ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์

หน้าที่ ๒๑๒.

อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๕๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน แล้วได้พากันไปสู่พระนครสาวัตถี. ภิกษุณีทั้งหลายได้พากันถามภิกษุณีพวกนั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลาย จำพรรษาอยู่ ณ ที่ไหน ได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แล้วหรือ? ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า พวกดิฉันยังมิได้ปวารณาตัวต่อภิกษุสงฆ์ เจ้าข้า. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย อยู่จำพรรษาแล้ว จึงได้ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย จำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจำพรรษาแล้วจึงได้ ไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาต่อสงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑๓.

ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือไตรมาสหลัง. พอทอดธุระว่า จักไม่ปวารณาต่อสงฆ์สองฝ่าย ด้วยสถาน ๓ คือ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย ได้ยินก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๕๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๗๔๗-๔๗๘๐ หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4747&Z=4780&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=352&items=3&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=352&items=3&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=352&items=3&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=352&items=3&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=352              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :