ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๗. โสณกุฏิกัณณวัตถุ

๑๕๗. โสณกุฏิกัณณวัตถุ๑-
ว่าด้วยพระโสณกุฏิกัณณะ
เรื่องพระมหากัจจานะ
[๒๕๗] สมัยนั้น ท่านพระมหากัจจานะพักอยู่ที่ภูเขาปปาตะ๒- เมืองกุรุรฆระ ในแคว้นอวันตี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระ มหากัจจานะ ต่อมา เขาเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ธรรมตามที่พระ คุณเจ้ามหากัจจานะแสดงนั้น กระผมเข้าใจว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่งเหมือนสังข์ที่ขัดดีแล้ว มิใช่กระทำได้ง่าย’ กระผมปรารถนาจะปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนมาบวช เป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ” เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับอุบาสกโสณกุฏิกัณณะ ดังนี้ว่า “การประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งต้องนอนผู้เดียว๓- บริโภคอาหารมื้อเดียวจน ตลอดชีพทำได้ยาก แต่เอาเถอะ โสณะ ท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ที่บ้านนั้นแหละ จง หมั่นประพฤติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ที่ต้อง นอนผู้เดียว บริโภคอาหารมื้อเดียวตามเวลาที่เหมาะสมเถิด”๔- ครั้งนั้น ความคิดที่น้อมไปเพื่อบรรพชาของอุบาสกโสณกุฏิกัณณะ ระงับไป @เชิงอรรถ : @ โสณสูตร (ขุ.อุ. ๒๕/๔๖/๑๗๑) @ ภูเขาปวัตตะ (ขุ.อ. ๒๕/๔๖/๑๗๑) @ นอนผู้เดียว มิได้หมายถึงแต่เพียงอิริยาบถนอนอย่างเดียว แต่หมายถึงอิริยาบถอีก ๓ อิริยาบถด้วย คือ @ยืนผู้เดียว เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว ซึ่งจัดเป็นกายวิเวก (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๓/๓๖๐) @ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่อุบาสกจะพึงหมั่นประพฤติในส่วนเบื้องต้น คือ ศีล ๕ ที่จะต้องรักษาประจำ @ศีล ๘ ที่พึงรักษาในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และศีล ๑๐ (ถ้าสามารถ)และเจริญสมาธิ @ปัญญาตามเหมาะสมแก่ศีลที่รักษานั้นๆ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

แม้ครั้งที่ ๒ อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อุบาสกโสณกุฏิกัณณะ เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ธรรมตามที่พระคุณเจ้ามหากัจจานะแสดงนั้น กระผมเข้าใจว่า ‘การที่ผู้อยู่ครอง เรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่งเหมือนสังข์ที่ขัดดีแล้ว มิใช่ กระทำได้ง่าย’ กระผมปรารถนาจะปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจาก เรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะจึงให้อุบาสกโสณกุฏิกัณณะบวช ก็สมัยนั้น อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อย ท่านพระมหากัจจานะจัดหาภิกษุ สงฆ์จากที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุม คือ ๑๐ รูป ได้ยากลำบาก เวลาล่วงไปถึง ๓ ปี จึงให้ท่านโสณะอุปสมบทได้
๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา
ว่าด้วยอาณัตติกพจน์ของท่านพระมหากัจจานะ ๕ ประการ
สมัยนั้น ท่านพระโสณะออกพรรษาแล้ว หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความ คิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า “เราเพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระ ลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ แต่เราไม่เคยเฝ้าเฉพาะพระพักตร์เลย เราจะไปเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต” ครั้นเวลาเย็น ท่านพระโสณะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหา กัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระโสณะได้กล่าวกับท่านพระ มหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด ความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า “เราเพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ แต่เราไม่เคยเฝ้าเฉพาะพระพักตร์เลย เราจะไป เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

ท่านผู้เจริญ กระผมจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต” ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ โสณะ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ท่านจะเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้น่าเลื่อมใส ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส๑- มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรง บรรลุทมถะและสมถะสูงสุด๒- ทรงฝึกฝนแล้ว คุ้มครองแล้ว ทรงสำรวมอินทรีย์ ทรง เป็นผู้ประเสริฐ ท่านโสณะ ท่านจงถวายอภิวาทด้วยเศียรเกล้าแทบพระบาทของ พระผู้มีพระภาคตามคำของเราว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระมหากัจจานะผู้เป็นพระ อุปัชฌาย์ของข้าพระองค์ ขอถวายอภิวาทแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้า’ ดังนี้ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อย ข้าพระองค์จัดหา ภิกษุสงฆ์จากที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุม คือ ๑๐ รูป ได้ยาก ลำบาก เวลาล่วงไปถึง ๓ ปี๓- จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร พระผู้มี พระภาคพึงทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้ เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ @เชิงอรรถ : @ น่าเลื่อมใส คือให้เกิดความเลื่อมใส (วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐) พระรูปกายของพระผู้มีพระภาคถึงพร้อมด้วย @พระรัศมีแห่งพระสรีระอันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน เพราะประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ @อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และพระเกตุมาลามีพระรัศมีแผ่ออกข้างละวา นำความเลื่อมใสมาแก่ชนผู้สนใจ @ทัสสนาพระรูปกาย เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคทรงถึงพร้อมด้วยกองธรรมอันประกอบ @ด้วยหมู่แห่งคุณที่ประมาณมิได้ เป็นต้นว่า พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ @(ดู ขุ.ป. ๓๑/๖๘-๗๓/๕, ๑๒๑/๑๓๗) และพุทธธรรมเฉพาะอย่าง ๑๘ ประการ (ดู ที.ปา.อ. ๓/๓๐๕/๑๘๘-๑๘๙) @(ขุ.อุ.อ. ๙๐, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๓) @ ทมถะและสมถะ หมายถึงปัญญาและสมาธิและหมายถึงความสงบกายและความสงบจิตบ้าง @(วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐) ทมถะและสมถะที่สูงสุด คือปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติอันเป็นโลกุตตระ @(สารตฺถ. ฏีกา. ๓/๒๕๗/๓๖๓) @ หมายถึง เวลาผ่านไป ๓ พรรษา นับจากวันที่บรรพชาเป็นสามเณร (วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีสีดำมาก แข็ง มี รอยระแหงกีบโค ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตรองเท้า หลายชั้น เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๓. พระพุทธเจ้าข้า พวกมนุษย์ในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำจะทำให้สะอาด ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาต การอาบน้ำได้เป็นนิตย์ เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค เหมือนกับที่มัชฌิมชนบทมีหญ้า ตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตหนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ และหนังมฤค เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๕. พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ พวกมนุษย์ถวายจีวรฝากภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่นอกสีมาด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้’ ภิกษุผู้รับฝากเหล่านั้นมาบอกว่า ‘พวกมนุษย์ชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่าน’ ภิกษุที่จะได้รับจีวรเหล่านั้นยำเกรงอยู่ จึงไม่ยินดี ด้วยคิดว่า ‘ของที่เป็นนิสสัคคีย์๑- อย่าได้มีแก่พวกเราเลย’ ถ้ากระไร พระผู้มี พระภาคพึงตรัสบอกเหตุในเรื่องจีวร”
พระโสณะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะไหว้ท่าน พระมหากัจจานะ ทำประทักษิณ เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปทาง กรุงสาวัตถี เดินทางไปโดยลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ถึงพระเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐีแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับของที่เป็นนิสสัคคีย์ใน วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๕๙-๕๔๑/๑-๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงจัด เสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้” ท่านพระอานนท์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงมีพระประสงค์จะประทับอยู่ใน วิหารหลังเดียวกับภิกษุรูปที่พระองค์มีพระบัญชาใช้เราว่า ‘อานนท์ เธอจงจัด เสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้’ พระผู้มีพระภาคทรงมีพระประสงค์จะประทับ อยู่ในวิหารแห่งเดียวกับท่านพระโสณะ” จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่านพระโสณะใน พระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค
เรื่องพระโสณะสวดพระสูตรในอัฏฐกวรรค
[๒๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็ใช้เวลาอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร พอถึงเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นแล้ว ทรงเชื้อเชิญท่านพระโสณะว่า “ภิกษุ เธอจงกล่าวธรรม ตามถนัดเถิด”๑- ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้สวดพระสูตรทั้งหมด ในอัฏฐก วรรค๒- โดยทำนองสรภัญญะ เมื่อท่านพระโสณะสวดทำนองสรภัญญะจบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม อย่างยิ่งจึงได้ประทานสาธุการว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเล่าเรียนสูตรในอัฏฐก วรรคมาดีแล้ว จำได้แม่นยำดี เปล่งเสียงสวดได้ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีที่น่าตำหนิ บอกความหมายได้ชัดเจน ภิกษุ เธอมีพรรษาเท่าไร” ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์บวชได้ ๑ พรรษา พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เพราะเหตุไร เธอจึงช้าอยู่เล่า” @เชิงอรรถ : @ จงกล่าวธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่เล่าเรียนมา (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๔) @ ขุ.สุ. ๒๕/๗๗๓-๙๘๒/๔๘๖-๕๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์เห็นโทษในกามนานแล้ว แต่ผู้ครองเรือน วุ่นวาย๑- มีกิจมาก มีธุระมาก พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนี้แล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า “อารยชนเห็นโทษในโลก รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิ จึงไม่ยินดีในบาป เพราะคนบริสุทธิ์๒- ย่อมไม่ยินดีในบาป”๓- ลำดับนั้น ท่านพระโสณะคิดว่า “พระผู้มีพระภาคกำลังทรงชื่นชมเรา เวลานี้ ควรกราบทูลคำสั่งของพระอุปัชฌาย์” จึงลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กราบทูลพระผู้ มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระมหากัจจานะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของข้าพระองค์ ขอกราบ ถวายอภิวาทแทบพระบาทของพระพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า สั่งให้กราบทูลว่า ๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อย ข้าพระองค์จัดหา ภิกษุสงฆ์จากที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุม คือ ๑๐ รูป ได้ยาก ลำบาก เวลาล่วงไปถึง ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไร พระผู้มี พระภาค พึงทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้ เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีสีดำมาก แข็ง มี รอยระแหงกีบโค ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตรองเท้า หลายชั้น เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๓. พระพุทธเจ้าข้า พวกมนุษย์ในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำจะทำให้สะอาด ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาต การอาบน้ำได้เป็นนิตย์ เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ @เชิงอรรถ : @ วุ่นวายอยู่กับกรณียกิจน้อยใหญ่ (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๕) @ คือเป็นผู้มีความประพฤติทางกายเป็นต้นบริสุทธิ์สม่ำเสมอ (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๖) @ ขุ.อุ. ๒๕/๔๖/๑๗๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค เหมือนกับที่มัชฌิมชนบทมีหญ้าตีนกา หญ้า หางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตหนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ และหนังมฤค เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ๕. พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ มนุษย์ทั้งหลายถวายจีวรฝากภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่นอกสีมาด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้’ ภิกษุผู้รับฝากเหล่านั้นมาบอกว่า ‘พวกมนุษย์ชื่อนี้ถวายจีวรแก่ท่าน’ ภิกษุที่จะได้รับจีวรเหล่านั้นยำเกรงอยู่ จึงไม่ยินดีด้วยคิดว่า ‘ของ ที่เป็นนิสสัคคีย์อย่าได้มีแก่พวกเราเลย’ ถ้ากระไร พระผู้มีพระภาค พึงตรัสบอกเหตุในเรื่องจีวร”
เรื่องประทานพร ๕ อย่างแก่พระโสณะ
[๒๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ๑. ภิกษุทั้งหลาย อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อย ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะมีจำนวน ๕ รูปรวมทั้งพระ วินัยธร ในปัจจันตชนบททั้งหมด
กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท
บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบทกำหนดเขตไว้ ดังนี้ ทางทิศตะวันออกมีนิคมกชังคละ เป็นขอบเขต ถัดเข้ามาถึงมหาสาลนคร พ้นเขตนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ด้านในเป็นมัชฌิมชนบท ทางทิศเหนือมีแม่น้ำสัลลวดี เป็นขอบเขต พ้นเขตนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ด้านในเป็นมัชฌิมชนบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๘. มหากัจจานปัญจวรปริทัสสนา

ทางทิศใต้มีนิคมเสตกัณณิกะเป็นขอบเขต พ้นเขตนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ด้านในเป็นมัชฌิมชนบท ทางทิศตะวันตกมีหมู่บ้านพราหมณ์ถูณะเป็นขอบเขต พ้นเขตนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ด้านในเป็นมัชฌิมชนบท ทางทิศอุดรมีภูเขาอุสีรธชะเป็นขอบเขต พ้นเขตนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ด้านในเป็นมัชฌิมชนบท ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์ ๕ รูปรวมทั้งพระ วินัยธรได้ทั่วปัจจันตชนบทดังกล่าวนี้ ๒. ภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีสีดำมาก แข็ง มีรอย ระแหงกีบโค เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ในปัจจันตชนบททั้งหมด ๓. ภิกษุทั้งหลาย พวกมนุษย์ในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำจะทำให้สะอาด เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ ใน ปัจจันตชนบททั้งหมด ๔. ภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถมีหนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค เหมือนกับที่มัชฌิมชนบทมีหญ้า ตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง เราอนุญาต หนังที่เป็นเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ และหนังมฤค ใน ปัจจันตชนบททั้งหมด ๕. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกมนุษย์ถวายจีวรฝากภิกษุทั้งหลายผู้อยู่นอก สีมาด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอฝากถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้’ เรา อนุญาตให้ยินดีจีวรนั้นยังไม่นับ(ราตรี) ตลอดเวลาที่ยังไม่ถึงมือ”๑-
จัมมขันธกะที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ภิกษุที่รับฝากถวายจีวร ยังมิได้นำจีวรมาถวายจนถึงมือ หรือยังมิได้ส่งข่าวมาแจ้งให้ทราบว่า มีทายก @ถวายจีวร ต่อเมื่อภิกษุที่รับฝากถวายจีวรนำมาถวายจนถึงมือ หรือส่งข่าวมาแจ้งให้ทราบ หรือได้ฟังข่าวว่า @มีทายกถวายจีวรแล้วแต่นั้น จีวรนั้นเก็บไว้ได้ ๑๐ วัน (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๑๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๒-๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=545&Z=695                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=20              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=20&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3809              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=20&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3809                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:13.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#Kd.5.12.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :