ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๓๖] 	การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี
                          ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบำเพ็ญทานในภพที่ตถา-
                          คตเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐเป็นทานบารมี ในภพที่เราเป็น
                          เวสสันดรและเป็นเวลามพราหมณ์ เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เรา
                          เป็นอกิติดาบสอดอาหารนั้น เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เราเป็น
                          พระยาไก่ป่า สีลวนาคและพระยากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี
                          ในภพที่เราเป็นพระยาวานร ช้างฉัททันต์ และช้างเลี้ยงมารดา
                          เป็นศีลบารมี พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ตรัสไว้ดังนี้ การ
                          รักษาศีลในภพที่เราเป็นจัมเปยยกนาคราช และภูริทัตตนาคราช เป็น
                          ศีลอุปบารมี ในภพที่เราเป็นสังขปาลบัณฑิต เป็นศีลปรมัตถบารมี
                          ในภพที่เราเป็นยุธัญชยกุมาร มหาโควินทพราหมณ์ คนเลี้ยงช้าง
                          อโยฆรราชโอรส ภัลลาติ สุวรรณสาม มฆเทวะและเนมิราช บารมี
                          เหล่านี้เป็นอุปบารมี ในภพที่เราเป็นมโหสถผู้เป็นทรัพย์ของรัฐ
                          กุลฑลตัณฑิละและนกกระทาบารมีเหล่านี้เป็นปัญญาอุปบารมี ในภพ
                          ที่เราเป็นวิธูรบัณฑิตและสุริยพราหมณ์มาตังคะ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ
                          อาจารย์บารมีทั้ง ๒ ครั้งนี้ เป็นปัญญาบารมี ในภพที่เราเป็นพระราชา
                          ผู้มีศีล มีความเพียร เป็นผู้ก่อให้เกิดสัตตุภัสตชาดก บารมีนี้แล
                          เป็นปัญญาปรมัตถบารมี ในภพที่เราเป็นพระราชาผู้มีความเพียร
                          บากบั่น เป็นวิริยปรมัตถบารมี ในภพที่เราเป็นพระยาวานรผู้มีครุธรรม
                          ๕ ประการ เป็นวิริยบารมี ในภพที่เราเป็นธรรมปาลกุมาร เป็น
                          ขันติบารมี ในภพที่เราเป็นธรรมิกเทพบุตร ทำสงครามกับอธรรมิก
                          เทพบุตร เรียกว่าขันติอุปบารมี ในภพที่เราเป็นขันติวาทีดาบส
                          แสวงหาพุทธภูมิด้วยการบำเพ็ญขันติบารมี ได้ทำกรรมที่ทำได้ยาก
                          เป็นอันมาก นี้เป็นขันติปรมัตถบารมี ในภพที่เราเป็นสสบัณฑิต
                          นกคุ่ม ซึ่งประกาศคุณสัจจะ ยังไฟให้ดับด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจจบารมี
                          ในภพที่เราเป็นปลาอยู่ในน้ำ ได้ทำสัจจะอย่างสูงยังฝนให้ตกใหญ่
                          นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ในภพที่เราเป็นสุปารบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
                          ยังเรือให้ข้ามสมุทรจนถึงฝั่ง เป็นกัณหทีปายนดาบส ระงับยาพิษ
                          ได้ด้วยสัจจะ และเป็นวานรข้ามกระแสแม่น้ำคงคาได้ด้วยสัจจะ
                          นี้เป็นสัจจอุปบารมีของเรา ในภพที่เราเป็นสุตโสมราชา รักษาสัจจะ
                          อย่างสูง ช่วยปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ นี้เป็นสัจจปรมัตถบารมี อะไรที่จะ
                          เป็นความพอใจไปกว่าอธิษฐาน นี้เป็นอธิษฐานบารมี ในภพที่เรา
                          เป็นมาตังฏิล และช้างมาตังคะ นี้เป็นอธิษฐานอุปบารมี ในภพ
                          ที่เราเป็นมูคผักขกุมาร เป็นอธิษฐานปรมัตถบารมี ในภพที่เป็น
                          มหากัณหฤาษี และพระเจ้าโสธนะ และบารมีสองอย่าง คือในภพ
                          ที่เราเป็นพระเจ้าพรหมทัตต์ และคัณฑิติณฑกะ ที่กล่าวแล้วเป็น
                          เมตตาบารมี ในภพที่เราเป็นโสณนันทบัณฑิตผู้ทำความรัก บารมี
                          เหล่านั้นเป็นเมตตาอุปบารมี ในภพที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช
                          เป็นบารมีไม่มีของผู้อื่นเหมือน นี้เป็นเมตตาปรมัตถบารมี
                          ในภพที่เราเป็นนกแขกเต้าสองครั้ง เป็นอุเบกขาบารมี ในภพที่เรา
                          เป็นโลมหังสบัณฑิต เป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี บารมีของเรา ๑๐
                          ประการนี้ เป็นส่วนแห่งโพธิญาณอันเลิศ บารมียิ่งกว่า ๑๐ ไม่มี
                          หย่อนกว่า ๑๐ ก็ไม่มี เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่างไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็น
                          บารมี ๑๐ ประการฉะนี้แล.
จบสโมธานกถา
จบจริยาปิฎก
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๙๔๘๐-๙๕๒๖ หน้าที่ ๔๐๖-๔๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=9480&Z=9526&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=244&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=33&item=244&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=244&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=33&item=244&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=244              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :