ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า อาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้า อาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือยกายอาบน้ำฝน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือย กายอาบน้ำฝนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสวงหาผ้าอาบ น้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือยกาย อาบน้ำฝน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือย กายอาบน้ำฝนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๖๒๗] ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้า อาบน้ำฝนได้ รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึง เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่ง เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๘] คำว่า ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือ ผ้าอาบน้ำฝนได้ อธิบายว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านที่เคยถวายผ้าอาบน้ำฝนพึง กล่าวอย่างนี้ว่า “ถึงเวลาผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงคราวผ้าอาบน้ำฝนแล้ว พวกชาวบ้าน แม้อื่นก็พากันถวายผ้าอาบน้ำฝน” แต่ไม่ควรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายผ้า อาบน้ำฝนแก่อาตมา จงนำผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยนผ้าอาบน้ำฝน มาให้อาตมา จงซื้อผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา” คำว่า รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ คือ เมื่อฤดูร้อนยัง เหลืออยู่กึ่งเดือน ภิกษุพึงทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งได้ คำว่า ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ เกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำว่า รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่งเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ เกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่ สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

วิธีสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกิน กว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วย ญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้ เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบ น้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อน ยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าว ว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท บทภาชนีย์

เหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืนผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๙] ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ทำนุ่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท อนาปัตติวาร

ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ฤดูร้อนที่ยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๓๐] ๑. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ๒. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง ๓. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ๔. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝน นุ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาได้ผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป เมื่อภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป ควรซัก เก็บไว้ พึงนุ่งในสมัย ๕. ภิกษุถูกโจรชิงจีวรไป ๖. ภิกษุจีวรสูญหาย ๗. ภิกษุผู้ตกอยู่ในอันตราย ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
วัสสิกสาฏิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๔๗-๑๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=3645&Z=3770                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=145              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=145&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5549              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=145&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5549                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np24/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :