ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๔. กาณมาตุสิกขาบท
ว่าด้วยมารดาของนางกาณา
เรื่องอุบาสิกามารดาของนางกาณา
[๒๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสิกามารดาของนางกาณา เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส นางได้ยกธิดาชื่อกาณาให้ชายหนุ่มผู้หนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมา นางกาณาได้มาบ้านมารดาด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายสามีของนางกาณาส่ง ข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ” ครั้งนั้น มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดูกระไรอยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้ามาถึงบ้าน มารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ รูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูป นั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่ ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป แม้ครั้งที่ ๒ สามีของนางกาณาก็ได้ส่งข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ” แม้ครั้งที่ ๒ มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดู กระไรอยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้า มาถึงบ้านมารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูป นั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่ ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ

แม้ครั้งที่ ๓ สามีของนางกาณาก็ได้ส่งข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ หากกาณาไม่กลับ ฉันจะพาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา” แม้ครั้งที่ ๓ มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดูกระไร อยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้ามาถึง บ้านมารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่ ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป ครั้งนั้น สามีของนางกาณาได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นางกาณาได้ทราบข่าว ว่าสามีของตนได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา จึงได้ยืนร้องไห้ ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จไปถึงบ้านของอุบาสิกามารดาของนางกาณา ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบน อาสนะที่เขาจัดถวาย ลำดับนั้น มารดาของนางกาณาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงอาสนะ ครั้น ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กับมารดาของนางกาณาผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “นางกาณาร้องไห้ทำไม” อุบาสิกา มารดาของนางกาณาจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรง ชี้แจงให้มารดาของนางกาณาเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก อาสนะเสด็จไป
เรื่องอุบาสิกามารดาของนางกาณา จบ
เรื่องพ่อค้าเกวียน
[๒๓๑] สมัยนั้น พ่อค้าเกวียนกลุ่มหนึ่งต้องการจะเดินทางจากกรุงราชคฤห์ ไปถิ่นย้อนแสง๑- ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตถึงหมู่เกวียน @เชิงอรรถ : @ ปฏิยาโลกํ ถิ่นย้อนแสง คือ สูริยาโลกสฺส ปฏิมุขํ ย้อนแสงตะวัน ได้แก่ ปจฺฉิมทิสํ ทิศตะวันตก @(วิ.อ. ๒/๔๐๗/๔๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ

อุบาสกคนหนึ่งได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น อุบาสกได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น อุบาสก ก็ได้ให้ถวายข้าวตูแม้แก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งเสบียงที่จัดไว้หมดสิ้นไป ครั้งนั้น อุบาสกนั้นได้กล่าวกับพวกพ่อค้าดังนี้ว่า “วันนี้ พวกท่านโปรดรอก่อน เสบียงที่จัดเตรียมไว้กระผมถวายพระคุณเจ้าทั้งหลายไปแล้ว กระผมจะจัดเตรียมเสบียง” พวกพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า “ท่านครับ พวกเราไม่สามารถจะรอได้ พ่อค้า เกวียนออกเดินทางแล้ว” ได้ไปแล้ว เมื่ออุบาสกจัดเตรียมเสบียงเสร็จแล้วเดินทางไปภายหลังจึงถูกพวกโจรปล้น พวกพ่อค้าพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงรับโดยไม่รู้ประมาณ อุบาสกคนนี้ซึ่งเมื่อถวายเสบียงแก่พระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรเหล่านี้แล้วเดินทางไปภายหลังได้ถูกโจรปล้น” พวกภิกษุได้ยินพวกพ่อค้าตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ฯลฯ ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑- แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูความพิสดาร ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๘๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๒๓๒] ก็ ทายกนำขนมหรือข้าวตู๑- มาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปถึงตระกูล ภิกษุผู้ต้องการพึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ถ้ารับเกินกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว เมื่อนำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพ่อค้าเกวียน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] คำว่า ก็...ภิกษุผู้เข้าไปถึงตระกูล ที่ชื่อว่าตระกูล ได้แก่ ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร คำว่า ผู้เข้าไปถึง คือ ผู้เข้าไปในตระกูลนั้น ที่ชื่อว่า ขนม ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมเพื่อส่งไปเป็น ของกำนัล ที่ชื่อว่า ข้าวตู ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมเป็นเสบียงทาง คำว่า ทายกนำมาปวารณา คือ เขานำมาปวารณาว่า “ท่านโปรดรับตาม ต้องการ” คำว่า ผู้ต้องการ คือ ผู้ปรารถนาได้ @เชิงอรรถ : @ มนฺถ ข้าวตู หมายถึง อพทฺธสตฺตุนา จ ... พทฺธสตฺตุนา จ ข้าวตูก้อน ข้าวตูป่น (วิ.อ. ๓/๑๑) สตฺตุ @นาม สาลิวีหิยเวหิ กตสตฺตุ. กงฺคุวรกกุทฺรูสกสีสานิปิ ภชฺชิตฺวา อีสกํ โกฏฺเฏตฺวา ถุเส ปลาเปตฺวา @ปุน ทฬฺหํ โกฏฺเฏตฺวา จุณฺณํ กโรนฺติ. สเจปิ ตํ อลฺลตฺตา เอกาพทฺธํ โหติ สตฺตุสงฺคหเมว คจฺฉติ. @ขรปากภชฺชิตานํ วีหีนํ ตณฺฑุเล โกฏฺเฏตฺวา เทนฺติ, ตมฺปิ จุณฺณํ สตฺตุสงฺคหเมว คจฺฉติ. ข้าวตู หรือ @ข้าวสัตตุ ทำด้วยข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ที่เขาเด็ดรวงธัญชาติ ๓ อย่าง คือ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้ @มาตำนิดหน่อยแล้วฝัดแกลบออกแล้วตำอีกจนป่น ซึ่งถ้ายังชุ่มอยู่จะจับเป็นก้อน นี้ก็จัดเป็นข้าวตูเหมือน @กัน และที่เขาตำข้าวเปลือกแก่เป็นข้าวสารจนป่น นี้ก็จัดเป็นข้าวตูเช่นกัน (วิ.อ. ๒/๒๓๒/๓๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า พึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ความว่า ภิกษุพึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร คำว่า ถ้ารับเกินกว่านั้น ความว่า รับเกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตร แล้วเมื่อออกจากที่นั้นไปพบภิกษุรูปอื่นพึงบอก ว่า “กระผมรับเต็ม ๒-๓ บาตร ในที่โน้น ท่านอย่ารับในที่นั้น” ถ้าพบภิกษุรูป อื่นแล้วไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบอกแล้ว ภิกษุรูปนั้นยังไปรับ ต้องอาบัติ ทุกกฏ คำว่า เมื่อนำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุพึง นำกลับไปแล้วแบ่งกัน คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๓๔] ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุไม่แน่ใจ รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เต็ม รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เต็ม ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๔. กาณมาตุสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๓๕] ๑. ภิกษุรับเต็ม ๒-๓ บาตร ๒. ภิกษุรับไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ๓. ภิกษุผู้รับของที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อส่งไปเป็นของกำนัล ๔. ภิกษุผู้รับของที่เขาไม่ได้จัดเตรียมเป็นเสบียงเดินทาง ๕. ภิกษุผู้รับของที่เหลือจากที่เขาจัดเตรียมไว้เพื่อส่งไปเป็นของ กำนัลหรือเพื่อเป็นเสบียงเดินทาง ๖. ภิกษุผู้รับของที่ทายกถวายเมื่อเขาระงับการไปแล้ว ๗. ภิกษุรับของญาติ ๘. ภิกษุรับของคนปวารณา ๙. ภิกษุรับเพื่อภิกษุอื่น ๑๐. ภิกษุรับของที่จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
กาณมาตุสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=10590&Z=10694                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=494              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=494&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8348              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=494&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8348                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc34/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :