ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. โกสิยวรรค
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลก เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่างๆ พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่างๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทำการแลกเปลี่ยน กันด้วยรูปิยะชนิดต่างๆ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทำการแลก เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่างๆ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงทำการแลกเปลี่ยนรูปิยะชนิดต่างๆ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๕๘๘] ก็ ภิกษุใดทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่างๆ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ชนิดต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้ง รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณบ้าง ที่ชื่อว่า เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ เครื่อง ประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ พระองค์ตรัสถึงรูปิยะที่ทำเป็นแท่ง ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับทั้ง ๒ ประเภทนั้น ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ วัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา กหาปณะ มาสก ที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับ แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน คำว่า ทำการ คือ เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูป พรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็น รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้ง รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการแลกเปลี่ยน รูปิยะชนิดต่างๆ รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ถ้าคนวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้ของนี้” ถ้าเขาถามว่า “จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้หรือของนี้มา” ควรบอกเฉพาะของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้แลกเปลี่ยน รูปิยะ ภิกษุนอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงบอกเขาว่า “โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้ง ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ คือ
คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง
วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๕๙๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๙๒] ๑. ภิกษุวิกลจริต ๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2685&Z=2806                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=109              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=109&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4909              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=109&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4909                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np19/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :