ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เวรุปสมคาถา
[๒๔๗] ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียวกัน จะได้สำคัญตัวว่า เป็นพาล ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้ สำคัญเหตุอื่น ภิกษุทั้งหลายลืมสติ สำคัญตัวว่าเป็นบัณฑิต ช่างพูด เจ้าคารม พูดไปตามที่ตนปรารถนา จะยื่นปากพูด ไม่รู้สึกว่าความทะเลาะเป็นเหตุชักพาไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

ก็คนเหล่าใดจองเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนคนเหล่าใดไม่จองเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมสงบ แต่ไหนแต่ไรมา เวรทั้งหลายในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ เพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ เพราะไม่จองเวร ธรรมนี้ เป็นของเก่า ก็คนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเรากำลังยับเยิน ณ ท่าม กลางสงฆ์นี้ ส่วนคนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น รู้สึก เพราะความรู้สึกของคนเหล่านั้น ความหมายมั่นย่อมระงับ คนเหล่าใดบั่นกระดูก ผลาญชีวิต ลักทรัพย์ คือ โค และม้า คนเหล่านั้นถึงช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังคบหา สมาคมกันได้ เหตุไฉนพวกเธอจึงคบหาสมาคมกันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็น- *นักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน เขาครอบงำอันตรายทั้งปวง เสียได้ พึงพอใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าไม่ได้ สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอยช่วย เหลือกัน พึงเที่ยวไปคนเดียว ดุจพระราชาทรงสละแว่น- *แคว้น คือราชอาณาจักร และดุจช้างมาตังคะ ละฝูงเที่ยวไป ในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะคุณเครื่อง เป็นสหายไม่มีในคนพาล พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึง ทำบาป ดุจช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไป ในป่าแต่ลำพัง ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๓๖๔-๖๓๙๒ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=6364&Z=6392&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=247&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=247&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=247&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=247&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=247              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :