ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
             [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม? เธอพูดอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
             อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำคืนอาบัติ สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว
โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่จะทำคืน สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
             อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียว
โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ผมไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่สละทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑๕.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ .... เป็นผู้เห็นอาบัติ และสละทิฏฐิลามก .... เป็นผู้ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก .... เป็นผู้เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ และสละทิฏฐิลามก สงฆ์ หรือ ภิกษุหลายรูป หรือ รูปเดียว โจทก์เธอว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม? จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิลามก จงสละทิฏฐิลามกนั้น เธอพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะเห็น ไม่มีอาบัติที่จะทำคืน ไม่มีทิฏฐิลามกที่จะสละ สงฆ์ยกเธอเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่สละคืนทิฏฐิลามก ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม.
พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๕๒๑๑-๕๒๒๘ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5211&Z=5228&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=198&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=198&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=198&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=198&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=198              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :