ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
             [๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า "สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส
ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มี
โมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะ
เป็นผู้สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับ
เฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่
ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง
ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา-
*ภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสงบ.
             คำว่า วิธูโม ความว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อันพระอรหันตขีณาสพขจัด
แล้ว กำจัดแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ...
ความประมาท กิเลสทั้งปวง ... อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันพระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว กำจัด
แล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว.
             อนึ่ง ความโกรธท่านกล่าวว่า เป็นดังควัน
                          ดูกรพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่องหาบ มี
                          ความโกรธเปรียบเหมือนควัน มีการพูดเท็จเปรียบเหมือนเถ้า
                          มีลิ้นเปรียบเหมือนทัพพี หฤทัยของสัตว์ทั้งหลายเปรียบ
                          เหมือนสถานที่บูชายัญของท่าน ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นกำเนิด
                          ของบุรุษ.
             อนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธเกิดด้วยผูกใจว่า คนโน้น
ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑  คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์
แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็น
ที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจะ
ประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑. อีกอย่างหนึ่ง ความ
โกรธย่อมเกิดในฐานะอันไม่ควร ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ
ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความ
พยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง
กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ
ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่พอใจของจิต นี้เรียกว่า
ความโกรธ.
             อนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก โกรธน้อย ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัวใน
บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้มีหน้าเง้าหน้างอ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ ใน
บางครั้งก็มี แต่ไม่ถึงให้คางสั่น. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่นในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่
ถึงเปล่งผรุสวาจา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เปล่งผรุสวาจาในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้
เหลียวดูทิศทางต่างๆ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เหลียวดูทิศต่างๆ ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่
ถึงการจับท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้จับท่อนไม้และศาตราในบางครั้งก็มี
แต่ยังไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เงื้อท่อนไม้และศาตราในบางครั้ง
ก็มี แต่ยังไม่ถึงตีฟัน. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ตีฟันในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงฉีกขาดเป็น
บาดแผล. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผลในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้หัก
ให้แหลก. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หักให้แหลกในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่
เคลื่อนที่. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่เคลื่อนที่ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้ชีวิต
ดับ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ชีวิตดับในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงความสละบริจาคอวัยวะ
ทั้งหมด. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธถึงความเป็น
ความโกรธแรงยิ่ง ถึงความเป็นความโกรธมากยิ่ง โดยอาการอย่างนี้ ความโกรธนั้น อันพระ-
*อรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสีย
แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่าผู้กำจัดกิเลสเพียงดังควัน. พระอรหันต-
*ขีณาสพชื่อว่า วิธูมะ เพราะเป็นผู้ละความโกรธ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะ
เป็นผู้ตัดขาดซึ่งเหตุแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิธูมะ.
             คำว่า อนีโฆ ความว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะเป็นทุกข์ ความโกรธ
เป็นทุกข์ ความผูกโกรธเป็นทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์. ทุกข์เหล่านั้น อัน
พระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว ... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า
ผู้ไม่มีทุกข์.
             คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหาเรียกว่าความหวัง ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความหวัง. ตัณหาอันเป็นความหวังนั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละ
ได้แล้ว เผาเสียได้แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง.
             ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ
ชื่อว่า ชาติ.
             ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังย่น
ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่า ชรา.
             คำว่า สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติ ชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อม
กล่าว ... ย่อมประกาศว่า พระอรหันตขีณาสพใด เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มี
ทุกข์ และไม่มีความหวัง พระอรหันตขีณาสพนั้นข้ามได้แล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ล่วงแล้ว
เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า พระอรหันต-
*ขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้ามได้แล้วซึ่ง
ชาติและชรา.
             เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่
                          พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก
                          พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่า
                          ควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติ
                          และชรา.
             พร้อมด้วยเวลาจบคาถา ฯลฯ ท่านพระปุณณกะนั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร
ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่-
*พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส ที่ ๓.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๑๑๙๗-๑๒๗๕ หน้าที่ ๔๘-๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=1197&Z=1275&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=30&item=145&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=30&item=145&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=30&item=145&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=30&item=145&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=145              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :