ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. สหธรรมิกวรรค
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่ สมควร เมื่อสงฆ์กำลังทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป ได้พากันคัดค้าน ครั้งนั้น สงฆ์ ประชุมกันด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบ ฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ทีนั้น สงฆ์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้อยู่ในกลุ่ม ภิกษุฉัพพัคคีย์มาเพียงรูปเดียว พวกเราจะทำกรรมแก่เธอ” แล้วได้ทำกรรมแก่ ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปนั้น ต่อมา ภิกษุนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน สงฆ์ทำอะไร” ภิกษุนั้นตอบว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมขอรับ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่าน พวกเราไม่ได้ให้ฉันทะเพื่อจะให้สงฆ์ทำ กรรมแก่ท่าน ถ้าพวกเราทราบว่าสงฆ์จะทำกรรมแก่ท่าน ก็จะไม่ยอมให้ฉันทะไป” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้ฉันทะเพื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท บทภาชนีย์

กรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๗๕] ก็ ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ได้แก่ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ที่สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรม ที่ทำถูกต้อง ภิกษุให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๔๗๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้ฉันทะไป แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้ฉันทะไปแล้ว กลับติเตียน ไม่ต้องอาบัติ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๗๘] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สงฆ์ทำกรรมไม่ชอบธรรม แยกกันทำ หรือทำแก่ ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม” จึงติเตียน ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๗๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=115              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13797&Z=13847                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=715              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=715&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10103              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=715&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10103                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc79/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc79/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :