ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๑๐. ทันตโปนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๖๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้ถือว่าทุกอย่างเป็นของบังสุกุล พักอยู่ ในป่าช้า ท่านไม่ปรารถนารับภัตตาหารที่พวกชาวบ้านถวาย เที่ยวถือเอาเครื่องเซ่น ตามป่าช้าโคนไม้หรือธรณีประตูมาฉัน พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุนี้จึงถือเอาเครื่อง เซ่นของพวกเราไปฉันเองเล่า ภิกษุนี้อ้วนล่ำเห็นทีจะฉันเนื้อมนุษย์กระมัง” พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงกลืนอาหารที่ยัง ไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอฉันอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๑๐. ทันตโปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน
[๒๖๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง ไม่ยอมหยิบน้ำและไม้ชำระ ฟันใช้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มี พระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำและไม้ชำระฟันมา ใช้เองได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๖๕] อนึ่ง ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจาก น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๖๖] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ที่ยังไม่มีผู้ถวาย ท่านกล่าวถึงของที่ยังไม่ได้รับประเคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๑๐. ทันตโปนสิกขาบท บทภาชนีย์

ลักษณะการรับประเคน
ที่ชื่อว่า มีผู้ถวาย คือ (๑) เขาถวายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ ด้วยโยนให้ (๒) เขาอยู่ในหัตถบาส (๓) ภิกษุรับประเคนด้วยกายหรือด้วยของ เนื่องด้วยกาย นี้ชื่อว่ามีผู้ถวาย ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่ฉันได้ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่าอาหาร คำว่า นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน คือ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน ภิกษุถือเอาด้วยตั้งใจว่า จะเคี้ยว จะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๖๗] อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่รับประเคน ฉัน อาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันอาหารที่ไม่มีผู้ถวายให้ล่วง ลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องปาจิตตีย์ อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ฉันอาหารที่ไม่มีผู้ ถวาย นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน ต้องอาบัติทุกกฏ อาหารที่รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๖๘] ๑. ภิกษุใช้น้ำและไม้ชำระฟัน ๒. ภิกษุหยิบยามหาวิกัติ ๔ ฉันเอง๑- เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ในเมื่อ ไม่มีกัปปิยการกถวาย ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทันตโปนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โภชนวรรคที่ ๔ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค
โภชนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม ๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ ๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ ๔. กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑ ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒ ๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล ๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ ๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต ๑๐. ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน @เชิงอรรถ : @ ยามหาวิกัติ ๔ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน (วิ.ม. ๕/๒๖๘/๓๖) ภิกษุอาพาธหรือถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย หยิบฉัน @ได้โดยไม่ต้องรับประเคน ถ้าไม่อาพาธก็ควรจะรับประเคน (วิ.อ. ๓/๒๖๘/๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๑๔-๔๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=11073&Z=11151                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=522              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=522&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8993              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=522&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8993                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc40/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :