ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒. ชีวิตสูตร
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อนข้าวนี้ เป็นกรรมที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่า ท่านผู้นี้มีบาตร ในมือ ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ ไม่ได้ถูกพระราชาทรงให้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๙.

นำไปจองจำไว้เลย ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้ ไม่ได้เป็นหนี้ ไม่ได้ตกอยู่ ในภัย เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปรกติ ย่อมเข้าถึงความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหา ก้อนข้าวนั้น ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์ ครอบงำแล้ว แม้ไฉน การกระทำซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีอภิชฌามาก มีความกำหนัด อันแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติ หลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ เรา กล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผี ที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง ตรง กลาง เปื้อนคูถ จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน ในป่า ก็ไม่สำเร็จฉะนั้น บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ และไม่ยังผลแห่งความเป็นสมณะให้ บริบูรณ์ได้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อม ขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป เหมือน ดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น ก้อนเหล็กร้อนเปรียบ ด้วยเปลวไฟ อันบุคคลบริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า บุคคลผู้ ทุศีล ผู้ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะดีอะไร ฯ
จบสูตรที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๓๐๙-๖๓๓๔ หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6309&Z=6334&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=271&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=271&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=271&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=271&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=271              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :