ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างหม้อคนหนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า “กระผมจะถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการบาตร” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมาก พวกภิกษุ ผู้มีบาตรขนาดเล็กก็ออกปากขอบาตรขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีบาตรขนาดใหญ่ก็ ออกปากขอบาตรขนาดเล็ก นายช่างมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่ สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย ลำบากไปด้วย พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ สายศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำ บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงห้ามขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้ประมาณ ออกปากขอ บาตรเป็นอันมาก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ

ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงไม่รู้ ประมาณ ออกปากขอบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงออกปากขอบาตร รูปใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
ทรงอนุญาตให้ขอบาตรได้
[๖๑๐] สมัยนั้น บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี พระภาคทรงห้ามการออกปากขอบาตร” จึงไม่ออกปากขอบาตร เที่ยวรับบิณฑบาต ด้วยมือทั้งสอง พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ เชื้อสายศากยบุตรจึงเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตก ออกปากขอบาตรได้”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตกออกปากขอบาตรได้” พวกเธอมีบาตรแตกเพียง เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก สมัยนั้น นายช่างหม้อมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น จน ไม่สามารถค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบาก ไปด้วย พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างหม้อมัวทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท พระบัญญัติ

บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียง เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียง เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็ ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอทั้งที่มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า โมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๑๒] ก็ ภิกษุใดมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง๑- ขอบาตรใหม่ ใบอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท บาตรใบสุดท้ายอันภิกษุบริษัทนั้นพึงมอบให้ภิกษุนั้นด้วยสั่งว่า “ภิกษุ บาตรนี้ เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก” นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อูนปญฺจพนฺธเนน มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือบาตรร้าวแล้วใช้เหล็กเจาะบาตรแล้วเอาเชือกด้าย @หรือลวดเย็บผูกแล้วอุดด้วยดีบุกหรือยาง (วิ.อ. ๒/๖๑๒-๖๑๓/๒๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือ บาตรไม่มีรอยซ่อม หรือ มีรอยซ่อมเพียง ๑ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๒ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๓ แห่ง มีรอย ซ่อมเพียง ๔ แห่ง บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรไม่มีรอยร้าวถึง ๒ นิ้ว บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรมีรอยร้าวยาว ๒ นิ้ว บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งเอาการออกปากขอมา คำว่า ขอ คือ ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม บาตรเป็น นิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานไปประชุม ไม่ควรอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดี ด้วยคิดว่า “เราจะเอาบาตรมีค่ามาก” ถ้าอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดีด้วยคิดว่า “เรา จะเอาบาตรมีค่ามาก” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมีบาตรมี รอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใบนี้มา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คุณสมบัติของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักวิธีว่าเป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน
วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร และกรรมวาจาแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือเบื้องต้น พึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๖๑๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงสมมติภิกษุนี้ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๖๑๕] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งพึงให้เปลี่ยนบาตร พึงเรียนพระเถระว่า “ท่าน ผู้เจริญ ท่านจงเปลี่ยนบาตร” ถ้าพระเถระเปลี่ยน ก็พึงถวายบาตรของพระเถระให้ พระเถระรูปที่ ๒ เปลี่ยน ภิกษุจะไม่เปลี่ยนเพราะความสงสารเธอไม่ได้ ภิกษุใดไม่ ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ควรให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน ควรให้เปลี่ยนเลื่อน ลงมาโดยวิธีนี้จนถึงภิกษุใหม่ในสงฆ์ บาตรใบสุดท้ายท่ามกลางสงฆ์ควรมอบแก่ภิกษุ นั้นด้วยสั่งว่า “บาตรนี้เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก” ภิกษุนั้นไม่ควรเก็บบาตรไว้ในที่ไม่ควร ไม่ควรใช้สอยโดยวิธีไม่เหมาะ และไม่ ควรทอดทิ้งโดยคิดว่า ‘ทำอย่างไรบาตรใบนี้จะหาย ฉิบหายหรือแตก’ ถ้าเธอเก็บไว้ ในที่ที่ไม่เหมาะ ใช้สอยไม่ถูกวิธีหรือปล่อยทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
[๖๑๖] ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ... บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรมีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่มี ที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรมีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรมีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท อนาปัตติวาร

บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๑๗] ๑. ภิกษุมีบาตรสูญหาย ๒. ภิกษุมีบาตรแตก ๓. ภิกษุขอจากญาติ ๔. ภิกษุขอจากผู้ปวารณา ๕. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น ๖. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=3081&Z=3451                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=128              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=128&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5220              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=128&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5220                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np22/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :