ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยก ขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการออกปากขอเนยใส
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอ เนยใสมาฉัน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงออก ปากขอเนยใสมาฉัน ใครเล่าจะไม่ชอบใจอาหารที่ปรุงดีพร้อม ใครเล่าจะไม่ชอบของ เอร็ดอร่อย” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงออกปากขอเนยใสมาฉันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปาก ขอเนยใสมาฉัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงออกปากขอเนยใสมาฉันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ พระอนุบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดออกปากขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะเป็นธรรมที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอ แสดงคืนธรรมนั้น” สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๒๒๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุณีผู้ถามอาการไข้ได้กล่าว กับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” พวกภิกษุณีผู้เป็นไข้กล่าวว่า “แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันออกปากขอเนยใสมา ฉันได้ เพราะเหตุนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันยำเกรงอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้าม จึงไม่กล้าออกปากขอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่มีความผาสุก” ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
ทรงอนุญาตเนยใส
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉันได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๒๓๐] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ออกปากขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้น พึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๓๑] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า อนึ่ง ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสก็ยังมีความผาสุก ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสย่อมไม่มีความผาสุก ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโค เนยใสจากแพะ เนยใสจากกระบือ หรือเนยใสของสัตว์ที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเพื่อประโยชน์ตน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ รับ ประเคนมาด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏเพราะได้มา เธอฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๑๒๓๒] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ
ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๒๓๓] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๒. ภิกษุณีเป็นไข้ ออกปากขอมา หายแล้วฉัน ๓. ภิกษุณีฉันเนยใสที่เหลือเดนของภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๔. ภิกษุณีฉันเนยใสของญาติ ๕. ภิกษุณีฉันเนยใสของคนที่ปวารณาไว้ ๖. ภิกษุณีออกปากขอเพื่อผู้อื่น ๗. ภิกษุณีจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๘. ภิกษุณีวิกลจริต ๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๘๕-๓๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=124              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=6568&Z=6632                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=484              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=484&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=484&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.485 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pd1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pd1/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :