[๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
อามิสสันถาร ๑ ธรรมสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมสันถารเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธรรมปฏิสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒
อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถาร
เป็นเลิศ ฯ
[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
อามิสเอสนา การเสาะหาอามิส ๑ ธรรมเอสนาการเสาะหาธรรม ๑ ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาเอสนา ๒ อย่างนี้
ธรรมเอสนาเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ อามิสปริเยสนา การแสวงหาอามิส ๑ ธรรมปริเยสนา การแสวงหาธรรม
๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริ-
*เยสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยสนาเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
อามิสปริเยฏฐิ การแสวงหาอามิสอย่างสูง ๑ ธรรมปริเยฏฐิ การแสวงหา
ธรรมอย่างสูง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยฏฐิเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ อามิสบูชา ๑ ธรรมบูชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ ธรรมบูชาเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ของต้อนรับ คือ อามิส ๑ ของต้อนรับ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาของต้อนรับแขก ๒
อย่างนี้ ของต้อนรับแขก คือ ธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ความสำเร็จ คือ อามิส ๑ ความสำเร็จ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้
ความสำเร็จ คือ ธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ความเจริญด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
เจริญ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญ
ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ รัตนะคืออามิส ๑ รัตนะคือธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะคือธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ความสะสมอามิส ๑ ความสะสมธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒
อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสะสม ๒ อย่างนี้ ความสะสมธรรม
เป็นเลิศ ฯ
[๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๑ ความไพบูลย์แห่งธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้
ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ ฯ
จบสันถารวรรคที่ ๔
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๔๑๕-๒๔๖๐ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2415&Z=2460&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=396&items=12
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=396&items=12&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :-
http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=396&items=12
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
http://www.84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=396&items=12
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=396
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_20
บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com