ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
เรื่องพระคัคคะ
[๖๐๐] โดยสมัยนั้นแล พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ภิกษุทั้งหลายโจทพระคัคคะด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้โจทพระคัคคะ ด้วยอาบัติที่เธอ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะ เป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจท เธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุคัคคะ ... จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ คัคคะภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้ว กล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วย วาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปร- *ปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมากทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้นก็ยังโจท ข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น หายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง ... พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็น อันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทข้าพเจ้าด้วย อาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย- *กาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันข้าพเจ้ากล่าว อยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายวิกลจริตแล้วขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ฯ [๖๐๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ- *กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริตมีจิตแปร ปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ ทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประ พฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึก อาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่ แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หาย วิกลจริตแล้ว นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า คัคคะภิกษุนี้วิกลจริตมีจิต แปรปรวน เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทคัคคะภิกษุด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปาน นี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผม ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลง ได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าว อยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้ อมูฬหวินัยแก่คัคคะภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว การให้อมูฬหวินัยแก่คัคคะ ภิกษุผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... อมูฬหวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่คัคคะภิกษุ ผู้หายวิกลจริตแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด
[๖๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นธรรม ๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน
หมวดที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกำลัง ระลึก กล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้ อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๖๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ สงฆ์หรือ ภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ เธอระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกได้เหมือนความฝัน สงฆ์ให้ อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๖๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายวิกลจริตแล้วแต่ยังทำเป็นวิกลจริตว่า ผมก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้ อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ฯ
การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้
ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม ๓ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๐๕] การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอ ระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติแล้วแต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๖๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูปหรือภิกษุรูปเดียวโจทเธอว่า ท่านต้อง อาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึก ได้คล้ายความฝัน สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๖๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทเธอว่า ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอวิกลจริต ทำอาการวิกลจริตว่า ผมก็ทำ อย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ สิ่งนี้ควรแม้แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ฯ
การให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด เหล่านี้
ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรม ๓ หมวด จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๑๖๔-๘๒๙๒ หน้าที่ ๓๔๕-๓๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=8164&Z=8292&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=6&item=600&items=8              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=6&item=600&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=6&item=600&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=6&item=600&items=8              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=600              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_6

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :