ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๓. ธาตุวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
ธาตุ ๖ นัยที่ ๑
[๑๑๔] ธาตุ ๖ คือ ๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ ๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ ๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ [๑๑๕] ในธาตุ ๖ นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน ปฐวีธาตุมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายใน เป็นไฉน ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น ภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้- *ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่ กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก เป็นไฉน ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภาย นอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่ แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายนอก ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ [๑๑๖] อาโปธาตุ เป็นไฉน อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติ ที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก เป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่ในพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายนอก อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ [๑๑๗] เตโชธาตุ เป็นไฉน เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นไฉน ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ เตโช- *ธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติ ที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก เป็นไฉน ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความ ร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่ง กองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็น ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ภายนอก เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ [๑๑๘] วาโยธาตุ เป็นไฉน วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความ เคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก เป็นไฉน ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธ ลมใบตาล ลมเป่าปาก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้าง นอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ [๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่อง ปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออก เบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาศธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูก ต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ [๑๒๐] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่าวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ธาตุ ๖ นัยที่ ๒
[๑๒๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. สุขธาตุ ๒. ทุกขธาตุ ๓. โสมนัสสธาตุ ๔. โทมนัสสธาตุ ๕. อุเปกขาธาตุ ๖. อวิชชาธาตุ ในธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขธาตุ ทุกขธาตุ เป็นไฉน ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส นี้ เรียกว่า ทุกขธาตุ โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่ เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ อวิชชาธาตุ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ๑- ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ธาตุ ๖ นัยที่ ๓
[๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ @๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ (๓๐๐) ๓. วิหิงสาธาตุ ๔. เนกขัมมธาตุ ๕. อัพยาปาทธาตุ ๖. อวิหิงสาธาตุ ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความ ที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ พยาปาทธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ มิจฉา- *สังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ในอาฆาฏ- *วัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมีกำลัง ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายยิ่ง ความคิดประทุษ- *ร้ายหนัก ความที่จิตพยาบาท ความมีใจประทุษร้ายยิ่ง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท สภาพที่พยาบาท ความพิโรธ ความแค้น ความ ดุร้าย อาการที่พูดไม่ยั้ง ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ มิจฉา- *สังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก ความข่มเหง กิริยาที่ข่มเหง ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความขึ้งเคียด ความเคียดแค้น ความเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า เนกขัมมธาตุ อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี สภาพ ที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่ อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ก็เรียกว่า ธาตุ ๖ [๑๒๓] ฉักกะ หมวดแห่งธาตุ ๖ ทั้ง ๓ นัยนี้ ประมวลเข้าเป็นหมวด เดียวกัน เป็นธาตุ ๑๘ ด้วยประการฉะนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๐๖๔-๒๒๕๑ หน้าที่ ๙๐-๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2064&Z=2251&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=114&items=10              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=114&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=114&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=114&items=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=114              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :