ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สังขารสูตร
[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขารที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง มโนสังขารที่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ เบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียด เบียน ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความ เบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อัน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทวดาสุภกิณหะ ฉะนั้น บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วเขาย่อม เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้อัน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวย เวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เจือปนด้วยสุขและ ทุกข์เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก ฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๒๐๑-๓๒๒๔ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3201&Z=3224&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=462&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=462&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=462&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=462&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=462              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :