ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ทุกนิเทศ
[๙๐๘] ในทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่ คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพ ที่คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างแรง ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ เป็นไฉน ความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมา ชื่อว่า ความผูกโกรธไว้ ความผูกโกรธไว้ กิริยาที่ผูกโกรธไว้ สภาพที่ผูกโกรธไว้ ความ ตั้งไว้ ความทรงไว้ ความดำรงไว้ ความสั่งสมไว้ ความผูกพันไว้ ความยึดมั่นไว้ ซึ่งความโกรธ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ [๙๐๙] มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน เป็นไฉน ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน สภาพที่ลบหลู่คุณท่าน กิริยา ที่ดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ การดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ความตีเสมอ เป็นไฉน ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ สภาพที่ตีเสมอ ความตีตัวเสมอ โดยนำ ความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ลดละ อันใด นี้เรียกว่า ปลาสะ ความตีเสมอ [๙๑๐] อิสสา ความริษยา เป็นไฉน ความริษยา กิริยาที่ริษยา สภาพที่ริษยา ความเกียดกัน กิริยาที่เกียดกัน สภาพที่เกียดกัน ในลาภ สักการะ การทำความเคารพ ความนับถือ การกราบ ไหว้ และการบูชา ของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสา ความริษยา มัจฉริยะ ความตระหนี่ เป็นไฉน มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่ ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะและความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มัจฉริยะ ความตระหนี่ [๙๑๑] มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความ ปรารถนาลามกไว้ เพราะมีความต้องการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า ใครอย่ารู้ทันเราเลย ดำริว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พูดว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พยายาม ด้วยกายว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่ทำให้ หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความ ซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง ความไม่เปิดเผย ความไม่ทำให้แจ้ง ความ ปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา ความเจ้าเล่ห์ สาเถยยะ ความโอ้อวด เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดมาก การโอ้อวด สภาพที่โอ้อวด ความโอ้อวด ความกระด้าง สภาพที่กระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยม เป็นคู สภาพที่พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ของบุคคลนั้น อันใด นี้เรียกว่า สาเถยยะ ความโอ้อวด [๙๑๒] อวิชชา ความไม่รู้ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้ ภวตัณหา ความปรารถนาภพ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความ ปรารถนาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความ หมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา ความปรารถนาภพ [๙๑๓] ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาจักไม่มีและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไป ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด [๙๑๔] สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาเที่ยงและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสต- *ทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาจักขาดสูญและโลกจักขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ [๙๑๕] อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตามีที่สุด และโลภมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไป ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส ความเห็นว่าไม่มีที่สุด อันใด มีลักษณะ เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด เป็นไฉน ความเห็นว่า อัตตาไม่มีที่สุด และโลภไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด [๙๑๖] ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด ปรารภ ส่วนอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด ปรารภ ส่วนอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต [๙๑๗] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ ความ ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็นไฉน ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความ ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนต- *ตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต [๙๑๘] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่ เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความ ตระหนี่ มีปัญญทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การ คบ การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้ โน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มี มิตรชั่ว [๙๑๙] อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง เป็นไฉน ความไม่ตรง สภาพที่ไม่ตรง ความคด ความโค้ง ความงอ อันใด นี้ เรียกว่า อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน เป็นไฉน ความไม่อ่อนน้อม สภาพที่ไม่อ่อนน้อม ความกระด้าง ความหยาบคาย สภาพที่กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความถือรั้น ความไม่อ่อนน้อม อันใด นี้ เรียกว่า อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน [๙๒๐] อขันติ ความไม่อดทน เป็นไฉน ความไม่อดทน สภาพที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความปวด ร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อขันตี ความไม่อดทน อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้ง ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีล แม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม [๙๒๑] อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน เป็นไฉน วาจาใด เป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบผู้อื่น ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลพูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่สละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบในลักษณะดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร เป็นไฉน ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธัมมปฏิสันถาร ๑ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่ทำการปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร [๙๒๒] อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ อนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำ บุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการ สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวม ซึ่ง อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่ สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความ ไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า โภชน- *อมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร [๙๒๓] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ สภาพที่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ [๙๒๔] สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้ง ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล ความทุศีลแม้ทั้ง หมด ก็เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไป ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ [๙๒๕] อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน เป็นไฉน สัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ จัดเป็นอัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน สัญโญชน์เบื้องสูง ๕ จัดเป็นพหิทธาสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายนอก

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๒๑๗๔-๑๒๓๓๔ หน้าที่ ๕๒๔-๕๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=12174&Z=12334&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=908&items=18              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=908&items=18&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=908&items=18              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=908&items=18              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=908              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :