ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้ แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถก็จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ครั้นภิกษุณีทั้ง หลายจำพรรษาแล้ว ได้ประชุมกันประสงค์จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณี เหล่านั้นว่า แม่เจ้า โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์ยังมีหวังจะได้จีวร. ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า ขอเชิญแม่เจ้าไปสืบดูให้รู้เรื่องจีวรนั้น. ภิกษุณีถุลลนันทาได้เข้าไปสู่ตระกูลนั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า อาวุโสทั้งหลาย จงถวาย จีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์เถิด. คนในตระกูลตอบว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่สามารถจะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ได้. ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่าง ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไปด้วยหวังว่า จะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนจริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยัง สมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่ แน่นอน เป็นปาจิตตีย์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๕๑๐-๓๕๓๕ หน้าที่ ๑๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3510&Z=3535&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=249&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=249&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=249&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=249&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=249              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :