ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๕๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลา
เช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วย
วาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของ
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่า
นั้น
                          สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็น
                          ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี
                          ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
                          วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
                          ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำ
                          กรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ผลประโยชน์อัน
                          เป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับ
                          ความสุข จงงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึง
                          ความสุข พร้อมด้วยญาติทั้งมวล ฯ
จบมังคลวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๖.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อกุศลสูตร ๒. สาวัชชสูตร ๓. วิสมสูตร ๔. สุจริตสูตร ๕. ขตสูตรที่ ๑ ๖. ขตสูตรที่ ๒ ๗. ขตสูตรที่ ๓ ๘. ขตสูตรที่ ๔ ๙. วันทนาสูตร ๑๐. สุปุพพัณหสูตร ฯ
ตติยปัณณาสก์จบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๗.

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๘๐๓-๗๘๒๗ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7803&Z=7827&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=595&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=595&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=595&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=595&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=595              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :