ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๒๔. คิลานวัตถุกถา
ว่าด้วยภิกษุไข้
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง
[๓๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง ภิกษุนั้นนอนกลิ้ง เกลือกไปมาบนปัสสาวะและอุจจาระของตนเอง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ เสด็จจาริกไปตาม เสนาสนะ เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นนอน กลิ้งเกลือกไปมาบนปัสสาวะและอุจจาระของตนเอง จึงเสด็จเข้าไปใกล้แล้ว ได้ตรัส ดังนี้ว่า “ภิกษุ เธออาพาธเป็นโรคอะไร” ภิกษุนั้นทูลว่า “ข้าพระองค์อาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอมีภิกษุผู้คอยพยาบาลหรือ” ภิกษุนั้นทูลว่า “ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เหตุใด พวกภิกษุจึงไม่คอยพยาบาลเธอ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๔. คิลานวัตถุกถา

ภิกษุนั้นทูลว่า “เพราะข้าพระองค์ไม่ได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น พวกภิกษุจึงไม่คอยพยาบาลข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า “อานนท์ เธอไปตัก น้ำมา เราจะอาบน้ำให้ภิกษุนี้” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วตักน้ำมาถวาย พระผู้มีพระภาค ทรงราดน้ำ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคทรงประคองศีรษะขึ้น ท่าน พระอานนท์ยกเท้าวางบนเตียง ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้นมีภิกษุเป็นไข้หรือ” พวกภิกษุกราบทูลว่า “มี พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธออาพาธเป็นโรคอะไร” พวกภิกษุกราบทูลว่า “เธออาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุนั้นมีภิกษุผู้คอยพยาบาลหรือ” พวกภิกษุกราบทูลว่า “ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เหตุใด พวกภิกษุจึงไม่คอยพยาบาลเธอ” พวกภิกษุกราบทูลว่า “เพราะเธอไม่ได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น พวกภิกษุจึงไม่คอยพยาบาลเธอ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดา ไม่มีบิดาผู้คอย พยาบาล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะคอยพยาบาล พวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะพยาบาลเราก็จงพยาบาลภิกษุไข้เถิด ถ้ามีอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์พึงพยาบาลภิกษุไข้นั้นจนตลอดชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอจะหาย ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลภิกษุไข้นั้นจนตลอดชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอจะหาย ถ้ามีสัทธิ วิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลภิกษุไข้นั้นจนตลอดชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอจะหาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๔. คิลานวัตถุกถา

ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลภิกษุไข้นั้นจนตลอดชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอ จะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์พึงพยาบาลภิกษุไข้นั้นจนตลอด ชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาล ภิกษุไข้นั้นจนตลอดชีวิต(หรือ)จนกว่าเธอจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌาย์ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้องพยาบาล ภิกษุไข้นั้น ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องคนไข้ที่พยาบาลได้ยากและพยาบาลได้ง่าย
คนไข้ที่พยาบาลได้ยากมีอาการ ๕ อย่าง
[๓๖๖] ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่มีอาการ ๕ อย่าง พยาบาลได้ยาก คือ ๑. ไม่ทำความสบาย ๒. ไม่รู้ประมาณในความสบาย ๓. ไม่ฉันยา ๔. ไม่บอกอาการไข้ตามเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลไข้ที่มุ่งประโยชน์ คือ ไม่ บอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๕. เป็นคนไม่อดทนความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น เป็นทุกข์แสนสาหัส กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่มีอาการ ๕ อย่างนี้แล พยาบาลได้ยาก
คนไข้ที่พยาบาลได้ง่ายมีอาการ ๕ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่มีอาการ ๕ อย่าง พยาบาลได้ง่าย คือ ๑. ทำความสบาย ๒. รู้ประมาณในความสบาย ๓. ฉันยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๔. คิลานวัตถุกถา

๔. บอกอาการไข้ตามเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลไข้ที่มุ่งประโยชน์ คือ บอก อาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๕. เป็นคนอดทนต่อความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น เป็นทุกข์แสนสาหัส กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่มีอาการ ๕ อย่างนี้แล พยาบาลได้ง่าย
บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพยาบาลคนไข้ คือ ๑. ไม่สามารถจัดยา ๒. ไม่รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงเข้าไปให้ นำของไม่ แสลงออกไป ๓. พยาบาลคนไข้เพราะเห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา ๔. รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายหรือของที่อาเจียนออกมา ไปเททิ้ง ๕. ไม่สามารถพูดให้คนไข้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เป็น บางครั้งบางคราว ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพยาบาล คนไข้
บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพยาบาล ภิกษุไข้ คือ ๑. สามารถจัดยา ๒. รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงออกไป นำของไม่แสลง เข้ามาให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๕. มตสัจตกกถา

๓. ไม่พยาบาลคนไข้เพราะเห็นแก่อามิส มีจิตเมตตา ๔. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายหรือของที่อาเจียนออกมา ไปเททิ้ง ๕. สามารถพูดให้คนไข้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เป็นบางครั้ง บางคราว ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพยาบาล คนไข้
๒๒๕. มตสันตกกถา
ว่าด้วยการให้บริขารของภิกษุมรณภาพแก่ผู้พยาบาลไข้
เรื่องภิกษุและสามเณรเป็นไข้
[๓๖๗] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล เธอทั้ง ๒ เดิน ทางไปยังอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งในอาวาสนั้นเป็นไข้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญการพยาบาลภิกษุไข้ พวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้กันเถิด” แล้วพากัน พยาบาลภิกษุไข้นั้น เธอได้รับการพยาบาลอยู่ได้มรณภาพลง ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นถือเอาบาตรและจีวรของเธอไปกรุงสาวัตถี แล้วกราบทูล เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของ บาตรและจีวรแต่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้เป็นผู้มีอุปการะมาก ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๕. มตสัจตกกถา

วิธีมอบให้ไตรจีวร บาตร และกรรมวาจาสำหรับมอบให้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุพยาบาลภิกษุ ไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้ คือไตรจีวรและบาตรของเธอ” ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้คือไตรจีวรและ บาตรของเธอ สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้คือไตรจีวรและ บาตรของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้แล้วสงฆ์เห็นด้วย เพราะ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
สามเณรมรณภาพ
[๓๖๘] สมัยนั้น สามเณรรูปหนึ่งมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรมรณภาพ สงฆ์เป็น เจ้าของบาตรและจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลสามเณรไข้เป็นผู้มีอุปการะมาก ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้”
วิธีมอบจีวรและบาตรให้ และกรรมวาจาสำหรับมอบให้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สามเณรชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้ คือจีวรและบาตรของเธอ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๕. มตสัจตกกถา

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้คือจีวรและ บาตรของเธอ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลสามเณร ไข้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรชื่อนี้มรณภาพแล้ว นี้คือจีวรและ บาตรของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลสามเณรไข้ ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลสามเณรไข้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลสามเณรไข้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้
[๓๖๙] สมัยนั้น ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลภิกษุไข้ เธอได้รับการ พยาบาลอยู่ได้มรณภาพลง ลำดับนั้น ภิกษุผู้พยาบาลไข้ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เรา พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนจีวรแก่ สามเณรผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีเครื่องบริขารมาก มรณภาพลง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้า ของบาตรและจีวร แต่ผู้พยาบาลไข้เป็นผู้มีอุปการะมาก ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น เราอนุญาต ให้สงฆ์พร้อมใจกันแบ่งลหุภัณฑ์และลหุบริขาร ส่วนครุภัณฑ์และครุบริขาร เป็นของ สงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศทั้งที่เดินทางมาและยังไม่มา เป็นของที่ไม่ควรแจกไม่ควรแบ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4357&Z=4474                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=166              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=166&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5014              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=166&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5014                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:26.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#BD.4.431



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :