ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๔. ปฏิสารณียกรรม
เรื่องพระสุธรรม
[๓๓] สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมเป็นพระนักก่อสร้าง รับภัตตาหารประจำใน อาวาสของจิตตคหบดี เมืองมัจฉิกาสณฑ์ ทุกครั้งที่จิตตคหบดีต้องการนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ถ้ายังไม่เรียนให้ท่านสุธรรมทราบ จะไม่นิมนต์ ต่อมา พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหา จุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่าน พระราหุล เที่ยวจาริกไปแคว้นกาสีลุถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์
จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
จิตตคหบดีทราบว่า “พระเถระหลายรูปเดินทางมาถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์แล้ว” ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายที่สำนัก ไหว้แล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้จิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น จิตตคหบดีผู้ซึ่งพระสารีบุตรเถระชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงกราบอาราธนาพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับอาคันตุก ภัตของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นเถิด” พระเถระรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

ครั้นเขาทราบว่าพระเถระรับคำนิมนต์แล้ว ได้ลุกขึ้นไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำ ประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร เรียนท่านพระ สุธรรมว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด” ลำดับนั้น พระสุธรรมคิดว่า “แต่ก่อนจิตตคหบดีนี้เมื่อต้องการจะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคลก็ต้องบอกเราก่อนทุกครั้ง แต่เวลานี้กลับไม่บอกเราก่อนแล้วไปนิมนต์ พระเถระทั้งหลาย บัดนี้จิตตคหบดีคงจะโกรธไม่สนใจใยดี เบื่อหน่ายเราเสียแล้ว” จึง ตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์” แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์ รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด” ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์” แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์ รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด” ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์” เวลานั้น จิตตคหบดีคิดว่า “พระสุธรรมจะรับหรือไม่รับนิมนต์ก็ทำอะไรเราไม่ได้” ไหว้พระสุธรรมแล้วทำประทักษิณจากไป
พระสุธรรมวิวาทกับจิตตคหบดี
[๓๔] ครั้นล่วงราตรีนั้นไป จิตตคหบดีให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต ไว้ถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า “ถ้ากระไร เราควร ตรวจดูของเคี้ยวของฉันที่จิตตคหบดีเตรียมถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย” พอถึงเวลาเช้า จึงนุ่งอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปนิเวศน์ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขา จัดถวาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสุธรรมบอกจิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วว่า “ท่านเตรียมของเคี้ยว ของฉันไว้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งหนึ่ง คือ ขนมแดกงา ไม่มีในที่นี้” จิตตคหบดีกล่าวตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย แต่ พระสุธรรมกลับมาพูดว่า ขนมแดกงา ท่านผู้เจริญ เคยมีเรื่องเล่าว่า พวกพ่อค้าชาว ทักขิณาบถ เดินทางไปค้าขายแถบตะวันออก พวกเธอนำแม่ไก่มาจากที่นั้น ต่อมา แม่ไก่สมสู่กับพ่อกาก็ออกลูก เวลาที่ลูกไก่ตัวนั้นจะร้องอย่างกา มันก็ร้องเสียงกา ผสมเสียงไก่ เวลาที่จะขันอย่างไก่ มันก็ขันเสียงไก่ผสมเสียงกา ฉันใด ท่านผู้เจริญ เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย พระสุธรรมมาพูดคำว่า ขนมแดกงาก็เหมือนกัน” ท่านพระสุธรรมกล่าวว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษอาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ” จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่า บริภาษ อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ” จิตตคหบดีก็กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษ อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ” จิตตคหบดีถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปไหน” ท่านพระสุธรรมตอบว่า “คหบดี อาตมาจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงสาวัตถี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกราบทูลคำที่ท่านและ ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วให้พระผู้มีพระภาคทรงรับทราบทั้งหมด การที่ท่านจะกลับมาเมือง มัจฉิกาสณฑ์อีก ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์แต่อย่างใด”
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๓๕] ต่อมา ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินทางไป ทางกรุงสาวัตถี จนลุถึงพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะโดยลำดับ เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ตนกล่าว และ เรื่องที่จิตตคบหดีกล่าวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ
ทรงตำหนิพระสุธรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนั้น ไม่สมควร ไม่ คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ จิตต คหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ไฉนเธอ จึงด่าด้วยคำต่ำช้า ข่มขู่ด้วยคำต่ำช้าเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ สุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมนั้นไปขอขมาจิตตคหบดี”
วิธีลงปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้น พึงโจทภิกษุ สุธรรม ครั้นแล้วให้ภิกษุสุธรรมให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุ ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๓๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

คำต่ำช้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ เธอไปขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น ทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมา จิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปฏิสาณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมา จิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ อย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๖๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม ๓. ไม่ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน ๓. ลงตามปฏิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่า เป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๔. ปฏิสารณียกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๖๕-๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=1500&Z=1773                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=129              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=129&items=30              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5722              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=129&items=30              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5722                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:18.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.18.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :