ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๕๘. อลัชชีนิสสยวัตถุ
ว่าด้วยการให้นิสสัยแก่ภิกษุอลัชชี
เรื่องทรงห้ามการให้นิสสัยแก่ภิกษุอลัชชี
[๑๒๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ

เรื่องทรงห้ามการถือนิสสัยภิกษุอลัชชี
สมัยนั้น พวกภิกษุอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี ไม่นานนักแม้ภิกษุพวกนั้นก็กลาย เป็นภิกษุอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ไม่พึง ให้นิสสัยแก่พวกภิกษุอลัชชี ไม่พึงอยู่อาศัยพวกภิกษุอลัชชี’ ทำอย่างไรหนอ พวกเรา จึงจะรู้ว่าภิกษุเป็นลัชชีหรืออลัชชี” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รอ ๔-๕ วัน พอจะรู้ ว่าภิกษุผู้ให้นิสสัยเป็นสภาคกัน”
๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ
ว่าด้วยการถือนิสสัยของภิกษุผู้เดินทางเป็นต้น
เรื่องภิกษุผู้เดินทางไกลไม่ต้องถือนิสสัย
[๑๒๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล เธอมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะอยู่โดยไม่ถือนิสสัยไม่ได้ ก็เราจำต้องถือ นิสสัย แต่ต้องเดินทางไกล เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เดินทางไกล เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ให้อยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๕๙. คมิกาทินิสสยวัตถุ

เรื่องภิกษุไข้ไม่ต้องถือนิสัย
สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูป เดินทางไกลไปในแคว้นโกศล ท่านทั้ง ๒ เข้าพัก ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นไข้ ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือ นิสสัย แต่กำลังเป็นไข้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย” ต่อมา ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือนิสสัย แต่ภิกษุนี้ กำลังเป็นไข้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
เรื่องภิกษุผู้พยาบาลไข้ไม่ต้องถือนิสสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้พยาบาล ภิกษุไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย ทั้งถูกภิกษุผู้เป็นไข้ขอร้อง พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า และเธอมีความผาสุกในเสนาสนะนั้น ต่อมา ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุจะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ นิสสัยไม่ได้’ ก็เราจำต้องถือนิสสัย แต่ยังอยู่ในป่าและมีความผาสุกในเสนาสนะนี้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
เรื่องไม่ต้องถือนิสสัยเพราะหาผู้ให้นิสสัยไม่ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่า เป็นวัตร กำหนดเอาความผาสุก เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสสัย พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย ด้วยผูกใจว่า เราจักถือนิสสัยอยู่ในเมื่อภิกษุผู้ให้นิสสัยผู้สมควรมาถึง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๘๗-๑๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=3702&Z=3738                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=136              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=136&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2275              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=136&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2275                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic72 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:72.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.71.3



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :