ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์
ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงปรารถนาเป็น
อุปราช องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา
ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระ
บิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ อันใครๆ
จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู
น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัย
แห่งพระมารดาพระบิดา ๑ ทรงเป็นที่รักที่พอใจแห่งกองทหาร ๑ ทรงเฉียบแหลม
ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ๑ พระราช
โอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริอย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา
ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา
เป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วย
ฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รัก
เป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า
เราแลเป็นที่รักที่พอใจแห่งกองทหาร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า
เราแลเป็นผู้เฉียบแหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์
๕ ประการนี้แล ย่อมทรงปรารถนาเป็นอุปราช ฉันใด ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมปรารถนา
ความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็น
พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ๑ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน
ทั้ง ๔ ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศล
ธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ เธอย่อมคิด
อย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ไฉนเรา
จะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดี
ด้วยทิฐิ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดี
แล้วในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแล
เป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา
ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. อัปปสุปติสูตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๖๒๒-๓๖๕๗ หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3622&Z=3657&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=136&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=136&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=136&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=136&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=136              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :