอรับ’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์รับคำแล้ว ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้ทูล สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ให้ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าเรณุตรัสกับท่านมหาโควินทพราหมณ์ดังนี้ว่า ‘มาเถิด ท่านโควินทะ จงแบ่งมหาปฐพีนี้ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของ เกวียน ให้เป็นส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การแบ่งราชสมบัติ

ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว แบ่งมหาปฐพีนี้ ซึ่งทางทิศเหนือผายออกและทางทิศใต้สอบเข้าเหมือนส่วนหน้าของเกวียน ให้เป็น ส่วนแบ่งอย่างดี ๗ ส่วนเท่าๆ กัน สถาปนารัฐ(อาณาจักร)ทั้งหมดให้มีลักษณะ เหมือนส่วนหน้าของเกวียน ทราบว่าในเนื้อที่เหล่านั้น ชนบท(มหาอาณาจักร)ของ พระเจ้าเรณุอยู่ตรงกลางรัฐทั้งหมดนั้น (คือ) [๓๐๙] ท่าน(มหา)โควินทะให้สร้างเมืองหลวงเหล่านี้ไว้ (คือ) ให้สร้างกรุงทันตปุระ เป็นเมืองหลวงของรัฐกาลิงคะ ให้สร้างกรุงโปตนะ เป็นเมืองหลวงของรัฐอัสสกะ ให้สร้างกรุงมาหิสสติ เป็นเมืองหลวงของรัฐอวันตี ให้สร้างกรุงโรรุกะ เป็นเมืองหลวงของรัฐโสวีรานะ ให้สร้างกรุงมิถิลา เป็นเมืองหลวงของรัฐวิเทหะ ให้สร้างกรุงจัมปา เป็นเมืองหลวงของรัฐอังคะ ให้สร้างกรุงพาราณสี เป็นเมืองหลวงของรัฐกาสี [๓๑๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้งนั้น กษัตริย์ ๖ พระองค์ มีพระทัยยินดี ด้วยลาภส่วนของพระองค์ มีพระดำริสำเร็จบริบูรณ์ว่า ‘สิ่งใดที่เราอยากได้ สิ่งใดที่ เราหวัง สิ่งใดที่เราประสงค์ สิ่งใดที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง สิ่งนั้นเราได้แล้ว’ พระเจ้าสัตตภู พระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าเวสสภู พระเจ้าภรตะ พระเจ้าเรณุ พระเจ้าธตรฐ ๒ พระองค์ รวมพระมหากษัตริย์ผู้ครองราชย์ ในเวลานั้นมี ๗ พระองค์๑-
ภาณวารที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @๑- ถ้าถือตามลำดับที่ระบุไว้จะได้ความดังนี้ @ที่ ชื่อเมืองหลวง รัฐ ผู้ครองรัฐ @๑. กรุงทันตปุระ กาลิงคะ พระเจ้าสัตตภู @๒. กรุงโปตนะ อัสสกะ พระเจ้าพรหมทัต @๓. กรุงมาหิสสติ อวันตี พระเจ้าเวสสภู @๔. กรุงโรรุกะ โสวีรานะ พระเจ้าภรตะ @๕. กรุงมิถิลา วิเทหะ พระเจ้าเรณุ @๖. กรุงจัมปา อังคะ พระเจ้าธตรฐ @๗. กรุงพาราณสี กาสี พระเจ้าธตรฐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์

กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์
[๓๑๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์เสด็จเข้าไป หาท่านโควินทพราหมณ์ถึงที่อยู่ ได้ตรัสดังนี้ว่า ‘ขอท่านโควินทพราหมณ์จงเป็นสหาย ที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพวกเราดังที่ท่านโควินทะเป็นสหายที่รัก ที่ชอบใจ ที่โปรดปรานของพระเจ้าเรณุ ขอจงให้คำปรึกษาพวกเรา อย่าปฏิเสธการให้คำปรึกษา พวกเราเลย’ มหาโควินทพราหมณ์ทูลรับสนองพระราชดำรัสของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ เหล่านั้นผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชกิจแด่กษัตราธิราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ ที่ตนต้องถวายคำปรึกษา และบอกมนตร์แก่ พราหมณมหาศาล ๗ คน และพราหมณ์นหาดก๑- ๗๐๐ คน [๓๑๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้นต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์มี กิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระ พรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ครั้งนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความดำริดังนี้ว่า ‘เรามีกิตติศัพท์อันงาม ขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่เราไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคย สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย เราได้สดับคำของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน๒- ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหม สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ทางที่ดี เราควรหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือน’ @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์นหาดก ในที่นี้หมายถึงพราหมณ์ที่สำเร็จการศึกษา และได้ผ่านพิธีอาบน้ำเสร็จแล้ว (พ้นจาก @อาศรมที่ ๑ คือพรหมจารีแล้วเข้าสู่อาศรมที่ ๒ คือคฤหัสถ์ ตามคติของพราหมณ์ (ที.ม.อ. ๓๑๑/๒๗๖) @ กรุณาฌาน หมายถึงฌานที่ประกอบด้วยวิหารธรรม ๔ ประการ อันบุคคลเจริญโดยมีกรุณาเป็นตัวนำ @(ที.ม.อ. ๓๑๗/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์

[๓๑๓] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมอง เห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ ข้าพระองค์ได้สดับคำนี้ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็น พระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได‘’ ข้าพระองค์ปรารถนาจะ หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่สัก ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ยกเว้นคนที่นำอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ พระเจ้าเรณุรับสั่งว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ [๓๑๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมอง เห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ แต่ข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ ข้าพระองค์ได้สดับคำนี้ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์ พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็น พระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ข้าพระองค์ปรารถนาจะ หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหา ข้าพระองค์ ยกเว้นคนที่นำอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ [๓๑๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหา พราหมณมหาศาล ๗ คน และพราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คนแล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินท- พราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

กิตติคุณของมหาโควินทพราหมณ์

พระพรหมได้’ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่เคยสนทนาปราศรัยกับ พระพรหมเลย แต่ข้าพเจ้าได้สดับคำนี้ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนใน ฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงสาธยายมนตร์ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร และจงบอกมนตร์แก่กันและกัน ข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพเจ้า ยกเว้นคนที่นำอาหารไปให้ คนเดียวเท่านั้น’ พวกพราหมณมหาศาลและพวกพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ [๓๑๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหา ภรรยาผู้มีฐานะเท่ากัน ๔๐ คน ถึงที่อยู่ได้กล่าวดังนี้ว่า ‘นางผู้เจริญ ฉันมีกิตติศัพท์ อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘มหาโควินทพราหมณ์ สามารถมองเห็นพระพรหมได้ สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้’ ฉันไม่เคยเห็นพระพรหม ทั้งไม่ เคยสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย แต่ฉันได้สดับคำนี้ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌาน ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับ พระพรหมได้’ ฉันปรารถนาจะหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาฉัน ยกเว้นคนที่นำอาหารไปให้คนเดียวเท่านั้น’ ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ [๓๑๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จากนั้น ท่านโควินทพราหมณ์จึงให้สร้าง สัณฐาคารหลังใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งเมืองแล้วหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ไม่มีใครๆ เข้าไปหา นอกจากคนนำอาหารไปให้ คนเดียวเท่านั้น ครั้นเวลาล่วงไป ๔ เดือนแล้ว ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การสนทนากับพระพรหม

ความระอาท้อแท้ว่า ‘เราได้สดับคำนี้ของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และ ผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘บุคคลผู้หลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนใน ฤดูฝน เขาจะเห็นพระพรหมได้ สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้ แต่เรายัง ไม่เห็นพระพรหม ทั้งไม่ได้สนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมเลย’
การสนทนากับพระพรหม
[๓๑๘] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานั้น สนังกุมารพรหมทราบความคิดคำนึง ของท่านมหาโควินทพราหมณ์ด้วยใจ ทรงหายไปจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะหน้า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ท่านมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า เพราะเห็นรูปที่ ไม่เคยเห็น ครั้นมหาโควินทพราหมณ์เกิดความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าแล้ว ได้กราบทูลสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร จึงมีวรรณะ ยศ และสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่านจึงขอถามว่า ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร’ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘เทพทั้งปวงรู้จักเราดีว่า เป็นกุมารตลอดกาลอยู่ในพรหมโลก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด โควินทะ’ ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า ‘ข้าพเจ้าถวายของมีค่าเหล่านี้ คือ อาสนะ น้ำดื่ม น้ำมันทาเท้า น้ำตาลเคี่ยว แด่พระพรหม ขอท่านผู้เจริญจงรับของมีค่าของข้าพเจ้าเถิด‘๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๓๒/๔๗๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การสนทนากับพระพรหม

สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘ท่านโควินทะ เรายอมรับของมีค่าของท่าน ที่ท่านพูดถึง เราให้โอกาสท่านแล้ว จงถามเรื่องใดๆ ก็ได้ที่ท่านปรารถนาจะถาม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อสุขในอนาคต’ [๓๑๙] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีความคิดดังนี้ว่า ‘สนังกุมารพรหมให้โอกาสแล้ว เราควรถามประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ใน อนาคตกับท่านอย่างไหนหนอ’ คิดต่อไปอีกว่า ‘เราเป็นผู้ฉลาดเรื่องประโยชน์ใน ปัจจุบัน แม้ชนเหล่าอื่นก็ถามประโยชน์ในปัจจุบันกับเรา ทางที่ดี เราควรถามถึง ประโยชน์ในอนาคตกับสนังกุมารพรหม’ จึงกราบทูลสนังกุมารพรหมด้วยพระคาถาว่า ‘ข้าพเจ้ามีความสงสัยจะขอถามท่านสนังกุมารพรหม ผู้ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่ผู้อื่นสงสัยว่า สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ศึกษาอยู่ในธรรมอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะได้’ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ‘พราหมณ์ ในหมู่มนุษย์ สัตว์ผู้ละความยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นผู้อยู่ผู้เดียว ผู้น้อมใจไปในกรุณา ผู้ไม่มีกลิ่นชั่วร้าย เว้นจากเมถุน สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะได้’ [๓๒๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘คำของท่าน ที่ว่า ‘ละความยึดถือว่าเป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ละทิ้ง กองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และละเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ คำของท่านที่ว่า ‘ละความยึดถือว่า เป็นของเรา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

การสนทนากับพระพรหม

คำของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลกนี้ อาศัยเสนาสนะอันสงัดคือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง’ คำของท่านที่ว่า ‘เป็นผู้อยู่ผู้เดียว’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้ คำของท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ‘บุคคลบางคนในโลก นี้มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ คำของ ท่านที่ว่า ‘ผู้น้อมใจไปในกรุณา’ ข้าพเจ้าเข้าใจดังว่ามานี้ อนึ่ง เมื่อท่านผู้เจริญ พูดถึงกลิ่นชั่วร้ายอยู่ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก(กลิ่นนั้น)’ มหาโควินทพราหมณ์ทูลถามด้วยคาถาว่า ‘ข้าแต่พรหม บรรดามนุษย์ พวกไหนมีกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกนั้น ขอท่านผู้เป็นปราชญ์ จงบอกมาในที่นี้เถิด อะไรร้อยรัด หมู่สัตว์จึงเหม็นเน่าคลุ้ง ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’ สนังกุมารพรหมตรัสตอบด้วยคาถาว่า ‘โกธะ (ความโกรธ) โมสวัชชะ (การพูดเท็จ) นิกติ (การโกง) โทพภะ (การประทุษร้ายมิตร) กทริยตา๑- (ความตระหนี่) อติมานะ (ความดูหมิ่น) อุสุยา (ความริษยา) อิจฉา (ความปรารถนา) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ปรเหฐนา (การเบียดเบียนผู้อื่น) โลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) @เชิงอรรถ : @ กทริยตา ในที่นี้หมายถึงความตระหนี่จัด (ที.ม.อ. ๓๒๐/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ

มทะ (ความมัวเมา) โมหะ (ความหลง) สัตว์ผู้ประกอบด้วยกิเลสเหล่านี้ จัดว่าเป็นผู้มีกลิ่นชั่วร้าย ต้องไปอบาย ปิดพรหมโลกแล้ว’ มหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘เมื่อท่านผู้เจริญตรัสบอกกลิ่นชั่วร้าย ข้าพเจ้าจึงรู้จัก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ สนังกุมารพรหมตรัสว่า ‘โควินทะ ขอท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’
ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ
[๓๒๑] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ผู้จะถวายคำปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ปรารถนาจะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหม ตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ (ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลด้วยคาถาว่า) ‘ข้าพระองค์ขอถวายบังคมลา พระเจ้าเรณุผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ขอพระองค์ทรงทราบพระราชกิจ ข้าพระองค์ไม่ยินดีในตำแหน่งปุโรหิต’ (พระเจ้าเรณุตรัสตอบด้วยคาถาว่า) ‘ถ้าท่านยังพร่องด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา เราจะเพิ่มให้เต็ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

ถวายบังคมลาพระเจ้าเรณุ

ผู้ใดเบียดเบียนท่าน เราผู้เป็นเจ้าแผ่นดินจะห้ามผู้นั้นเอง (ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลตอบว่า) ‘ข้าพระองค์ไม่พร่องด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา ไม่มีใครเบียดเบียนข้าพระองค์ แต่เพราะได้ฟังคำของผู้ไม่ใช่มนุษย์ ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีการอยู่ครองเรือน’ (พระเจ้าเรณุตรัสถามว่า) ‘ท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์มีวรรณะอย่างไร บอกอะไรซึ่งท่านฟังแล้ว ยอมทอดทิ้งทั้งเหย้าเรือนของพวกเรา ทั้งพวกเราและชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น’ (ท่านมหาโควินทพราหมณ์ทูลตอบว่า) ‘เมื่อข้าพระองค์อยู่เพียงลำพัง เมื่อก่อนต้องการจะเซ่นสรวงบูชา จึงสุมไฟให้ลุกโพลงด้วยใบหญ้าคา ทันใดนั้น สนังกุมารพรหมผู้เป็นพรหมตลอดกาล มาจากพรหมโลกปรากฏแก่ข้าพระองค์ พระพรหมตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ฟังคำตอบ ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการอยู่ครองเรือน’ (พระเจ้าเรณุตรัสถามว่า) ‘ท่านโควินทะ ข้าพเจ้าเชื่อคำที่ท่านบอก ท่านฟังคำของผู้ไม่ใช่มนุษย์แล้ว จะประพฤติเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์

เราจะประพฤติตามท่าน ท่านโควินทะเป็นครูของเรา พวกเราจักประพฤติให้บริสุทธิ์ ตามคำสั่งสอนของท่านโควินทะ เหมือนแก้วไพฑูรย์ไม่มีฝ้า ไร้ราคี งดงาม ฉะนั้น’ (พระเจ้าเรณุตรัสว่า) ‘ถ้าท่านโควินทะจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เราก็ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง ท่านมีคติใด เราก็จะมีคตินั้นด้วย’
ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์
[๓๒๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้า กษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอได้โปรดแสวงหา ปุโรหิตคนอื่นผู้จะถวายคำปรึกษาราชกิจแด่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ ปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่ว ร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงเลี่ยงไปด้านหนึ่ง ทรงคิดกันว่า ‘ธรรมดาพราหมณ์เหล่านี้มักอยากได้ทรัพย์ ทางที่ดี เราควรเกลี้ยกล่อมมหาโควินท- พราหมณ์ด้วยทรัพย์’ แล้วเสด็จเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ‘ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีทรัพย์สมบัติมากพอ เราจะขนมาให้ตามที่ท่าน ต้องการ’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ของ ข้าพระองค์นี้มีมากพอกับทรัพย์ของพระองค์ ข้าพระองค์จะทอดทิ้งทรัพย์ทั้งสิ้นออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหม ตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงเลี่ยงไปด้านหนึ่ง ทรงคิดกันว่า ‘ธรรมดา พราหมณ์เหล่านี้มักอยากได้สตรี ทางที่ดี เราควรเกลี้ยกล่อมมหาโควินทพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์

ด้วยสตรี’ แล้วเสด็จเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ‘ในราชอาณาจักร ทั้ง ๗ นี้ มีสตรีมากมาย เราจะนำสตรีมาให้ตามที่ท่านต้องการ’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘อย่าเลย พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มี ภรรยาฐานะเท่ากันถึง ๔๐ คน ข้าพระองค์จะทอดทิ้งภรรยาทุกๆ คน ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ [๓๒๓] กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าท่านโควินทะจะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกเราก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘หากพระองค์จะทรงละสิ่งที่น่าปรารถนา อันเป็นที่ข้องอยู่ของปุถุชน ขอจงปรารภความเพียร ทรงประกอบด้วยกำลังขันติ เจริญให้มั่นอยู่ ทางนี้เป็นทางตรง ไม่มีทางอื่นดีกว่า นี้เป็นพระสัทธรรมที่สัตบุรุษรักษาไว้ เพื่อไปเกิดในพรหมโลก’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านมหาโควินทะขอจงรอคอยสัก ๗ ปีเมื่อเวลาล่วง ๗ ปี พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๗ ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๗ ปี ก็ใครจะ รู้(ชะตา)ชีวิตได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำ กุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่น ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด ได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

ถวายบังคมลากษัตริย์ ๖ พระองค์

กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก ๖ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๕ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๔ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอย สัก ๓ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๒ ปี ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๑ ปี เมื่อเวลาล่วงไป ๑ ปี พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคติ นั้นด้วย’ ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๑ ปีนานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๑ ปี ก็ใครจะรู้ชีวิต ได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้าย ที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก ๗ เดือน เมื่อเวลาล่วง ๗ เดือน พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมี คติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’ ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๗ เดือน นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึง ๗ เดือน ก็ใครจะรู้ชีวิต ได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่น ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด ได้ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก ๖ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๕ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๔ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๓ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๒ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสัก ๑ เดือน ฯลฯ ขอจงรอคอยสักกึ่งเดือน เมื่อเวลาล่วงไปกึ่งเดือน พวกเราจะออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

บอกลาพราหมณมหาศาลเป็นต้น

ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา กึ่งเดือนนานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจรอคอยพระองค์อยู่ได้ถึงกึ่งเดือน ก็ใครจะรู้ ชีวิตได้เล่า บุคคลต้องไปปรโลก บัณฑิตจึงควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ข้าพระองค์ได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้าย ที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ ง่ายนัก ข้าพระองค์จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระเจ้าข้า’ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ตรัสว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ท่านโควินทะขอจงรอคอยสัก ๗ วัน พอให้พวกเราสั่งสอนเรื่องราชกิจกับบุตรและพี่ชายน้องชายของตนๆ เสียก่อน เมื่อ เวลาล่วงไป ๗ วัน พวกเราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเรา ก็จะมีคตินั้นด้วย’ ท่านโควินทพราหมณ์กราบทูลว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เวลา ๗ วัน ไม่นานเกินไป ข้าพระองค์จักรอคอยสัก ๗ วัน’
บอกลาพราหมณมหาศาลเป็นต้น
[๓๒๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหา พราหมณมหาศาล ๗ คน และพราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คน ถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า ‘บัดนี้ พวกท่านจงแสวงหาอาจารย์อื่นผู้จะสอนมนตร์แก่พวกท่าน เราปรารถนา จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เราได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก เราจะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต’ พวกพราหมณมหาศาลและพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ท่านโควินทะ อย่าออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเลย บรรพชามีศักดิ์น้อยและมีลาภน้อย ความเป็น พราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่และมีลาภมาก’ ท่านมหาโควินทพราหมณ์ตอบว่า ‘พวกท่าน อย่าพูดอย่างนี้ว่า ‘บรรพชามีศักดิ์น้อยและมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์ ใหญ่และมีลาภมาก’ ใครกันเล่าที่มีศักดิ์ใหญ่กว่าหรือมีลาภมากกว่าเรา เวลานี้เรา เป็นเหมือนพระราชาของพระราชาทั้งหลาย เป็นเหมือนพระพรหมของพวกพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

มหาโควินทพราหมณ์ออกบวช

เป็นเหมือนเทวดาของพวกคหบดี เราจะทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยว่าเราได้ฟังเรื่องกลิ่นชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัดได้ง่ายนัก เราจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ พวกพราหมณมหาศาลและพราหมณ์นหาดกกล่าวว่า ‘ถ้าท่านโควินทะจะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้พวกเราก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านมีคติใด พวกเราก็จะมีคตินั้นด้วย’
บอกลาภรรยา
[๓๒๕] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ต่อมา ท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไป หาภรรยาผู้มีฐานะเท่ากันทั้ง ๔๐ คนถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย น้องหญิงคนใดปรารถนาจะกลับไปยังตระกูลแห่งญาติของตนก็กลับได้ หรือจะหาสามี ใหม่ก็ได้ ฉันปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะว่าฉันได้ฟังเรื่องกลิ่น ชั่วร้ายที่พระพรหมตรัสบอก กลิ่นชั่วร้ายเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้อยู่ครองเรือนจะกำจัด ได้ง่ายนัก ฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ ภรรยาเหล่านั้นกล่าวว่า ‘ท่านเท่านั้นที่เป็นญาติของพวกดิฉันผู้ต้องการญาติ เป็นสามีของพวกดิฉันผู้ต้องการสามี ถ้าท่านจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พวกดิฉันก็จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย ท่านมีคติใด พวกดิฉันก็จะมีคติ นั้นด้วย’
มหาโควินทพราหมณ์ออกบวช
[๓๒๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเวลาล่วงไป ๗ วัน ท่านมหาโควินท- พราหมณ์โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อท่านบวชแล้ว ได้มีผู้โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตตามอีกจำนวนมาก ได้แก่ กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ พราหมณมหาศาล ๗ คน พราหมณ์นหาดก ๗๐๐ คน ภรรยาผู้มีฐานะ เท่ากันทั้ง ๔๐ คน กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดีและหญิงรับใช้อีกหลายพันคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ

ได้ทราบว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์มีบริษัทนั้นแวดล้อม จาริกไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานีทั้งหลาย เมื่อท่านเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมใด ก็เป็นเหมือน พระราชาของพระราชาทั้งหลาย เป็นเหมือนพระพรหมของพวกพราหมณ์ เป็น เหมือนเทวดาของพวกคหบดีในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น เวลานั้น ชาวบ้านผู้พลาดพลั้ง หรือลื่นหกล้มพากันพูดอย่างนี้ว่า ‘ขอนอบน้อมแด่ท่านมหาโควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๗ พระองค์’
เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ
[๓๒๗] มหาโควินทพราหมณ์มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก หมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยมุทิตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มหาโควินทพราหมณ์แสดงหนทางแห่งความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมใน พรหมโลกแก่เหล่าสาวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ

[๓๒๘] สมัยนั้น เหล่าสาวกของมหาโควินทพราหมณ์ผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด๑- หลังจากตายไป ไปเกิดในสุคติพรหมโลก ส่วนเหล่าสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด๒- หลังจากตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้ อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็น ผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช ผู้ที่ได้รับผลอย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด ได้เป็น หมู่คนธรรพ์ การบวชของกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จึงไม่เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ด้วยประการฉะนี้แล” [๓๒๙] ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงระลึกถึง เรื่องนั้นได้อยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปัญจสิขะ เรายังระลึกได้ สมัยนั้น เราเป็น มหาโควินทพราหมณ์ ได้แสดงทางแห่งความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมในพรหมโลกแก่ สาวกเหล่านั้น แต่พรหมจรรย์นั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อไปเกิด ในพรหมโลกเท่านั้น ส่วนพรหมจรรย์ของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พรหมจรรย์ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น คืออะไร @เชิงอรรถ : @ ผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด หมายถึงผู้ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๖ (ที.ม.อ. ๓๒๘/๒๘๕) @ ผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด หมายถึงผู้ไม่รู้สมาบัติแม้เพียงอย่างเดียว (ที.ม.อ. ๓๒๘/๒๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๖. มหาโควินทสูตร]

เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ปัญจสิขะ นี้แลคือพรหมจรรย์ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๓๓๐] ปัญจสิขะ เหล่าสาวกของเราผู้รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด ทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เหล่าสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด บางพวกเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก โลกนั้นอีก บางพวกเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บางพวกเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า การบวชของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมด จึงไม่ เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ด้วยประการฉะนี้แล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปัญจสิขะ คันธรรพบุตรมีใจยินดี ชื่นชม อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วหายไปจากที่นั้นเอง
มหาโควินทสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๒๗-๒๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=4871&Z=5539                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=209              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=209&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=6662              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=209&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=6662                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn19/en/sujato https://suttacentral.net/dn19/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :