ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. ปัตถนาสูตรที่ ๑
[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้ มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ย่อมทรงเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะ คัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู น่า- *เลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัย แห่งพระมารดาพระบิดา ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ๑ ทรง ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว เช่น ในศิลปศาสตร์ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ๑ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริอย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติ เล่า เราเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่อง ดียิ่ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัย แห่งพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็น ที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธา ภิเษกแล้ว เช่นในศิลปศาสตร์ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ไฉนเราจะไม่พึง ปรารถนาราชสมบัติเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงปรารถนา ราชสมบัติ ฉันใด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมปรารถนา ความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย อาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญ เพียร ๑ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องหยั่งเห็นความเกิด และความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ เธอ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อต่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ไฉน เราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็น ปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดาหรือ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแล เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความ สิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องหยั่งเห็นความ เกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ไฉนเรา จะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฯ
จบสูตรที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๕๗๓-๓๖๒๐ หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3573&Z=3620&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=135&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=135&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=135&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=135&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=135              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :