ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอย่างอื่น
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นไข้อยู่ อุบาสก คนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ถามว่า “แม่เจ้าไม่สบายหรือ จะให้ผมนำอะไรมาถวาย” นางตอบว่า “ดิฉันต้องการเนยใส” ครั้งนั้น อุบาสกนั้นนำเนยใสราคา ๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้า คนหนึ่งถวายแก่ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน” ลำดับนั้น อุบาสกนั้นกลับไปหาเจ้าของร้านค้าคนนั้นถึงที่ร้าน ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับเจ้าของร้านค้านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน โปรดรับเนยใสของท่านคืนไป โปรดให้น้ำมันแก่ผม” เจ้าของร้านค้าจึงตอบว่า “นาย ถ้าเรารับของที่ขายไปกลับคืนอีก เมื่อไรเรา จึงขายสินค้าได้ ท่านซื้อเนยใสตามราคาเนยใสไปแล้ว ท่านจะเอาน้ำมันก็จงนำเงิน ค่าน้ำมันมา” ครั้งนั้น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีถุลลนันทาออก ปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว ไฉนจึงออกปากขอของอย่างอื่นเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาออก ปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงขอของอย่างอื่นเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ เรื่องนั้นไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปาก ขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอีกอย่างหนึ่งจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงออกปากขอของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๔๙] ก็ภิกษุณีใดออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว คือ ออกปากขอสิ่งของอย่างใด อย่างหนึ่งแล้ว คำว่า ออกปากขอของอย่างอื่น ความว่า ออกปากขอสิ่งของอย่างอื่นนอก จากที่ออกปากขอไว้ก่อนนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์นั้นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉัน ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงออกปากขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๕๑] ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของ อย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ออกปากขอของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของที่ไม่ใช่ ของอย่างอื่น(นั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของที่ไม่ใช่ของอย่างอื่น(นั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๕๒] ๑. ภิกษุณีผู้ออกปากขอของนั้นเพิ่มและออกปากขอของคู่อย่างอื่น๑- ๒. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วจึงค่อยออกปากขอ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ คือของที่ขอครั้งแรกนั้นไม่พอจึงขออีกและขอของที่พึงปรุงด้วยกัน เช่น ขอเนยใสก่อนแล้วขอน้ำมันอีก @เพื่อใช้ปรุงด้วยกัน (วิ.อ. ๒/๗๕๒/๔๘๓-๔๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๙๐-๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1571&Z=1640                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=110              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=110&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11154              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=110&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11154                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.110 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np4/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :