ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๔๔๓] ปิงคิยมาณพกล่าวคาถาว่า
                          อาตมาจักขับตามภาษิตเครื่องไปยังฝั่งโน้น (อาตมาขอกล่าว
                          ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นแล้วด้วยพระญาณ) พระ-
                          พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวาง
                          ไม่มีความใคร่ ทรงดับกิเลสได้แล้ว จะพึงตรัสมุสาเพราะ
                          เหตุอะไร เอาเถิด อาตมาจักแสดงวาจาที่ควรเปล่งอันประกอบ
                          ด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงละความหลงอันเป็นมลทิน
                          ได้แล้ว ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้เด็ดขาด ดูกร
                          ท่านพราหมณาจารย์ พระพุทธเจ้าทรงบรรเทาความมืด มี
                          พระจักษุรอบคอบ ทรงถึงที่สุดของโลก ทรงล่วงภพได้
                          ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้ทั้งปวง มีพระนามตาม
                          ความเป็นจริงว่า พุทโธอันอาตมาเข้าเฝ้าแล้ว นกพึงละป่าเล็ก
                          แล้วมาอยู่อาศัยป่าใหญ่อันมีผลไม้มาก ฉันใด อาตมา มาละ
                          คณาจารย์ผู้มีความเห็นน้อยแล้ว ได้ประสบพระพุทธเจ้าผู้มี
                          ความเห็นประเสริฐ เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ แม้ฉันนั้น
                          ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เหล่าใด ได้พยากรณ์
                          ลัทธิของตนแก่อาตมาในกาลก่อนว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว
                          อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ของอาจารย์เหล่านั้น
                          ทั้งหมด ไม่ประจักษ์แก่ตน คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้น เป็น
                          เครื่องทำความตรึกให้ทวีมากขึ้น (อาตมาไม่พอใจในคำ
                          พยากรณ์นั้น) พระโคดมพระองค์เดียวทรงบรรเทาความมืด
                          สงบระงับ มีพระรัศมีโชติช่วง มีพระปัญญาเป็นเครื่อง
                          ปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรงแสดงธรรม
                          อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
                          ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้ แก่อาตมา ฯ
             พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์กล่าวคาถาถามพระปิงคิยะว่า
                          ท่านปิงคิยะ พระโคดมพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมอัน
                          บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
                          ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้แก่ท่าน เพราะเหตุไร
                          หนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระ-
                          ปัญญาเป็นเครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง
                          สิ้นกาลแม้ครู่หนึ่งเล่า ฯ
             พระปิงคิยะกล่าวคาถาตอบพราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์ว่า
                          ท่านพราหมณ์ พระโคดมพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมอัน
                          บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
                          ไม่มีจัญไร หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้ แก่อาตมา อาตมา
                          มิได้อยู่ปราศจากพระโคดมพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาเป็น
                          เครื่องปรากฏดุจแผ่นดิน มีพระปัญญากว้างขวาง สิ้นกาล
                          แม้ครู่หนึ่ง ท่านพราหมณ์ อาตมาไม่ประมาททั้งกลางคืน
                          กลางวัน เห็นอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นด้วยใจ
                          เหมือนเห็นด้วยจักษุ ฉะนั้น อาตมานมัสการอยู่ซึ่งพระ-
                          พุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้นตลอดราตรี อาตมามาสำคัญความ
                          ไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดมพระองค์นั้น ด้วยความไม่
                          ประมาทนั้น ศรัทธา ปีติ มานะ และสติของอาตมา
                          ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้โคดม พระ-
                          พุทธเจ้าผู้โคดมผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาค
                          ใดๆ อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ นั่นแล
                          ร่างกายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อยนั่นเอง
                          ท่านพราหมณ์ อาตมาไปสู่พระพุทธเจ้าด้วยการไปแห่งความ
                          ดำริเป็นนิตย์ เพราะว่าใจของอาตมาประกอบแล้วด้วยพระ-
                          พุทธเจ้านั้น อาตมานอนอยู่บนเปือกตม คือกาม ดิ้นรนอยู่
                          (เพราะตัณหา) ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้งนั้นอาตมา
                          ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ฯ
             (ในเวลาจบคาถานี้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์
ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีแล้ว ประทับอยู่ ณ นครสาวัตถีนั้นเอง
ทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองไปแล้ว พระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนาพระพุทธคุณแก่
พราหมณ์พาวรีอยู่ ได้เห็นพระรัศมีแล้วคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไป ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึงบอกแก่พราหมณ์พาวรีว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว พราหมณ์พาวรีได้ลุกจากอาสนะประคองอัญชลียืนอยู่
แม้พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแผ่พระรัศมีแสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรี
ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีทั้งสองแล้ว เมื่อจะ
ตรัสเรียกแต่พระปิงคิยะองค์เดียว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
                          ดูกรปิงคิยะ พระวักกลิ พระภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม
                          เป็นผู้มีศรัทธาน้อมลงแล้ว (ได้บรรลุอรหัตด้วยศรัทธาธุระ)
                          ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาลง ฉันนั้น ดูกรปิงคิยะ
                          เมื่อท่านน้อมลงด้วยศรัทธาปรารภวิปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่า
                          สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึงนิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่ง
                          วัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุราช ฯ
             พระปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตนจึงกราบทูลว่า
                          ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง เพราะได้ฟังพระวาจาของ
                          พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว
                          ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เอง ไม่มีกิเลสดุจเสาเขื่อน ทรงมี
                          ปฏิภาณ ทรงทราบธรรมเป็นเหตุกล่าวว่าประเสริฐยิ่ง ทรง-
                          ทราบธรรมชาติทั้งปวง ทั้งเลวและประณีต พระองค์เป็น
                          ศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลาย แก่เหล่าชนผู้มีความ
                          สงสัยปฏิญาณอยู่ นิพพานอันกิเลสมีราคะเป็นต้นไม่พึงนำ
                          ไปได้ เป็นธรรมไม่กำเริบ หาอุปมาในที่ไหนๆ มิได้
                          ข้าพระองค์จักถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแน่แท้ ข้าพระองค์
                          ไม่มีความสงสัยในนิพพานนี้เลย ขอพระองค์จงทรงจำ
                          ข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว (ในนิพพาน) ด้วย
                          ประการนี้แล ฯ
จบปารายนวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาตนี้ คือ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๔๕๗-๑๑๕๔๐ หน้าที่ ๔๙๕-๔๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11457&Z=11540&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=443&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=443&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=443&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=443&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=443              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :