ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๔. สัญญาปนียาทิ
ว่าด้วยการชี้แจง เป็นต้น
[๓๘๗] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ฯลฯ เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ภิกษุชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการพิจารณา
[๓๘๘] ถาม : อย่างไรชื่อว่า พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๔. สัญญาปนียาทิ

เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ ควรพิจารณา ภิกษุชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการเพ่งเล็ง
[๓๘๙] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ฯลฯ เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควร เพ่งเล็ง ภิกษุชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการเลื่อมใส
[๓๙๐] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ฯลฯ เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร เลื่อมใส ภิกษุชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๕. ปรปักขาทิอวชานนะ

๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
ว่าด้วยการดูหมิ่นฝ่ายอื่น เป็นต้น
[๓๙๑] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้พวก ได้บริวารแล้ว มีพวก มีญาติ จึงคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพวก ไม่มีญาติ ดังนี้ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย
[๓๙๒] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้น้อย ย่อมแสดง อธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า
[๓๙๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระรู้ราตรี บวชนาน ดูหมิ่นภิกษุ นั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้สิ่งที่ทำไปแล้ว ถ้อยคำ ของผู้นี้จักเป็นถ้อยคำที่ทำไม่ได้ ดังนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่ว หยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ

ว่าด้วยไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
[๓๙๔] คำว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นั้น คือ ไม่นำคำพูดที่ไม่เข้า ประเด็นมา คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย นั้น คือ ไม่พึง ทำประโยชน์ที่สงฆ์ประชุมกันแล้วให้เสื่อมไปจากพระธรรม จากพระวินัย
ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[๓๙๕] คำว่า ด้วยธรรมใด คือ ด้วยเรื่องจริง คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทแล้วให้จำเลยให้การ คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา อธิกรณ์นั้น ย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้ อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น
๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๙๖] อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดด้วยสีลวิบัติ ท่านงดด้วยอาจารวิบัติ หรือท่านงดด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยสีลวิบัติ งดด้วยอาจารวิบัติ หรืองด ด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์นั้น พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็สีลวิบัติเป็นไฉน อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ

ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่ ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ ได้เห็น แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่ได้ยิน ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน ท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์หรือ ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง ที่ได้ยิน แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่นึกสงสัยต่างหาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๖๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม]

๗. ปุจฉาวิภาค

ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ รูปนี้ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจากภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๖๓-๕๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=102              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9943&Z=10042                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1108              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1108&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1108&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali#pli-tv-pvr15:22.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali#Prv.15.1.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :