ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระนอนหลับลืมสติ
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีตแล้วนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จ พระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ ครั้นแล้ว รับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เสนาสนะนั่นเปรอะเปื้อนอะไร? อา. พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอันประณีตแล้วนอนหลับ ลืม สติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะนี้นั้นจึงเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิจึงเคลื่อนเพราะ ความฝัน ภิกษุเหล่าใดนอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชน ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์ จะพึงเคลื่อนนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันนี้เรามีอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เที่ยวเดินไปตามเสนาสนะ ได้เห็นเสนาสนะเปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ จึงได้ถามอานนท์ว่า เสนาสนะ นั่นเปรอะเปื้อนอะไร อานนท์ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนาหารอัน ประณีตแล้ว นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับลืมสติไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิ เคลื่อนเพราะความฝัน เสนาสนะนี้นั้นจึงได้เปรอะเปื้อนน้ำอสุจิ เราได้กล่าวรับรองว่า ข้อที่ กล่าวมานั่นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อที่กล่าวมานั้นย่อมเป็นอย่างนั้น อานนท์ ความจริง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนอนหลับลืมสติ ไม่รู้สึกตัว น้ำอสุจิจึงเคลื่อนเพราะความฝัน ภิกษุเหล่าใด นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นไม่เคลื่อน อนึ่ง น้ำอสุจิของภิกษุปุถุชน ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ไม่เคลื่อน ข้อที่น้ำอสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนั้น ไม่ใช่ ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
นอนหลับลืมสติ มีโทษ ๕ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการ นี้คือ หลับ เป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.
นอนหลับคุมสติ มีคุณ ๕ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการ นี้แล.
พระพุทธานุญาตผ้านิสีทนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย รักษาจีวร รักษาเสนาสนะ.
พระพุทธานุญาตผ้าปัจจัตถรณะ
สมัยต่อมา ผ้านิสีทนะเล็กเกินไป ป้องกันเสนาสนะได้ไม่หมด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการ ผ้าปูนอนใหญ่เพียงใด เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอนใหญ่เพียงนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๑๓๒-๔๑๗๐ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4132&Z=4170&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=156&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=156&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=156&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=156&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=156              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :