ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

๒. ทุกวาร
ว่าด้วยหมวด ๒
[๓๒๒] อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติไม่เป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติ ของภิกษุผู้ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วย สัทธรรมมีอยู่ อาบัติไม่เกี่ยวเนื่องด้วยสัทธรรมมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของ ตนมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของผู้อื่นมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลคือ ตนเองมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลอื่นมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้อง อาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุ พูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอยู่บนแผ่นดินแล้วต้อง อยู่ในอากาศแล้วไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอยู่ ในอากาศแล้วต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุออกไปต้อง เข้าไป ไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุเข้าไปต้อง ออกไปไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อถือ เอาจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ถือเอาก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อสมาทานจึง ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่สมาทานก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อทำจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทำก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อให้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อ ไม่ให้ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อรับจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่รับก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะบริโภคมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภคมีอยู่ อาบัติที่ ภิกษุต้องในเวลากลางคืน ไม่ต้องในเวลากลางวันมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน ไม่ต้องในเวลากลางคืนมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้อง ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อตัดจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ตัด ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อปิดไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ปิดไว้ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อทรงไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทรงไว้ก็ต้องมีอยู่
ว่าด้วยวันอุโบสถ เป็นต้น
วันอุโบสถมี ๒ วัน คือ ๑. วันอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันอุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๒๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

วันปวารณามี ๒ วัน คือ ๑. วันปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ กรรมมี ๒ อย่าง คือ ๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม กรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ ๑. ญัตติทุติยกรรม ๒. ญัตติจตุตถกรรม วัตถุแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ ๑. วัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติกรรม วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ ๑. วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติจตุตถกรรม โทษแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ ๑. โทษแห่งอปโลกนกรรม ๒. โทษแห่งญัตติกรรม โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ ๑. โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. โทษแห่งญัตติจตุตถกรรม สมบัติแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ ๑. สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติกรรม สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ ๑. สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ ๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง ๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๒๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ ๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง ๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่
ว่าด้วยปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิกมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี สังฆาทิเสสมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี ถุลลัจจัยมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี ปาจิตตีย์มี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี ปาฏิเทสนียะมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี ทุกกฏมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี ทุพภาสิตมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี อาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง กองอาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยกรรม (๒) ด้วยการจับสลาก
ว่าด้วยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ ๑. ผู้มีกาลบกพร่อง ๒. ผู้มีอวัยวะบกพร่อง บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ ๑. ผู้มีวัตถุวิบัติ ๒. ผู้มีการกระทำเสียหาย บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ ๑. ผู้ไม่บริบูรณ์ ๒. ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่ขออุปสมบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๒๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

ไม่พึงอยู่อาศัยบุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้โง่เขลา ไม่พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้โง่เขลา ๒. ผู้ลัชชีแต่ขอ บุคคล ๒ จำพวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ ๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า บุคคล ๒ จำพวก ควรต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุ ๒. ภิกษุณี บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ ๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ ๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน
ว่าด้วยปฏิกโกสนา เป็นต้น
ปฏิกโกสนา(การกล่าวคัดค้าน)มี ๒ อย่าง คือ ๑. คัดค้านด้วยกาย ๒. คัดค้านด้วยวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

นิสสารณา(การขับออกจากหมู่)มี ๒ อย่าง คือ ๑. บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็นอัน ถูกขับออกดีแล้ว ๒. บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดี โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่)มี ๒ อย่าง คือ ๑. บุคคลที่ยังไม่รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น อันรับเข้าดี ๒. บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี ปฏิญญามี ๒ อย่าง คือ ๑. ปฏิญญาด้วยกาย ๒. ปฏิญญาด้วยวาจา การรับประเคนมี ๒ อย่าง คือ ๑. การรับประเคนด้วยกาย ๒. การรับประเคนด้วยสิ่งที่เนื่องด้วยกาย การห้ามมี ๒ อย่าง คือ ๑. การห้ามด้วยกาย ๒. การห้ามด้วยวาจา การทำลายมี ๒ อย่าง คือ ๑. การทำลายสิกขา ๒. การทำลายโภคะ๑- การโจทมี ๒ อย่าง คือ ๑. การโจทด้วยกาย ๒. การโจทด้วยวาจา
ว่าด้วยปลิโพธ เป็นต้น
กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง คือ ๑. อาวาสปลิโพธ ๒. จีวรปลิโพธ @เชิงอรรถ : @ การทำลายสิกขา หมายถึงการไม่ศึกษาสิกขา ๓ @การทำลายโภคะ หมายถึงการใช้สอยของสงฆ์หรือของส่วนบุคคลเสียหาย (วิ.อ. ๓/๓๒๒/๔๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ ๑. อาวาสอปลิโพธ ๒. จีวรอปลิโพธ จีวรมี ๒ อย่าง คือ ๑. คหบดีจีวร ๒. บังสุกุลจีวร บาตรมี ๒ อย่าง คือ ๑. บาตรเหล็ก ๒. บาตรดิน เชิงบาตรมี ๒ อย่าง คือ ๑. เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๒. เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว การอธิษฐานบาตรมี ๒ อย่าง คือ ๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา การอธิษฐานจีวรมี ๒ อย่าง คือ ๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา วิกัปมี ๒ อย่าง คือ ๑. วิกัปต่อหน้า ๒. วิกัปลับหลัง วินัยมี ๒ อย่าง คือ ๑. วินัยของภิกษุ ๒. วินัยของภิกษุณี เนื้อหาที่ปรากฏในวินัยมี ๒ อย่าง คือ ๑. พระบัญญัติ ๒. อนุโลมบัญญัติ วินัยมีความขัดเกลา ๒ อย่าง คือ ๑. กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๒. ความทำพอประมาณในสิ่งที่ควร
ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา ปริวาสมี ๒ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส ปริวาสแม้อีก ๒ อย่าง คือ ๑. สุทธันตปริวาส ๒. สโมธานปริวาส มานัตมี ๒ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต มานัตแม้อีก ๒ อย่าง คือ ๑. ปักขมานัต ๒. สโมธานมานัต รัตติเฉทของบุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๒. ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๒. ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม เกลือมี ๒ ชนิด คือ ๑. เกลือเกิดจากธรรมชาติ ๒. เกลือเกิดจากน้ำด่าง เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ ๑. เกลือสมุทร ๒. เกลือดำ เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ ๑. เกลือสินเธาว์ ๒. เกลือดินโปร่ง เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ ๑. เกลือโรมกะ ๒. เกลือปักขัลลกะ การบริโภคมี ๒ อย่าง คือ ๑. การบริโภคภายใน ๒. การบริโภคภายนอก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

คำด่ามี ๒ อย่าง คือ ๑. คำด่าหยาบ ๒. คำด่าสุภาพ คำส่อเสียดมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ๑. ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน ๒. ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน การฉันคณโภชนะมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ๑. เพราะทายกนิมนต์ ๒. เพราะภิกษุออกปากขอเขา วันเข้าพรรษามี ๒ วัน คือ ๑. วันเข้าพรรษาต้น ๒. วันเข้าพรรษาหลัง งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๒ อย่าง งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๒ อย่าง
ว่าด้วยบุคคลโง่เขลาและบัณฑิต เป็นต้น
บุคคลโง่เขลามี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้ไม่รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๒. ทุกวาร

บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่า ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัยเป็นสิ่งมิใช่วินัย
ว่าด้วยอาสวะ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๒. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๒. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าต้องอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ ๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

หัวข้อประจำวาร

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
ทุกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่เป็นสัญญา อาบัติของผู้ได้สมาบัติ อาบัติที่เกี่ยวด้วยสัทธรรม เกี่ยวด้วยบริขาร เกี่ยวด้วยบุคคล อาบัติที่ต้องเพราะเรื่องจริง เพราะแผ่นดิน เพราะการออกไป เพราะการถือเอา เพราะการสมาทาน เพราะการทำ เพราะการให้ เพราะการรับ เพราะการบริโภค อาบัติที่ต้องในกลางคืน ที่ต้องเพราะอรุณขึ้น ที่ต้องเพราะการตัด ที่ต้องเพราะการปกปิด ที่ต้องเพราะการทรงไว้ อุโบสถ ปวารณา กรรม กรรมอีกอย่าง วัตถุ วัตถุอีกอย่าง โทษ โทษอีกอย่าง สมบัติ ๒ หมวด นานาสังวาส สมานสังวาส ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต อาบัติ ๗ กองอาบัติ ๗ สงฆ์แตกกัน อุปสมบท อุปสมบทอีกสอง ไม่อาศัยอยู่ ไม่ให้นิสัย อภัพบุคคล ภัพบุคคล จงใจ มีโทษ คัดค้าน ขับออกจากหมู่ เรียกเข้าหมู่ ปฏิญญา รับ ห้าม ทำลาย การโจท กฐินปลิโพธ ๒ อย่าง จีวร บาตร เชิงบาตร อธิษฐาน ๒ อย่าง วิกัป วินัย เนื้อหาที่ปรากฏในวินัย ความขัดเกลา การต้องและการออกจากอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๓๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๓. ติกวาร

ปริวาส ๒ อย่าง มานัต ๒ อย่าง รัตติเฉท เอื้อเฟื้อ เกลือ ๒ ชนิด เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค คำด่า คำส่อเสียด คณโภชนะ วันจำพรรษา การงดปาติโมกข์ การรับภาระ สิ่งที่สมควร อนาบัติ อธรรม วินัย อาสวะ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๒๗-๔๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=7464&Z=7627                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=943              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=943&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10022              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=943&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10022                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:7.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.2.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :