ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๓๑.

ติกนิเทศ
[๙๒๖] ในติกมาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน โลภะ โทสะ โมหะ บรรดาอกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติ อันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสองปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง สภาพที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติ ผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ สภาพที่กระซิบ การละโมภ กิริยาที่ ละโมภ สภาพที่ละโมภ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภว- *ตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ ราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๓๒.

วัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่ง มาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหา เหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ โทสะ เป็นไฉน ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาต ย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วย คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว ความอาฆาต ย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ พอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำ ความเจริญแก่ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วย คิดว่า ผู้นี้จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความ อาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันใช่เหตุ ความอาฆาตแห่งจิต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย ความขุ่นเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคือง อย่างแรง ความคิดประทุษร้าย การมุ่งคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความ พยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษร้ายทางใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่ โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความ คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๓๓.

โมหะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความ ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในธรรมอันเป็นปัจจัยของกัน และกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอา โดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การ ไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ เหล่านี้เรียกว่า อกุศลมูล ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๒๓๓๕-๑๒๓๙๒ หน้าที่ ๕๓๑-๕๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=12335&Z=12392&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=926&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=926&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=926&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=926&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=926              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :