ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. โกสิยวรรค
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม พวกภิกษุณีซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียม จึงละเลย อุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาท แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ว่า “โคตมี พวกภิกษุณีไม่ประมาท ยังมีความเพียร มีความมุ่งมั่นอยู่หรือ” พระนางกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายจะมีความไม่ประมาท แต่ที่ไหน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่ง ขนเจียม พวกภิกษุณีนั้นซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา” พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ภิกษุณีให้ซัก บ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ” พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น เป็นญาติของพวกเธอหรือว่าไม่ใช่ญาติ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ใช่ ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของบุคคลผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อม บ้าง ให้สางบ้างซึ่งขนเจียมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๗๗] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้สางขนเจียม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุสั่งว่า “จงสาง” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงรับสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมใช้ให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม เหล่านี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้ แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้กระผมใช้ ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๗๙] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้สางขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขน เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขน เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สางขนเจียม ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
[๕๘๐] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุ สำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักขนเจียมของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๘๑] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้ โดยมีเพื่อนภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ ๒. ภิกษุเจ้าของขนเจียมที่ภิกษุณีอาสาซักให้ ๓. ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของซึ่งไม่ได้ใช้สอย ๔. ภิกษุใช้ให้สิกขมานาซัก ๕. ภิกษุใช้ให้สามเณรีซัก ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2378&Z=2566                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=101              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=101&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4705              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=101&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4705                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np17/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :