ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการฉุดลากออก
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระภัททกาปิลานีจำพรรษาที่ เมืองสาเกต เธอส่งทูตไปสำนักของภิกษุณีถุลลนันทาด้วยธุระบางอย่าง ให้แจ้งว่า “ถ้าแม่เจ้าถุลลนันทาให้ที่พัก ดิฉันจะมากรุงสาวัตถี” ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “เชิญมาเถิด ดิฉันจะให้” ลำดับนั้น พระภัททกาปิลานีเดินทางจากเมืองสาเกตไปถึงกรุงสาวัตถี ภิกษุณี ถุลลนันทาได้ให้ที่พักแก่พระภัททกาปิลานี สมัยนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถ กล่าวธรรมีกถา แม้พระภัททกาปิลานีก็เป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถ กล่าวธรรมีกถา ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่า มีคุณสมบัติยิ่งกว่า คนทั้งหลายเห็นว่า ภิกษุณีภัททกาปิลานีเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่ามีคุณสมบัติยิ่งกว่า จึงเข้าไปหา พระเถรีก่อนแล้วไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทารู้ว่า “ธรรมดา ภิกษุณีผู้สาละวนอยู่กับการอภิปรายเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจ ย่อมมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลี” จึงโกรธ ขัดใจ ฉุดลากพระภัททกาปิลานีออกจากห้อง บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน เจ้าถุลลนันทาให้ที่พักแก่แม่เจ้าภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ขัดใจ ฉุดลากออกไปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้ นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๒๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ ภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๕๑] ก็ภิกษุณีใดให้ที่พักแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไป หรือใช้ให้ฉุดลากออกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า แก่ภิกษุณี คือ ภิกษุณีรูปอื่น ที่ชื่อว่า ที่พัก พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่พักที่มีประตู คำว่า ให้ คือ ให้ด้วยตนเอง คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๒๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ บทภาชนีย์

คำว่า ฉุดลาก ความว่า จับในห้องแล้วฉุดลากออกมาหน้าห้อง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ จับที่หน้าห้องแล้วฉุดลากออกข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุณีฉุด ลากพ้นประตูหลายประตูด้วยความพยายามครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้ฉุดลาก คือ ภิกษุณีสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง ครั้งเดียวแต่ฉุดออกไปพ้นหลายประตู ภิกษุณีผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๕๓] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากหรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากหรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุด ลากหรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ ฉุดลาก หรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากจากสถานที่ไม่มีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ ฉุดลาก หรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากอนุปสัมบัน จากที่มีประตูหรือไม่มีประตู ต้อง อาบัติทุกกฏ ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๒๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๕๔] ๑. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีไม่มีความละอาย ๒. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีไม่มีความละอายนั้น ๓. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีขน หรือใช้ผู้อื่นขนบริขารของภิกษุณีวิกลจริตนั้น ๕. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่อการทะเลาะ ... ก่อการวิวาท... ก่อความอื้อฉาว ... ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ ๖. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่อการทะเลาะ ... ก่อการวิวาท ... ก่อความอื้อฉาว ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้น ๗. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากอันเตวาสินีหรือสัทธิวิหารินี ผู้ประพฤติไม่ชอบ ๘. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีอันเตวาสินีหรือ สัทธิวิหารินีผู้ประพฤติไม่ชอบนั้น ๙. ภิกษุณีวิกลจริต ๑๐. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๒๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3777&Z=3847                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=272              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=272&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11565              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=272&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11565                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.272 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc35/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc35/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :