ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
วินัยวรรคที่ ๓
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึง พร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้ ฯ [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็น วินัยธรได้ ฯ [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ หนักอยู่ในพระวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ มีปรกติได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึง อยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็น วินัยธรได้ ฯ [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้ ฯ [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรงาม ฯ [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ หนักอยู่ในพระวินัย ไม่ง่อนแง่น ๑ มีปรกติ ได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโต- *วิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยประการฉะนี้ ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๘๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรม เหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความ สงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรม เหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของ ศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา ฯ [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้ เพื่อ สงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้วๆ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สงฆ์พึงให้ สัมมุขาวินัย (สำหรับระงับต่อหน้า) ๑ พึงให้สติวินัย (สำหรับพระอรหันต์ผู้มี สติไพบูลย์) ๑ พึงให้อมูฬหวินัย (สำหรับภิกษุบ้า) ๑ ปฏิญญาตกรณะ (ให้ ทำการปรับโทษตามคำปฏิญาณ) ๑ เยภุยยสิกา (ปรับโทษถือข้างมากเป็น ประมาณ) ๑ ตัสสปาปิยสิกา (ปรับโทษสมกับความผิดแก่ภิกษุจำเลยนั้น) ๑ ติณวัตถารกะ (ตัดสินทำนองกลบหญ้า คือ ทำการประนีประนอม) ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้แล เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ ที่เกิดแล้วๆ ฯ
จบวินัยวรรคที่ ๓


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๙๐๐-๒๙๘๔ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=2900&Z=2984&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=23&item=72&items=10              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=23&item=72&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=72&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=23&item=72&items=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=72              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :