ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ พึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดยชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่ เห็นว่าเป็นอาบัติอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ ๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ ๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ ๑๗. ไม่พึงยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ ๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ ๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ ๒๐. ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ๒๑. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ ๒๒. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ ๒๓. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ ๒๔. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ ๒๕. ไม่พึงยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์ ๒๙. พึงคบพวกภิกษุ ๓๐. พึงศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๓๒. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับ ปกตัตตภิกษุ ๓๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ ๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร ๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน ๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๕๒] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ภิกษุฉันนะนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุฉันนะนั้นได้ออกจากอาวาสนั้นไปอาวาสอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางไปจาก อาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางจาก อาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงต้องหวนกลับ มากรุงโกสัมพีอีกตามเดิม กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้วเข้าไป หาพวกภิกษุบอกว่า “กระผม ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนีย- กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๙๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติอีก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๑๐)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ ๒. ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ ๓. ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๔. ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ ๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ ๒. ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ ๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าของปกตัตตภิกษุ ๔. ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ ๕. ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ ๒. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ ๓. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ ๕. ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ ๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ ๕. ไม่ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๒. อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๓. อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ ๕. รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๐)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ ๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ ๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ ๔. ไม่ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ ๕. ไม่ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ ๒. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ ๓. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ ๕. ไม่ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ ๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบพวกภิกษุ ๕. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ ๕. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ อย่างนี้ คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๐๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ

อาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ การระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุฉันนะ สงฆ์ เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๙๔-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=2194&Z=2517                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=200              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=200&items=25              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=200&items=25                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:26.1.35.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.26.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :